ดินสอพอง สมุนไพรแร่ธาตุ ช่วยรักษาสิว บำรุงผิวพรรณ

ดินสอพอง มีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย ดินสอพองผสมกับน้ำอบทาตัวให้หอม สรระคุณบำรุงผิว

ดินสอพอง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ลักษณะของดินสอพอง

สำหรับ ดินสอพอง นั้นมีลักษณะเป็นผง และ ก้อน มีสีขาว มีคุณสมบัติมีฤทธิ์เย็น นิยมนำดินสอพองมาใช้เป็นแป้งทาตัว เพื่อให้ร่างกายเย็นสบาย ช่วยผ่อนคลาย โดยนิยมนำดินสอพองผสมกับน้ำอบมาทาตัวให้หอม

ดินสอพองในประเทศไทย

พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 ได้ให้นิยามดินสอพองว่าเป็น หินปูนเนื้อมาร์ล ( marly limestone ) ที่เป็นดินที่เนื้อเป็นสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเอามะนาวบีบใส่ น้ำมะนาวมีความเป็นกรด ซึ่งเมื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นฟองฟูขึ้น หากดูเผินๆ จะเห็นว่าดินนั้นพองตัว จึงเรียกกันว่า ดินสอพอง สมัยโบราณใช้ทำแป้งทาร่างกาย เพื่อให้เย็นสบาย นำมาผสมกับน้ำหอม เรียก แป้งกระแจะ ทำยาสีฟัน ปัจจุบันใช้ดินสอพองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว นำมาส่วนผสมทำธูป ทำปูนซีเมนต์ เพราะ เสียค่าขุดและค่าบดต่ำกว่าใช้หินปูนซึ่งมีเนื้อเป็นสารประกอบชนิดเดียวกัน แหล่งใหญ่ในประเทศไทยมีในท้องที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และอำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี

สมัยโบราณใช้ดินสอพองเป็นเครื่องประทินผิว ทาตัวเด็กแก้ผื่นคัน ใช้ทาพื้นที่ลงรักให้เห็นลายชัดเจน ดินสอพองที่ใช้ทำยาจะนำไปสะตุ โดยอบในหม้อดินจนแห้ง ดินสอพองสะตุใช้ทำยารักษาแผลกามโรค แผลเรื้อรัง คำว่าสอในดินสอพองนั้นมาจากภาษาเขมรแปลว่าขาว ดินสอพองจึงหมายถึงดินสีขาวที่ไม่แข็งตัว

ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง

ดินสอพอง จัดว่าเป็น สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เป็นยาสมุนไพร ตามตำรับยาแผนโบราณ จากประวัติศาสตร์พบว่ามีการนำ ดินสอพอง มาใช้เป็นยา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากตำราพระโอสถพระนารายณ์ ซึ่งเราสามารถสรุปประโยชน์ของดินสอพอง ได้ดังนี้

  • ดินสอพอง สรรพคุณเป็นยาเย็น ใช้ลดความร้อนในร่างกาย แก้อักเสบ รักษาผดผื่นคัน และ ช่วยห้ามเหงื่อ ทำให้ร่างกายเย็นสบาย
  • ดินสอพองใช้ป้องกันผิวจากแสงแดด ดินสอพองใช้ทาหน้าป้องกันแสงแดดได้
  • ดินสอพองใช้รักษาผิวหน้า สรรพคุณช่วยขจัดสิวเสี้ยนได้ ลดอาการปวดบวม แก้อักเสบ ช่วยปรับสภาพผิวให้ดีขึ้น ดินสอพองเหมาะสำหรับคนผิวมัน
  • ดินสอพองใช้ขัดผิว เมื่อนำมาผสมกับขมิ้นและมะขามเปียก นำมาขัดหน้า ขัดผิว ช่วยให้ผิวพรรณสวยสดใส
  • ดินสอพองมาผสมกับใบทองพันชั่ง จะมีสรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • ดินสองพองนำมาผสมกับขมิ้นชัน ไพล เหงือกปลาหมอ จะช่วยบำรุงผิวให้เรียบเนียน
  • ดินสอพองใช้ลดอาการแก้ที่ผิวหนัง โดยนำดินสอพองผสมกับใบเสลดพังพอน ใช้ทาผิว
  • ดินสอพองช่วยดับพิษร้อน ช่วยขับสารพิษจากเผ็ดพิษ
  • ดินสอพองแก้อักเสบ บวมช้ำ โดยนำดินสอพองผสมกับน้ำมะกรูด ทาที่แผลโน

ดินสอพองมีแคลเซียมคาร์บอเนต สรรพคุณช่วยดูดซับความมัน ซึ่งความมันเป็นสาเหตุของการอักเสบที่รูขุมขน โดยเราได้นำเสนอสูตรการดูแลผิว จากดินสอพอง มาให้ 4 สูตร สำหรับเพื่อนนำไปใช้ประโยชน์ มีดังนี้

  • สูตรที่ 1 ดินสอพองกับน้ำมะนาว โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพอง 2 ช้อนโต๊ะ มะนาว 2 ช้อนชา โดยนำมาผสมกันและ นำมาพอกใบหน้าให้ทั่ว เว้นรอบดวงตาและริมฝีปากไว้ ทิ้งไว้ 15 นาที และล้างออก จะช่วยรักษาปัญหาผิวมันที่มี รูขุมขนกว้าง และมีสิวเสี้ยน
  • สูตรที่ 2 สอพองกับน้ำผึ้ง โดยส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/2 ช้อนชา น้ำมันมะพร้าว 1/2 ช้อนชา นำมาผสมกัน และนำมาพอกใบหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยลดปัญหาผิวแห้งเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหน้า
  • สูตรที่ 3 ดินสอพองกับขมิ้นและน้ำนม ส่วนผสม ประกอบด้วย ดินสอพองสะตุ 3 ช้อนโต๊ะ นมสด 2 ช้อนชา ผงขมิ้น 1 ช้อนชา นำมาผสมกัน และ ใช่พอกหน้า ประมาณ 20 นาที ช่วยให้ผิวเนียนนุ่ม ชุ่มชื่น ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ผดผื่นคัน ทำให้บำรุงผิวเปล่งปลั่ง

โทษของดินสอพอง

ในการใช้ประโยชน์จากดินสอพอง ใช้เพื่อบำรุงผิวหน้า และ ป้องกันการเกิดสิว แต่ดินสอพองจะอยู่ในรูปแบบผง หากไม่ระมัดระวังในการใช้ ก็อาจสูดดมผงเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดปัญหาที่ระบบทางเดินหายใจได้

ดินสอพอง คือ แร่ธาตุที่ได้จากธรรมชาติ มีฤทธิ์เย็น นิยมนำมาใช้ทำเป็นแป้ง ประโยชน์และสรรพคุณของดินสอพอง ใช้ดูแลผิวพรรณ รักษาสิว ซึ่งดินสอพอง ประกอบไปด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (CO3) ร้อยละ 80 แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก แคลเซียม ซิลิกา และ อาราโกไนต์ เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง

  • Schurrenberger, D., Russell, J. and Kerry Kelts. 2003. Classification of lacustrine sediments based on sedimentary components. Journal of Paleolimnology 29: 141-154.
  • Chalk of Kent by C. S. Harris Accessed 11/06/2005
  • Geochemistry and time-series analyses of orbitally forced Upper Cretaceous marl–limestone rhythmites, abstract Accessed 11/06/2005
  • Palaeoenvironmental Interpretation of the Early Postglacial Sedimentary Record of a Marl Lake Accessed 11/06/2005
  • Sedimentary Rocks. Pettijohn, F. J., Harper& Brothers New York 1957, p. 410
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.

Last Updated on February 1, 2024