เด็กไฮเปอร์ เด็กสมาธิสั้น ต้องทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น

เด็กไฮเปอร์ เด็กสมาธิสั้น ADHD ภาวะการมีสมาธิในการรับรู้สั้น มีความซุกซนผิดปรกติ ไม่อยู่นิ่ง มักเกิดกับเด็ก มีเพียงร้อยละ 20 ที่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องทำอย่างไร

สมาธิสั้น โฮเปอร์ โรคเด็ก

โรคสมาธิสั้น โรคไฮเปอร์ ( ADHD  Attention Deficit Hyperactivity Disorder ) คือ ภาวะการมีสมาธิในการรับรู้สิ่งต่างๆสั้นกว่าปกติ ลักษณะอาการซุกซน วอกแวก ไม่อยู่นิ่ง เวลาพูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดต่างๆไม่ค่อยได้ อาการเหล่านี้พบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 ถึง 7 ปี โดยอาการจะแสดงออกชัดเจนกว่าหลังอายุ 7 ปี เนื่องจากต้องเข้าโรงเรียน มีงานและการบ้าน และ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและคุณครู

ความแตกต่างระหว่างเด็กไฮเปอร์กับเด็กสมาธิสั้น

  • เด็กไฮเปอร์ เด็กที่เป็นไฮเปอร์ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสมาธิสั้นเสมอไป เนื่องจาก การไฮเปอร์ คือ อาการที่ไม่อยู่นิ่ง เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น อาการสมาธิสั้น ( ADHD ) หรือ เด็กที่มีไอคิวสูง ( Gifted Child ) เด็กที่มีความวิตกกังวัล ( Anxiety ) เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ( Motor–Sensory )
  • เด็กสมาธิสั้น เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากความผิดปกติของสมอง หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม หากพ่อหรือแม่เป็นโรคนี้ ลูกก็มีโอกาสเป็นได้ถึง 50% หรืออาจเกิดขึ้นได้ขณะที่มารดาตั้งครรภ์ เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 – 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

การสังเกตุอาการเด็กสมาธิสั่นหรือไฮเปอร์

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น มีเพียง 15 – 20% เท่านั้นที่สามารถหายได้เองเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่อีกประมาณ 60% นั้นไม่หายขาดและจะเป็นโรคนี้ไปจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้น การสังเกตและรู้เท่าทันสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษาคือสิ่งสำคัญ ได้แก่

  • ผลการเรียนตกต่ำลง
  • คุณครูมีการรายงานพฤติกรรมความผิดปกติของเด็กกับพ่อแม่ผู้ปกครอง
  • พ่อแม่ผู้ปกครองเริ่มสงสัยและเห็นความผิดปกติของเด็กชัดเจนมากขึ้น
  • เด็กหรือเพื่อนที่เด็กเล่นด้วยมีอาการบาดเจ็บ เนื่องจากเล่นรุนแรงและผาดโผนมากเกินไป
  • เด็กเริ่มแยกตัวออกจากกลุ่ม อยู่โดดเดี่ยวคนเดียว ไม่ชอบสื่อสารและเข้าสังคม ถูกเพื่อนปฏิเสธหรือรังแก

สาเหตุของภาวะไฮเปอร์

ภาวะไฮเปอร์มักเกิดจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการคล้ายกันกับผู้ป่วยภาวะไฮเปอร์ อย่างไรก็ตาม ภาวะไฮเปอร์มีสาเหตุมาจากโรคหรือปัจจัยอื่น ๆ ได้เช่นกัน ดังนี้

  • ภาวะความผิดปกติของสมองหรือระบบประสาทส่วนกลาง
  • ภาวะความผิดปกติทางอารมณ์หรืออาการทางจิต
  • ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด

อาการโรคไฮเปอร์

ควรเปรียบเทียบกับเด็กทั่วไป เพราะ จะเห็นอาการได้ชัด ส่วนมากคือไม่สามารถนั่งเล่นอยู่กับที่ได้นานเกิน 20 นาทีให้ต้องสงสัยเอาไว้ก่อน จากนั้น ให้จับตาสังเกตุพฤติกรรมต่างๆ ดังนี้

  • อาการสมาธิสั้น สังเกตุได้ง่ายคือ จะไม่สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งใดได้เป็นเวลานาน ครูมักพบในชั้นเรียนว่า ขณะกำลังเรียนหนังสืออยู่ หากมีอะไรผ่านหน้าห้องเรียน หรือ เสียงจากภายนอกห้องเรียนเด็กจะไม่สนใจหนังสือเรียน แต่ จะหันไปให้ความสนใจสิ่งภายนอก โดยจะหันไปสนใจทันที อีกกรณีหนึ่ง คือ มักจะไม่สามารถทำงานที่ได้รับหมอบหมาย หรือ การบ้านไม่เสร็จ เพราะจะมัวแต่คิดถึงเรื่องอื่น นอกเหนือจากงานที่ได้รับหมอบหมาย นอกจากนั้นแล้ว บางรายจะมีอาการเหม่อลอย คิดแต่เรื่องในใจ ซึมเศร้าก็สามารถพบได้
  • อาการใจร้อน พวดพลาด ไม่สามารถรออะไรนานๆได้ เช่น การแทรกพูด ขณะที่คนอื่นกำลังคุยกันอยู่ การทำงานที่ได้รับมอบหมายไม่ครบตามที่ได้สั่ง เพราะ ลุกลี้ลุกลนไม่มีความรอบครอบ มักจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
  • อาการดื้อซน อยู่นิ่งไม่ได้ มีความซนมากกว่าเด็กทั่วไป ไม่เชื่อฟังคำสั่ง เรียกว่าอาการ Hyper Activity

กลุ่มอาการโรคไฮเปอร์ 

ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลสภาพแวดล้อมขณะเด็ก ถ้าหากได้รับการดูแลอย่างดีจะสามารถแปรเปลี่ยนเป็น ความสามารถพิเศษด้านต่างๆ เพื่อ ชดเชยอาการสมาธิสั้นได้

  • กลุ่มอาการก้าวร้าว ขวางโลก ต่อต้านสังคม ชอบความรุนแรง เป็นคนใจร้อน แก้ปัญหาด้วยการใช้ความรุนแรง ขาดการยั้งคิด มีอารมณ์แปรปรวนรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคม
  • กลุ่มอาการซึมเศ้รา เหงาหงอย ไม่กล้า ขี้อาย เก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง มีโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายตนเองจนถึงฆ่าตัวตาย

การรักษาโรคไฮเปอร์ 

การรักษา จะต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป และ รักษาตั้งแต่ยังเด็ก โดยปัจจัยหลัก คือ ครอบครัว แพทย์จะต้องทำความเข้าใจกับครอบครัว ให้รับสภาพความเป็นจริง จากนั้น จะกำหนดวิธีการรักษา ให้เวลากับลูกมากเป็นพิเศษ ค่อยๆฝึกฝนไปเรื่อยๆ และ ติดตามความก้าวหน้า ผู้ป่วยจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เมื่อเป็นผู้ใหญ่

  • การรักษาจะต้องทำร่วมกับแพทย์ และ ผู้ปกครองเนื่องจากผู้ปกครองจะเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด จึงเข้าใจ และ ทราบถึงอาการผิดปกติมากที่สุด การทำการดูแลปรับพฤติกรรมจะต้องทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง และ ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อผลการรักษาที่เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การทำกิจกรรมเสริมทักษะ เพื่อ การเพิ่มสมาธิให้กับเด็ก โดยใช้ดนตรี ศิลปะ กีฬาที่ใช้สมองเข้าช่วย ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังเพื่อทำร้ายคู่แข่ง หรือ กีฬาที่ต้องมีการปะทะกัน เพราะ จะทำให้กระตุ้นความรุนแรงในตัวเด็กง่ายขึ้น
  • การเสริมสร้างระเบียบให้เด็ก เช่น การตรงต่อเวลา การทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง การจัดเวรทำความสะอาด โดยการค่อยๆให้เด็กมีส่วนร่วม และ มีผู้ปกครองเป็นผู้ร่วมกิจกรรมนั้นด้วยเสมอ แล้วค่อยๆถอยออกมาจนเด็กสามารถทำได้ด้วยตนเอง
  • การจัดสภาพแวดล้อม ควรจัดให้มีความเป็นระเบียนเรียบร้อย ปราศจากสิ่งเร้าสิ่งรบกวน งดเสียงดัง ไม่ควรพาเด็กไปสถาณที่วุ่นวาย คนพลุกพล่าน
  • กำหนดกติกาต่างๆ เพื่อ ฝึกวินัย หลีกเลี่ยงการลงโทษโดยความรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด ควรพูดให้เด็กเข้าใจถึงกฏกติกาที่ตกลงไว้แต่แรก และ งดการให้รางวัลในสิ่งที่เด็กชอบ แต่เมื่อ เด็กทำได้ตามตกลงควรกล่าวคำชม และ ของรางวัลตามที่ตกลง เพื่อสร้างแรงจูงใจ
  • โรคนี้สามารถเป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิด ไม่สามารถรักษาหายได้ทันที แต่ สามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่ที่การดุแลเอาใจใส่ โดย พ่อแม่ผู้ปกครองถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้เด็กโตมาปกติ เพราะ จะอยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด เข้าใจเด็กมากที่สุด ผู้ปกครองที่มี การดูแลเด็กไฮเปอร์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ ให้เร็วที่สุด ก่อนจะสายเกินไป

การป้องกันโรคไฮเปอร์

เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แนวทางการป้องกันการเกิดโรค คือ การดูแลสุขภาพร่างกายของพ่อแม่ การเตีรยมความร้อมก่อนแต่งงาน การตวรจร่างกายอย่างละเอียด ในการเตรียมความพร้อมก่อนมีลูก และ การดูแลแม่ทั้งในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นอย่างดี

Last Updated on February 28, 2024