โรคเก๊าท์ ปวดข้อกระดูกหัวแม่เท้า เกิดจากอะไร รักษาได้หรือไม่

โรคเก๊าท์ อาการบวดบวมที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ปวดเท้ามาก มีอาการบวมแดง สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไรโรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก โรคต่างๆ การรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ โรคที่ข้อกระดูก เกิดจากการตะกอนของยูริคที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หัวแม่เท้าบวมแดง ปวดแบบฉับพลัน มักเกิดกับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบมากในบุรุษมากกว่าสตรี เป็นอาการป่วยแบบเรื้อรัง ต้องรับการรักษาตลอดชีวิต

โรคเก๊าท์เทียม คือ โรคที่มีอาการคล้ายโรคเก๊าท์ แต่จะตรวจได้จากการเจาะข้อที่ปวดเพื่อส่องกล้อง หากพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟต ( Calcium phosphate ) ที่ไม่ใช่ผลึกยูเรต จะมีอาการไข้ร่วมด้วย แต่กาการจะทุเลาและหายไปเองในที่สุด

สาเหตุการเกิดโรคเก๊าท์ 

สำหรับสาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากการสะสมของกรดยูริคในเลือดในปริมาณที่มากเกินกว่าปกติ ซึ่งกรดยูริกทำให้เกิดการสะสมของตะกอนยูริคที่ข้อกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบบวมแดง ปวด ที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมด้วย รวมถึงพฤติกรรมการบริโภค

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ อาจเกิดกับกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดดรคเก๊าท์ มีดังนี้ 

  1. การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีประวัติพ่อแม่ญาติพี่น้องเคยเป็นโรคมีความเสี่ยงเกิดโรคนี้
  2. เป็นอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น โรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  3. ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคไต ทำให้ไตขับกรดยูริคออกจากเลือดได้น้อย
  4. เพศ พบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
  5. การดื่มสุรา ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์ ทำให้กรดยูริกในร่างกายสูงขึ้น
  6. พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก ยอดอ่อนของผักบางชนิด
  7. ภาวะน้ำหนักตัวเกิน โรคอ้วน หรือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเกิดโรคได้
  8. ผู้ป่วยจะปวดตามข้อต่างๆในเวลาอากาศเย็นมากกว่า
  9. ผู้ใช้ยา เลโวโดปา ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ แอสไพริน ไซโคลสปอริน จะส่งผลต่อการขับกรดยูริคในเลือดของไต

อาการโรคเก๊าท์

สำหรับอาการที่แสดงออกของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ คือ ปวดอย่างรุนแรงแบบฉับพลัน บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า มักเกิดขึ้นภายใน 1 วัน บริเวณที่ปวดจะมีอาการปวมแดง บวมตึง หากสัมผัสเจ็บมาก เดินไม่สะดวก

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเก๊าท์

สำหรับโรคเก๊าท์ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นๆด้วย โดนภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์ มีดังนี้

  1. เกิดปุ่มผลึกยูริค ตามข้อต่างๆและใบหู หากปล่อยเรื้อรัง ส่งผลต่อบุคคลิกภาพ การเข้าสังคม สภาพจิตใจ อาการทางจิต
  2. ข้อพิการหากไม่ได้รักษา เดินไม่ได้ ขยับแขนไม่ได้ นิ่วในไต ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  3. กรรมพันธุ์ร่วมกับ์โรคเก๊าท์ ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์มักเป็นโรคต่างๆเหล่านี้ร่วมด้วย
  4. หากปล่อยเรื้อรังอาจจะเป็น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหลอดเลือดสมองตีบ และไตวายจนเสียชีวิตได้

การตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์

สำหรับการวินิจฉัย แพทย์จะซักประวัติการรักษาโรค และ พฤติกรรมของผู้ป่วยก่อน จากนั้นตรวจสภาพร่างกายส่วนที่บวมแดง และ เจาะเลือดเพื่อดูระดับของกรดยูริก รวมถึงเอ็กเรย์ดูข้อต่อที่ปวมแดง

การรักษาโรคเก๊าท์ 

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเก๊าท์ สามารถทำได้โดยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการของโรค เช่น ยาแก้ปวด รวมถึงต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ที่เป็นปัจจัยของการเกิดโรค ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ พักผ่อนอย่างเพียงพอ

แนวทางการปฏบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

สำหรับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ต้องมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  1. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  3. เลิกดื่มสุรา
  4. งดการกินอาหารจำพวก สะตอ หน่อไม้ ถั่ว  ผักโขม ผักปวยเล้ง ใบขี้เหล็ก เนื้อสัตว์ ปลา ปลาหมึก ปู ดอกกะหล่ำ ยอดผัก เห็ด สาหร่าย อาหารที่ใส่ยีสต์ (ขนมปัง เบียร์) น้ำต้มกระดูก กระถิน ชะอม ดอกสะเดา ยอดแค หอย ปลาซาร์ดีน ปลาแฮริง ปลา ส้ตัน ปลาดุก กะปิ ซุปก้อน น้ำสกัดเนื้อ เครื่องในสัตว์ เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา
  5. สำหรับอาหารสามารถรับประทานได้สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เช่น ผักและผลไม้ นมพร่องไขมัน โยเกิร์ต เนย ช็อกโกแลต ชา กาแฟ ข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต แป้ง ไข่ เต้าหู้ผักที่ไม่ใช่ยอดอ่อน หัวกะหล่ำ ผลไม้ทุกชนิดธัญพืช ปลาน้ำจืด
  6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  7. หลีกเลี่ยงการกระแทกข้อกระดูกเท้า
  8. หากเกิดอาการปวดข้อกระดูกหัวแม่เท้าห้ามบีบหรือนวดข้อต่อที่ปวด เนื่องจากจะทำให้ปวดมากยิ่งขึ้น อักเสบมากขึ้น
  9. ประคบด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำแข็งบริเวณที่ปวด
  10. ดื่มนม วันละ 1 แก้ว เนื่องจากดื่มนมช่วยให้ไตขับกรดยูริคออกจากกระแสเลือดได้

Last Updated on March 18, 2021