เหน็บชา ภาวะร่างกายขาดวิตามินบี1 รักษาได้หรือไม่อย่างไร

เหน็บชา Beriberi ภาวะขาดวิตามินบี1 มักเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหาร โรคเหน็บชาไม่ควรกินอะไร ควรดูแลตนเองอย่างไร ทำอความรู้จักกับโรคเหน็บชาอย่างละเอียด

เหน็บชา โรคเหน็บชา

เหน็บชา ( Beriberi ) คือ ภาวะการเกิดอาการชา และ เหมือนมีเข็มจำนวนมากจิ้ม ซึ่งพบได้ทั่วไปและเกิดได้กับทุกคน สาเหตุของการเกิดโรคนี้ คือ การขาดวิตามินบี1 ส่วนมากจะพบโรคนี้ในชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ พื้นที่ขาดแคลน ขาดความรู้เรื่องโภชนาการ ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร

การที่ร่างกายขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี1 หรือ Vitamin B1 หรืออีกชื่อหนึ่ง คือ ไทอะมีน หรือ Thiamine จะส่งผลต่อร่างกายเกี่ยวข้องกับระบบประสาทในการรับส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาท ซึ่งวิตามินบี1 จะเป็นตัวเร่งกระแสประสาทการรับรู้ความรู้สึกจากเซลล์รับรู้ความรู้สึกสู่เซลล์ประสาทเพื่อเชื่อมต่อไปยังสมอง การขาดวิตามินบี1 จะทำให้การรับรู้ได้น้อยลงจึงทำให้เกิดความรู้สึกชาหรืออาการชาเกิดขึ้นได้

ตามความเข้าใจของคนทั่วไป คิดว่าคนที่มีร่างกายซูบผอม มักขาดสารอาหารแต่จากความเป็นจริงคนที่ร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ก็สามารถขาดสารอาหารได้ เนื่องจากการบริโภคของแต่ละคนไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ดังนั้น โรคเหน็บชาก็สามารถพบได้ในคนอ้วนได้เช่นกัน ความเข้าใจเรื่องผอมแล้วเป็นโรคเหน็บชาจึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

สถานกาณ์โรคเหน็บชาในประเทศไทย

ประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคเหน็บชา มีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่และแม่มีภาวะขาดวิตามิน บี 1 หรือบริโภคอาหารที่ขาดวิตามิน บี 1 และพบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง ผู้ที่รับประทานปลาร้าและอาหารดิบเป็นประจำ รายางการป่วยและเสียชีวิตในประเทศไทยแยกตามปี สามารถสรุปได้ดังนี้

  • ปี 2548 พบผู้ป่วยชาย เป็นชาวประมงในจังหวัดสมุทรสาคร 11 ราย และสงสัยเสียชีวิตจากการขาดวิตามินบี 1 อีก 2 ราย
  • ปี 2549 พบผู้ป่วยชาย เป็นชาวประมงในจังหวัดสมุทรสาคร 20 ราย มีอาการรุนแรง 5 ราย แพทย์ให้การวินิจฉัย cardiac beri beri และในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พบผู้ป่วยสงสัยเสียชีวิตจากการขาดวิตามินบี 1 อีก 28 ราย
  • ปี 2553 พบผู้ป่วยสงสัยขาดวิตามินบี 1 ประมาณ 40 ราย มีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำแห่งหนึ่ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ปี 2557 พบผู้ป่วยที่มีอาการแขนขาอ่อนแรงและชา 78 ราย มีอาการรุนแรง 3 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดอยู่ในเรือนจำอีกแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ความแตกต่างระหว่างอาการชาและอาการเหน็บ 

ทั้งอาการสองอาการมีความแตกต่างกันแต่มักเกิดร่วมกัน ซึ่งแล้วแต่สิ่งเร้าและสภาพร่างกายผู้ป่วย อาการชาจะเกิดจากการที่ร่างกายขาดความรู้สึกจากการสัมผัส ซึ่งเกิดกับร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งแล้วแต่สิ่งเร้าที่ได้รับ เช่น ชาจากการสัมผัส ตามปลายมือ ปลายเท้า ส่วนอาการเหน็บจะเริ่มต้นมาจากอาการชา แต่จะมีความเจ็บปวดเพิ่มขึ้นมา เช่น อาการเหน็บที่ขาเกิดความเจ็บปวดไม่สามารถยืดได้ ลุกเดินไม่ได้ ปวดมาก

ผู้ที่ป่วยโรคเหน็บชาจะพบอาการต่างๆเหล่านี้บ่อยกว่าคนทั่วไปหลายเท่า ทำให้เกิดความไม่สะดวกต่อการดำรงชีวิต แต่โรคเหน็บชาไม่ได้เป็นโรคที่รุนแรงจนถึงชีวิตเพียงแต่เป็นโรคที่ทุกทนทรมาน

ประเภทของโรคเหน็บชา

โรคเหน็บชาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เหน็บชาในเด็ก และ เหน็บชาในผู้ใหญ่ โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • เหน็บชาในเด็ก
    พบบ่อยในทารกอายุ 2-3 เดือน มักพบในทารกที่ดื่มน้ำนมแม่ และแม่กินอาหารที่ขาดวิตามินบี 1 ทารกมักมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน เช่น หน้าเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจเต้นเร็ว หัวใจโต ร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง อาจตายภายใน 2-3 ชั่วโมง
  • เหน็บชาในผู้ใหญ่
    อาการผู้ใหญ่ แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ เหน็บชาชนิดแห้ง , เหน็บชาชนิดเปียก และ เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome โดยรายละเอียด ดังนี้

    • เหน็บชาชนิดแห้ง ( Dry Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
    • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า น้ำคั่งในช่องท้องและช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
    • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อยหรือทำไม่ได้เลย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

สาเหตุการเกิดโรคเหน็บชา 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคเหน็บชาเกิดจากการขาดสารอาหาร วิตามินบี1 แต่สามารถสรุปสาเหตุและปัจจัยต่างๆที่ส่งผลให้เกิดโรคเหน็บชา มีดังนี้

  • ภาวะติดสุราเรื้อรัง ทำให้ร่างกายดูดซึมและสะสมวิตามินบี1 ไม่เพียงพอ
  • กรรมพันธุ์
  • ภาวะการเกิดโรคที่ส่งผลต่อการดูดซึมสารอาการ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ( Hyperthyroidism ) การผ่าตัดรักษาโรคอ้วน (Bariatric surgery) โรคเอดส์ (AIDS) ท้องเสียเป็นเวลานาน การใช้ยาขับปัสสาวะ การฟอกไต โรคตับแข็ง
  • การรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น อาหารหมักดอง ปลาร้า ใบชา ใบเมี่ยง หมากพลู ปลาส้มดิบ แหนมดิบ หอยลายดิบ และปลาน้ำจืดดิบ  อาหารเหล่านี้มีสารทำลายวิตามินบี 1 นอกจากนั้นการรับประทานแป้งและน้ำตาลมากเกินไปก็เป็นสาเหตุการขาดวิตามินบี1 

อาการโรคเหน็บชา

ลักษณะอาการของโรคเหน็บชา คือ เกิดอาการเหน็บและชา แต่ลักษณะอาการสามารถแบ่งได้ตามประเภทของโรคเหน็บชา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหน็บชาในเด็ก Infantile beriberi เด็กจะมีอาการเจ็บจากเหน็บแต่ไม่สามารถแสดงออกได้นอกจากการร้องไห้ หากเด็กเกิดอาการตัวเขียว ซึม ร้องไม่มีเสียง เสียงร้องผิดปกติ ขาบวม หายใจหอบ หน้าเขียว แสดงว่าเด็กเกิดอาการเจ็บปวดเป็นอย่างมาก ต้องรีบเข้ารับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง เพราะ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต
  • เหน็บชาชนิดผอมแห็ง ( Dry Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการชาแบบไม่บวม ชาปลายมือและปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงไม่มีกำลัง โดยเฉพาะที่ขาส่วนล่าง อาจทดสอบได้โดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้นเอง ซึ่งผู้ป่วยจะทำไม่ได้ เจ็บปวด พูดไม่ชัด พูดติดขัด อาเจียน มีความผิดปกติทางจิตใจ สับสน ตาขยับเองโดยที่ไม่รู้ตัว อัมพาต
  • เหน็บชาชนิดเปียก ( Wet Beriberi ) ผู้ป่วยจะมีอาการบวมร่วมกับอาการชาปลายมือปลายเท้า น้ำคั่งในช่องท้องและช่องปอด ขาส่วนล่างบวม หอบเหนื่อย หายใจตื้นขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตื่นนอนขึ้นมามีอาการหายใจตื้น หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจทำให้หัวใจวายในกรณีไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที
  • เหน็บชา Wernicke-Korsakoff Syndrome พบบ่อยในผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง เคลื่อนไหวลูกตาได้น้อยหรือทำไม่ได้เลย เดินเซ มีความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ที่เป็นมากอาจทำให้เกิดอาการทางจิตที่เรียกว่า Korsakoff’s Psychosis

การรักษาโรคเหน็บชา

สำหรับแนวทางการรักษาอาการเหน็บชาโดยทั่วไป ใช้การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค คือ การขาดวิตามินบี1 ใช้การปรับพฤติกรรมให้รับประทานวิตามินบี 1 เลือกรับประทานข้าวกล้องแทนข้าวขาว และหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อการดูดซึมวิตามินบี1 ของร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีสาเหตุของเหน็บชาจากสาเหตุอื่น เช่น เบาหวาน พิษสุราเรื้อรัง ก็ให้รักษาตามสาเหตุของโรค

การป้องกันโรคเหน็บชา

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเหน็บชา คือ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 และ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ส่งผลกระทบต่อการดูดซึมวิตามินบี1 เข้าสู่ร่างกาย โดยสรุปแนวทางได้ดังนี้

  • การเลิกดื่มสุรา ในรายที่ติดสุราเรื้อรังจะต้องเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี เพื่อลดคามเสี่ยงการกลับมาดื่มสุราอีกครั้ง ทั้งนี้ครอบครัวและคนใกล้ชิดเป็นกำลังใจที่สำคัญให้ผู้ป่วยสามารถเลิกขาดได้
  • การเลือกรับประทานข้าวกล้อง การเปลี่ยนพฤติกรรมการกินโดยการเพิ่มข้าวกล้องแทนข้าวขาว หรือข้าวขัดสี เพราะในลำข้าว เยื่อหุ้มข้าว จมูกข้าว อุดมไปด้วยสารอาหารรวมทั้งวิตามินบี1 อย่างมาก หากทำไม่ได้ในช่วงแรกให้ผสมกับข้าวขาวและค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้น จนสามารถบริโภคได้ปกติ
  • ลดอาหารที่ขัดขวางการดูดซึมวิตามินบี1 เช่นของหมักของดอง ของดิบต่างๆ รวมทั้งชา กาแฟ อาหารต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการดูดซึมวิตามินบี1 หากเป็นไปได้ให้ลดลงหรือเลิกบริโภคได้จะมีผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก
  • ในเด็กอ่อนมารดาจะต้องสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดเพราะเด็กไม่สามารถพูดได้ หากเกิดอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาจะต้องรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะอันตรายเป็นอย่างมาก
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นธัญพืชต่างๆ ถั่ว ผัก ผลไม้ เพราะในสิ่งเหล่านี้มีวิตามินแร่ธาจุต่างๆมากมาย
  • รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และหลากหลาย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ นม ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและถั่วเมล็ดแห้ง รวมทั้งผักใบเขียว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีตัวทำลายวิตามินบี 1 ได้แก่ จำพวกปลาดิบ ปลาร้าดิบ ปลาส้มดิบ แหนมดิบ เมี่ยง ของหมักดองอื่นๆ หากต้องการรับประทานควรปรุงด้วยความร้อนจนสุก

Last Updated on August 16, 2022