หญ้าคา พืชสารพัดประโยชน์ สมุนไพรจากศาสตร์พระราชา

หญ้าคา วัชพืช มีประโยชน์หลากหลาย สมุนไพร ลักษณะของหญ้าคาเป็นอย่างไร สารในหญ้าคา สรรพคุณของหญ้าคา ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษานิ่ว โทษของหญ้าคามีอะไรบ้างหญ้าคา สมุนไพร สรรพคุณของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา ภาษาอังกฤษ เรียก Alang-alang หรือ Blady grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของหญ้าคา คือ Imperata cylindrica (L.) Raeusch. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของหญ้าคา คือ สาแล กะหี่ บร่อง ทรูล ลาลาง ลาแล แปะเม่ากึง เตี่ยมเซากึง คา แฝกคา ลาแล เก้อฮี เป็นต้น หญ้าคากับหญ้าแฝกป็นพืชคนละชนิด หญ้าคา เป็นพืชที่ถูกจัดเป็นพืชรุกราน ( invasive alien species ) ขยายพันธ์เร็วมาก หญ้าคาหนึ่งต้นสามรถผลิตเมล็ดพันธ์ได้ 3,000 เมล็ด และสามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน

ลักษณะของหญ้าคา

ต้นหญ้าคา เป็นพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูง สามารถพบได้ตามพื้นที่รกร้าง ท้องทุ่งทั่วไป ตามหุบเขา และริมทาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หญ้าคาสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นหญ้าคา มีดังนี้

  • ลำต้นหญ้าคา ลักษณะเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดินเป็นเส้นกลมทอดยาว มีข้อชัดเจน ผิวลำต้นเรียบ มีขนเล็กน้อย สามารถแตกกิ่งก้านสาขาและเลื้อยแผ่ได้มากมาย
  • ใบหญ้าคา ลักษณะใบแบนเรียวยาว ใบแตกออกมาจากลำต้นที่อยู่ใต้ดิน  ท้องใบมีขนอ่อนๆ  ขอบใบแหลมคม
  • ดอกหญ้าคา ลักษณะดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอก มีขนฟูสีขาว ก้านดอกแทงออกจากปลายลำต้น หญ้าคาจะออกดอกในช่วงฤดูร้อน
  • เมล็ดหญ้าคา ลักษณะเมล็ดแบนรี มีสีเหลือง เกาะอยู่ที่ดอกหญ้าคา สามารถขยายพันธ์ต่อได้

สารเคมีในหญ้าคา

รากหญ้าคามีสารสกัดเมทานอล หลายชนิด ประกอบด้วย 5-hydroxy-2-(2-phenylethyl) chromone , 5-hydroxy-2-[2-(2-hydroxyphenyl) ethyl] chromone ,  flidersiachromone และ hydroxy-2-styrylchromone ซึ่งพบว่าสาร 5-hydroxy-2(2-phenylethy) chromone และ 5-hydroxy-2-[2-(2-hyroxyphenyl) ethyl] chromone สามารถป้องกันพิษต่อเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้ และ สารประกอบฟินอลิก อิมพิรานิน ( imperanene ) ในรากหญ้าคา สามารถยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด

สารสกัดจากเหง้าหญ้าคาแห้งสามารถยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และ ลดอาการแผลในกระเพาะอาหารได้

สรรพคุณของหญ้าคา

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหญ้าคา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ ดอก ช้อดอก และ ลำต้น สรรพคุณของหญ้าคา มีดังนี้

  • รากหญ้าคา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง รักษาตาลขโมย แก้หอบหืด ช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ร้อนใน ช่วยขับปัสสาวะ แก้เกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้บิด แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ แก้ปัสสาวะเป็นหนอง รักษาหนองใน ช่วยขับระดูขาว แก้ปวดท้องประจำเดือน แก้ไตอักเสบ บำรุงไต แก้ตัวบวม ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ช่วยห้ามเลือด
  • ดอกหญ้าคา สรรพคุณช่วยหยุดเลือดกำเดา แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้อุจจาระเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร  แก้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ช่วยห้ามเลือด
  • ผลหญ้าคา สรรพคุณเป็นยาสงบประสาท ช่วยห้ามเลือด
  • ใบหญ้าคา สรรพคุณแก้ลมพิษ รักษาผดผื่น ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยหลังการคลอดบุตรของสตรี

โทษของหญ้าคา

สำหรับหญ้าคา มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค แต่จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำและใช้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โทษของหญ้าคา มีดังนี้

  • ใบหญ้าคามีความแหลมคมมาก ให้ระวังในการเดินเข้าในดงหญ้าหรือระวังการจับใบหญ้า
  • สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการแข็งตัวของเกร็ดเลือด หรือ ผู้ที่รับยาต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือดอยู่ ไม่ควรใช้สมุนไพรหญ้าคา เนื่องจากในหญ้าคามีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเกร็ดเลือด
  • ไม่ควรใช้สมุนไพรจากหญ้าคาในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับสตรีมีครรภ์หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังก่อนจะใช้สมุนไพรหญ้าคา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

Last Updated on March 18, 2021