อัมพฤกษ์ กับ อัมพาต ต่างกันอย่างไร โรคเกี่ยวกับสมอง

อัมพฤกษ์กับอัมพาต เป็นความผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อการควบคุมร่างกายและการรับความรู้สึก เกิดจากสมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย อัมพฤกษ์และอัมพาตต่างกันอย่างไรอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองขาดเลือด โรคสมอง

ภาวะสมองขาดเลือด คือ สาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ( cerebrovascular accident ) สาเหตุของสมองขาดเลือด มีหลายสาเหตุ แต่เมื่อสมองขาดเลือดนานๆ หากสมองขาดเลือดชั่วคราว จะเกิดอัมพฤกษ์ แต่ หากสมองขาดเลืิอดนานกว่านั้น จะเกิดอัมพาต จะทำให้เกิดโรคนี้ มักพบในผู้ทีมีอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง

อัมพฤกษ์ อาการเกิดจากสมองขาดเลือดชั่วคราว เป็นลักษณะอาการที่แขนขาอ่อนแรง ไม่สามารถยกของหรือหยิบจับของได้ แต่แขนขายังมีความรู้สึกอยู่เพียงแต่ว่าการใช้งานทำได้น้อยลง

อัมพาต เป็นอาการสมองขาดเลือดที่นานกว่า 30 วัน อาจเกิดจากเส้นเลือดสมองแตก ลักษณะอาการจะเป็นอาการที่แขนขาไม่มีความรู้สึก ไม่สามารถควบคุมการทำงานของแขนขาได้ แม้กระทั้งการออกแรงจับของ หรือ การขยับแขนขา แต่อาการอัมพาตนอกจาก ภาวะสมองขาดเลือด ยังเกิดจากภาวะเส้นประสาทถูกทำลาย เมื่อระบบประสาทถูกทำลายก็เป็นสาเหตุของอัมพาต

ความแตกต่างของอัมพฤษ์กับอัมพาต คือ อัมพฤกษ์ ร่างกายอ่อนแรงแต่ยังมีความรู้สึกอยู่ แต่อัมพาต ร่างกายสูญเสียการควบคุม และ ไร้ความรู้สึก

ปัจจัยที่ส่งผลกระทยต่อการเกิดโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

สำหรับปัจจัยของการเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต มีลักษณะคล้ายกัน คือ เกิดจากโรคต่างๆและพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การสูบบุหรี่  การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกาย และ ความเครียด เป็นต้น

อาการของโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาต

สำหรับอาการของโรคอัมพฤกษ์ คือ ร่างกายอ่อนแรง ปากเบี้ยว ควบคุมกล้ามเนื้อลำบาก พูดลำบาก วิงเวียนศีรษะ สูญเสียการทรงตัว สายตาพล่ามัว เป็นต้น อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ที่สำคัญ คือ แขน ขา อ่อนแรง ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย ปากเบี้ยว หลับตาไม่สนิท พูดไม่ชัด พูดลำบาก นึกคำพูดไม่ออก วิงเวียนศีรษะ เดินเซ มองเห็นภาพซ้อน

สำหรับอาการของโรคอัมพาต เป็นอาการของภาวะเส้นเลือดสมองแตก จะแสดงอาการแขน ขา ชาและอ่อนแรงไม่สามารถขยับได้ หรือ อ่อนแรงครึ่งซีก ข้างใดข้างหนึ่ง ความสามารถในการพูด และฟังน้อยลง มีปัญหาระบบการมองเห็น เช่น ตาพร่ามัว มองไม่ชัด เห็นภาพเพียงบางส่วน เห็นภาพได้แคบลง ความสามารถในการหายใจน้อยลง ทำให้หายใจลำบาก และเหนื่อยหอบง่าย ปวดหัว เวียนหัว เสียความสามารถในการทรงตัว ปวดหัวอย่างรุนแรงแบบกระทันหัน คลื่นไส้อาเจียน และ ในกรณีระบบประสาทถูกทำลาย จากการเกิดอุบัติเหตุถูกกระแทกอย่างรุนแรง จะเป็นอาการระบบประสาทสูญเสียควบคุมอย่างกระทันหัน

การรักษาโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

การรักษาโรคในกรณีที่สมองขาดเลือดชั่วคราว สามารถรักษาตามอาการของสาเหตุที่ทำให้สมองขาดเลือด โดยใช้การผ่าตัด และ ให้ยารักษา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ต้องเข้ารับการผ่าตัด ใส่สารบางอย่างเพื่อไปอุดหลอดเลือด
  • หากเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง สามารถรักษาโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด

นอกจากนั้นแล้ว การรักษาจะทำเพื่อป้องกันการเกิดโรคอีกครั้ง เช่น การให้กินยาลดการแข็งตัวของเลือด การควบคุมการเกิดโรคที่มีผลต่อหลอดเลือด เช่น รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน และรักษาโรคไขมันในหิตสูง รวมถึงการทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อให้แข้งแรง และฝึกการพูด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต

แนวทางการป้องกันการเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาติ สามารถป้องกันจากการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ และ รักษาสุขภาพไม่ให้เกิดภาวะหลอดเลืิอดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดสมองแตก แนวทางการป้องกัน มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ เลิกดื่มสุรา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ อย่างเหมาะสม
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ลดภาวะความเครียด
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำปี

อัมพฤกษ์ กับ อัมพาต เป็นความผิดปกติของสมอง ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย และ การรับรู้ความรู้สึก เกิดจากสมองขาดเลือด ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย อัมพฤกษ์และอัมพาตต่างกันอย่างไร

Last Updated on April 19, 2023