หนุมานประสานกาย ไม้กันยุง สมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยห้ามเลือดได้

หนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้ประดับ กันยุงได้ สรรพคุณและประโยชน์ของหนุมานประสานกาย เช่น ขับพิษ ห้ามเลือด รักษาแผล โทษของหนุมานประสานกายเป็นอย่างไรหนุมานประสานกาย สมุนไพร ไม้กันยุง สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

ต้นหนุมานประสายกาย ภาษาอังกฤษ คือ Edible-stemed Vine ชื่อวิทยาศาสตร์ของหนุมานประสานกาย คือ Schefflera leucantha R.Vig. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ว่านอ้อยช้าง ชิดฮะลั้ง กุชิดฮะลั้ง ต้นหนุมานประสานกาย พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกเป็น สมุนไพร ประจำบ้าน และ กันยุง มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย สามารถเจริญได้ดีพื้นที่ร้อนชื้น ทนแดด สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหนุมานประสานกาย เช่น ช่วยรักษาแผลสด แก้ไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาวัณโรค แก้ร้อนใน ขับเสมหะ แก้อาการตกเลือด รักษาอาการเส้นเลือดฝอยในสมองแตก เป็นต้น

การใช้ประโยชน์ของหนุมานประสานกาย

นอกจากจะใช้ หนุมานประสานกาย เป็น ยาสมุนไพร ยังสามารถ ใช้ประโยชน์อื่นๆอีก ได้แก่

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะ เป็นพืชที่ปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ดอกมีความความสวยงาม ผลเมื่อสุกสีแดงสด สวย สามารถปลูกในกระถางได้ ไม่ต้องกานพื้นที่มาก ทนแดดได้ดี สามารถปลูกกลางแจ้งได้
  • ปลูกเพื่อป้องกันยุง สามารถนำใบของ หนุมานประสานกาย มาทำเป็นยากันยุงได้ โดย ตากใบให้แห้ง หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกับน้ำมะพร้าว สัดส่วน 1 ต่อ 1 ต้มด้วยไฟแรง ประมาณ 5 นาที กรองเอากากออก ทิ้งไวจนเย็น สามรถนำมาทาเป็นยากันยุงได้ดี ออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง เหมาะสำหรับ ผู้ที่แพ้ยากันยุงที่ทำมาจากสารเคมี ใช้ทดแทนกันได้ดี
  • ใช้เป็น สมุนไพรยาสามัญประจำบ้าน แก้เจ็บคอ แก้ไอ เด็ดใบเคี้ยว สะดวก ไม่ต้องผ่านการต้ม

ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย 

หนุมานประสานกาย สามารถขยายพันธุ์โดย การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ เป็นไม้พุ่ม ลักษณะของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ลำต้น ความสูงไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นกลม เรียบ ไม่มีหนาม
  • ใบ ใบกระจายแบบนิ้วมือ มีประมาณ 8 ใบ รูปยาวรี ปลายแหลม แต่ละใบ มีความกว้างประมาณ 1.5-3 ซม. และ มีความยาวประมาณ 5-8 ซม. ผิวใบเรียบมัน
  • ดอก มีเป็นช่อ แต่ละดอกมีขนาดเล็ก สีเขียว เหลืองนวล ช่อหนึ่งยาวได้ประมาณ 3-5 นิ้ว
  • ผล ผลรูปทรงกลม ขนาดเล็ก มีน้ำมาก มีความกว้างประมาณ 4-5 มม. และ มีความยาวประมาณ 5-6 มม. ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สุก จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด

ตัวยาสำคัญในหนุมานประสานกาย

หนุมานประสานกาย มีตัวยา ที่ถูกนำมาวิเคราะห์ทางเคมี และ แยกสารสำคัญออกมาแล้ว สารประกอบเชิงซ้อน ได้แก่ Butulinic acid, D-glucose, D-Xylose, Oleic acid, L-rhamnose และ สารซาโปนิน ( Saponins ) ซึ่งเป็นสารที่สกัดได้จากใบหนุมานประสานกาย มีฤทธิ์ขยายหลอดลมแต่ไปกดหัวใจ เป็นสารต้านทำหน้าที่ลดการหลั่ง เพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และ เร่งการหดตัวของบาดแผล ทำให้แผลปิดสนิทและหายเร็วขึ้น

สรรพคุณของหนุมานประสานกาย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากหนุมานกาย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค  สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้น และ ใบ ซึ่งสรรพคุณของต้นหนุมานประสานกาย มีดังนี้

  • ทั้งต้นของหนุมานประสานกาย สรรพคุณช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต
  • ใบหนุมานประสานกาย สรรพคุณรักษาหืดหอบ รักษาวัณโรค แก้ไอ รักษาไข้หวัด แก้เจ็บคอ รักษาแผลในช่องปาก ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับพิษ ช่วยแก้อาการตกเลือดเนื่องจากการคลอดบุตรของสตรี ช่วยสมานแผล ช่วยห้ามเลือด แก้อาการอักเสบบวม ช่วยแก้ช้ำใน

โทษของหนุมานประสานกาย  

หนุมานประสานกายไม่ได้มีแต่คุณประโยชน์ แต่ยังมีโทษด้วย หากไม่ระมัดระวังการใช้ประโยชน์ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ประโยชน์ มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหนุมานประสานกาย เพราะ อาจะส่งผลถึงทารกในครรภ์ได้
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรรับประทานยาที่มีส่วนผสมของหนุมานประสานกาย เนื่องจากเป็นการกระตุ้นการทำงานของหัวใจ อาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนเป็นอันตรายได้
  • ผู้ที่มีไข้สูง เพราะ อาจจะทำให้ไข้ไม่ลด เพราะ ไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดมากเกินไป
  • หลังออกกำลังกาย ไม่ควรกินหนุมานประสานกาย เพราะ จะทำให้หัวใจเต้นเร็วเกินไป
  • ไม่ควรใช้ หนุมานประสานกาย ตัวเดียว เป็นยาเดี่ยว ติดต่อกันนานเกินไป เมื่ออาการหายดี ควรหยุดใช้ หากต้องการใช้เป็นยาดื่มบำรุง จะต้องใช้ตามตำรับ ยาสมุนไพรไทย เพราะ จะได้มีฤทธิ์ของสมุนไพรชนิดอื่น มาลดทอนฤทธิ์ซึ่งกันและกัน

Last Updated on March 18, 2021