โรคผิวหนัง ( Skin Disease ) ความผิดปรกติของผิวหนัง อาการของโรคผิวหนัง เช่น ผื่น คัน แสบ เป็นแผล หนังหนา สีผิวผิดปรกติ แนวทางการรักษาโรคและการป้องกันทำอย่างไร
โรคเกี่ยวกับผิวหนัง
ซิฟิลิสเทียม | หูดหงอนไก่ |
- โรคหูด
- โรคติดเชื้อเอชพีวี(HPV)
- ปวดปลายประสาทหลังจากเป็นงูสวัด
- โรคฝีที่ทวารหนัก
- โรคฝีคัณฑสูตร
- โรคท้าวแสนปม
- สิว
- โรคหิด
- กลาก
- รังแค
- เชื้อราที่หนังศรีษะ
- ผื่นจากการแพ้เกสรดอกไม้
- ผื่นจากการแพ้อาหาร
- โรคผิวหนังขาดวิตามินบี3
- ปาน
- ตาปลา
- โรคกาลี
- โรคแอนแทรกซ์
- โรคงูสวัด
- โรคเท้าช้าง
- โรคริดสีดวงจมูก
- เริม
- โรคเกลื้อน
- โรคหัดเยอรมัน
- โรคน้ำกัดเท้า
- เชื้อราที่เล็บ
- ผื่นจากการแพ้ขนสัตว์
- ผื่นจากการแพ้ยา
- ไฝ
- โรคสะเก็ดเงิน
- ฝ้า
- โรคอีสุกอีใส
- ฝี
- โรคเอดส์
ผิวหนัง ( Skin ) คือ ส่วนนอกสุดของอวัยวะร่างกาย เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดที่ห่อหุ้มอวัยวะต่างๆของร่างกาย ผิวหนังของมนุษย์ 2 ชั้น คือ ผิวหนังกำพร้า ( Epidermis ) และ ผิวหนังแท้ ( Dermis )
หน้าที่ของผิวหนัง
สำหรับประโยชน์ของผิวหนังที่มีต่อชีวิตของมนุษ์ ซึ่งมนุษย์ต้องมีผิวหนัง หน้าที่ของผิวหนัง มีดังนี้
- ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อและอวัยวะภายในของมนุษย์ จากการกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษต่อร่างกาย เช่น หนาว ร้อน เจ็บ การกระแทก สารพิษต่างๆ เป็นต้น
- ทำให้ร่างกายของมนุษย์คงรูปร่างเป็นปรกติ
- ช่วยปกป้องร่างกายจากแสงแดด
- ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในภาวะปรกติ
- ช่วยกำจัดของเสียออกทางเหงื่อ
- ช่วยสังเคราะห์วิตามินดี
โรคผิวหนัง
โรคเกี่ยวกับผิวหนัง นั้นมีหลายโรค ซึ่งลักษณะของการเกิดโรคจะกระทบที่เซลล์และเนื้อเยื้อของผิวหนัง ความรุนแรงของโรคแตกต่างกันตามสาเหตุของการเกิดโรค โรคเกี่ยวกับผิวหนัง สามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากความผิดปรกติของเซลล์และเนื้อเยื้อของผิวหนังเอง และ โรคผิวหนังที่เกิดจากโรคแทรกซ้อนของการเกิดโรคอื่นๆ โดยรายละเอียด ดังนี้
- โรคผิวหนังที่เกิดจากเซลล์และเนื้อเยื่อของผิวหนังผิดปรกติ มักมีอาการเฉพาะผิวหนัง และ ไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย โรคผิวหนังชนิิดนี้ จะต้องรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทาง โรคผิวหนัง ( Dermatologist )
- โรคผิวนังที่เกิดจากอาการแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหารกระจายมาผิวหนัง เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดโรคผิวหนัง
การเกิดโรคเกี่ยวกับผิวหนังของมนุษย์ มีหลายสาเหตุสามารถสรุป ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง มีดังนี้
- ภาวะต่อมผิวหนังอุดตัน ทำให้ติดเชื้อ
- ภาวะการติดเชื้อโรคที่ผิวหนัง
- ระบบภูมิต้านทานร่างกายผิดปรกติ เป็นลักษณะของการแพ้ ซึ่งส่งผลกระทบที่ผิวหนัง
- ภาวะการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะวิตามินบี3
- ภาวะการเสื่อมสภาพของผิวหนังตามอายุที่มากขึ้น
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
- การถูกกระทบประเทือนที่ผิวหนังเป็นเวลานาน เช่น การโดนแสงแดงนานๆโดยไม่ป้องกัน การถูกสารพิษที่ผิวหนัง เป็นต้น
อาการของโรคผิวหนัง
สำหรับอาการของโรคผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ลักษณะของผิวหนังผิดปรกติ เช่น ผื่น ผิวหนังเป็นจุด ผื่นนูน ตุ่มเนื้อ ตุ่มน้ำ ตุ่มเลือด ตุ่มพอง ตุ่มหนอง ติ่งเนื้อ ถุงน้ำ แผล แผลเปื่อย แผลแตก แผลรอยแยก ภาวะหลอดเลือดฝอยพอง ปาน ไฝ หูด ก้อนเนื้อ แผลเรื้อรัง เป็นต้น
การรักษาโรคผิวหนัง
สำหรับโรคผิวหนังนั้น การรักษาโรคขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค เช่น การรักษาความสะอาดของผิวหนัง การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรค การผ่าตัดเอาผิวหนังส่วนที่เสียออก เป็นต้น
การป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคผิวหนัง การดูแลผิวหนังให้ถูกกระทบกระเทือน เป็นสิ่งที่ดีที่สุด แนวทางการดูแลผิวหนังให้ปราศจากโรค มีรายละเอียด ดังนี้
- รักษาความสะอาดของผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ
- ปกป้องผิวหนังจากการกระทบของแสงแดด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ รับประทานอาหารที่มีวิตามิน เพื่อชะลอความเสื่อมของผิวพรรณก่อนวัย
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัด ป้องกันอาการผิวแห้ง
- ไม่สูบบุหรี่
- ผ่อนคลาย ลดภาวะความเครียด
Last Updated on November 7, 2024