แผลริมอ่อน ซิฟิลิสเทียม เจ็บแผลในที่ลับ ขาหนีบบวมโต

แผลริมอ่อน ซิฟิลิสทียม มีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ ตกขาวผิดปรกติ ขาหนีบบวมโต สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ

แผลเริมอ่อน ซิฟิลิสเทียม โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ

แผลริมอ่อน ทางการแพทย์เรียก Chancroid หรือ Soft chancre หรือ Ulcus molle หรือ Weicher Schanker เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi ลักษณะอาการมีแผลบริเวณอวัยวะเพศ ต่อมาจะพบต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบบวมโต แต่สามารถรักษาให้หายได้โดยการใช้ยาปฏิชีวนะ ลักษณะอาการของโรคนี้คล้ายโรคซิฟิลิส แต่จะต่างกันตรงที่แผลเริมอ่อนจะมีอาการเจ็บปวดที่แผล แต่โรคซิฟิลิสจะไม่เจ็บปวดที่แผล โรคนี้เกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิงโรคนี้ บางครั้งเรียกว่า โรคซิฟิลิสเทียม

การวินิจฉัยโรคแผลเริมอ่อนหรือโรคซิฟิลิสเทียมนี้ ต้องตรวจให้แน่ชัด เนื่องจากลักษณะอาการของโรคคล้ายกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หลายโรค เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส โรคฝีมะม่วง เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรคแผลริมอ่อน 

โรคแผลเริมอ่อนเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียฮีโมฟิลุสดูเครย์ ( Haemophilus ducreyi ) ซึ่งเชื้อโรคที่อยู่ที่หนองซึ่งเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากการสัมผัสเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์แล้วยังสามารถติดต่อได้โดยการปนเปื้อนหนองไปถูกแผลอื่นๆ เช่น การสัมผัสเนื้อเยื่ออ่อนๆของผู้มีเชื้อโรค การทำออรัลเซ็กซ์โดยมีบาดแผลที่ปาก มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เป็นต้น

อาการของโรคแผลริมอ่อน 

ลักษณะอาการของโรคแผลเริมอ่อน มีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 4 ถึง 7 วัน ซึ่งจะเริ่มแสดงอาการที่อวัยวะเพศ เริ่มมีตุ่มนูนและมีอาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ หลังจากนั้นจะมีแผลเล็กๆ บริเวณแคมเล็กของฝ่ายหญิงหรือบริเวณปลายองคชาตของฝ่ายชาย มีอาการปวดมาก ในเพศหญิงจะมีอาการตกขาวผิดปรกติ คือ ตกขาวมากกว่าปกติ มีกลิ่นแรง กลิ่นเหม็น มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ มีอาการขาหนีบบวมโต ลักษณะขาหนียบวมเหมือนลูกปิงปอง กดแล้วปวดมาก

การตรวจวินิจฉัยโรคแผลริมอ่อน 

สำหรับการวินิจฉัยโรคแผลเริมอ่อน เนื่องจากลักษณะอาการของโรคคล้ายกับหลายโรค เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส แต่ต้องตรวจเลือด และ ตรวจเชื้อแบคทีเรียให้แน่ชัด เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

ภาวะแทรกซ้อนของแผลริมอ่อน

การไม่รักษาดรคอย่างทันท่วงทีอาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของโรค คือ อาจให้เกิดภาวะแผลติดเชื้ออื่นๆซ้ำได้ เนื่องจากรอยแผลและภาวะร่างกายอ่อนแอ ทำให้การรับเชื้ออื่นๆง่ายขึ้น

การรักษาโรคแผลริมอ่อน 

แนวทางการรักษาโรคแผลริมอ่อน สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะและปรับพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อโรคซ้ำซาก กรณีที่เกิดการอักเสบที่ต่อมน้ำเหลืองที่โคนขาหนีบต้องเจาะหนองออก ต้องรักษาโดยแพทย์เท่านั้น ห้ามทำเอง เพราะ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค

การป้องกันโรคแผลเริมอ่อน

สำหรับการรักษาโรคเป็นการแก้ปัยหาที่ปลายเหตุ การป้องกันโรคเป้นสิ่งที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันการเกิดโรคแผลเริมอ่อน มีดังนี้ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย

  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรคนี้หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ
  • ควรสวมถุงยางป้องกันทุกครั้งก่อนการมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่สำส่อนทางเพศ
  • รักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
  • ผู้ที่เป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ทุกรูปแบบ หรือในรายที่คาดว่าได้รับเชื้อควรงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 10 วัน และไปพบแพทย์ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

Last Updated on March 4, 2022