โรคหวัด ไอมีน้ำมูก ตัวร้อน ปวดหัว พบบ่อยในช่วงเปลี่ยนฤดู

ภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ อาการมีไข้ ไอเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่สะดวก ไม่มียารักษาแต่สามารถหายเองได้ภายใน 2 วัน หากพักผ่อนให้เพียงพอ โรคหวัดป้องกันอย่างไรโรคหวัด ติดเชื้อที่ทางเดินหายใจ โรคทางเดินหายใจ โรคติดต่อ

โรคหวัด ในปัจจุบันเป็นโรคที่คนรู้จักโดยทั่วไปพบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เชื้อโรคที่ทำให้เกิดหวัดมีสายพันธุ์มากกว่า 100 ชนิด และเมื่อหายจากอาการไข้หวัดแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคชนิดนั้นๆเอง ผู้ป่วยไข้หวัดมักป่วยจากการติดเชื้อเชื้อไวรัสหวัดชนิดใหม่ๆ จนบางครั้งเราอาจเกิดไข้หวัดหลายครั้งในหนึ่งปี

โรคหวัด ทางการแพทย์เรียก common cold คือ ภาวะการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น จมูก คอ ไซนัส และ กล่องเสียง ซึงเมื่อเกิดอาการติดเชื้อจะทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปรกติ เช่น ตัวร้อน ไอ จาม เจ็บคอ และ มีน้ำมูก เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดเป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรง ซึ่งหากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ ภายในสองวัน

โรคหวัด สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกาย ดังนั้น โรคหวัดจึงพบว่าเกิดมากในกลุ่มเด็ก คนชรา และ ผู้ป่วยที่ร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น โรคหวัดสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ โดยการสัมผัสสารคัดหลั่งจากน้ำมูก การไอ การจาม

สาเหตุการเกิดโรคหวัด

สาเหตุของการเกิดโรคหวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งมีหลายสายพันธ์ที่ทำให้เกิดหวัด แต่เป็นเชื้อไวรัสที่ไม่มีความรุนแรงของโรค ซึ่งติดเชื้อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้มีเชื้อโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะทำให้มีน้ำมูก มีเสมหะ เจ็บคอ ซึ่งปัจจัยที่มีผลเสี่ยงต่อการเกิดไข้หวัด คือ

  • ภาวะภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ พบว่าในเด็กและผู้สูงอายุจะตืดเชื้อหวัดได้ง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่มักจะเป็นไข้หวัดได้ง่ายในช่วงฤดูฝน และหรือฤดูหนาว
  • การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะป่วยด้วยไข้หวัดได้ง่าย และหากเป็นก็จะอาการรุนแรงกว่าปกติอีกด้วย
  • การอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค สถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโรคไข้หวัดได้ง่าย

อาการของโรคหวัด

สำหรับอาการของโรคหวัด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายประมาณ 3 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการ ซึ่งจะแสดงอาการผิดปรกติที่ระบบทางเดินหายใจร่วมกับอาการอ่อนเพลีย มีไข้สูง หากพักผ่อนให้เพียงพอสามารถหายเองได้ใน 2 วัน อาการของไข้หวัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ อาการของไข้หวัในเด็กและอาการไข้หวัดในผู้หญ่ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อาการไข้หวัดในเด็ก มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียสไข้สูงต่อเนื่องมากกว่า 2 วัน โดยอาการไม่ดีขึ้นปวดหัว ไออย่างรุนแรง หายใจมีเสียงหวีด ง่วงนอนมากผิดปกติ เบื่ออาหาร
  • อาการไข้หวัดในผู้ใหญ่ มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 5 วันขึ้นไป หายใจหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณไซนัส

การรักษาโรคหวัด

สำหรับแนวทางการรักษาไข้หวัด ไม่จำเป็นจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยกำจัดเชื้อไวรัสทุกชนิด ซึ่งการรักษาให้รักษาโดยการประคับประครองตามอาการของโรค เช่น กินยาลดไข้ พร้อมพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารที่มีประโยชนืต่อร่างกาย

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคหวัด

โรคหวัดสามารถกายเองได้ในสองวันหากพักผ่อนให้เพียงพอ แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ภาวะแทรกซ็อนจากไข้หวัด เนื่องจากอาจทำให้อาการของไข้หวัดรุนแรงมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดไข้หวัด มีดังนี้

  • ภาวะติดเชื้อที่หูชั้นกลาง เกิดจากเชื้อโรคเข้าสู่แก้วหู ทำให้เกิดอาการติดเชื้อภายในหู สังเกตอาการจากอาการปวดหู และในบางกรณีอาจมีน้ำหนองออกมาจากหู หากปล่อยไว้อาจทำให้แก้วหูทะลุได้
  • โรคหอบหืด หรือ ภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว อาการไข้หวัด ทำให้โรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้น
  • โรคไซนัสอักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่โพรงไซนัส จะทำให้เกิดอาการติดเชื้อจนกลายเป็นไซนัสอักเสบได้
  • คออักเสบ หากเชื้อโรคเข้าสู่ลำคอ จะทำให้เกิดอาการคออักเสบ เจ็บคอและไอรุนแรง
  • หลอดลมอักเสบ หากเชื้อโรคลงมาที่หลอดลม อาจทำให้หลอดลมอักเสบ ไอมากขึ้น
  • ปอดบวม หากเชื้อโรคแพร่เข้าสู่ปอดจะทำลายปอด หากไม่รีบรักษาเป็นอันตรายได้

การป้องกันไข้หวัด

สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัด มีแนวทางการป้องกันจากการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อให้ร่างกายรับมือต่อเชื้อโรคต่างๆ และ ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย แนวทางการป้องกันโรคมีดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหาร หรือ สัมผัสสิ่งต่างๆ
  • ใช้เครื่องป้องกับ ผ้าปิดปาก หากต้องเดินทางหรืออยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในช่วงเวลาที่อากาศเปลี่ยนแปลงให้ทำให้ร่างกายอบอุ่นเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

Last Updated on March 18, 2021