แห้ว พืชเศรษฐกิจ สมุนไพร 5 สรรพคุณและโทษของแห้วมีอะไรบ้าง

แห้ว Water Chestnut แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้วแห้ว สมุนไพร สรรพคุณแห้ว

ต้นแห้ว ภาษาอังกฤษ เรียก Water Chestnut ชื่อวิทยาศาสตร์ของแห้ว คือEleocharisdulcis Trin. สำหรับแห้วมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน เป็นพืชที่สามารถรับประทานหัวแทนข้าวได้ แห้วจีน มีเนื้อมาก สีขาว รสหวาน จึงมีการแพร่กระจายปลูกในประเทศเขตอบอุ่น เช่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกาใต้ แห้ว นิยมรับประทานหัว และ ถูกนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุกระป๋อง  หรือ แปรรูปเป็นแป้งสำหรับทำอาหารด้วย

ชนิดของแห้ว

สำหรับต้นแห้ว สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ แห้วหมู แห้วไทย และ แห้วจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • แห้วหมู หรือ หญ้าแห้วหมู ลักษณะเด่นของแห้วหมู คือ ลำต้นขนาดเล็ก กลมสั้น แตกใบสูง หัวมีขนาดเล็ก เปลือกสีดำอมน้ำตาล หัวมีเนื้อแข็ง สีขาว รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรค
  • แห้วไทย ลักษณะเด่นของแห้วไทย คือ หัวมีขนาดเล็กกว่าแห้วจีน เนื้อหัวมีสีขาว เปลือกสีดำ แต่เมื่อต้มจนสุกเนื้อหัวจะเป็นสีเหลืองอ่อน ลักษณะใบเป็นสามเหลี่ยม ลำต้นสูงประมาณ 80 เซ็นติเมตร
  • แห้วจีน ลักษณะเด่นของแห้วจีน คือ หัวกลม มีเนื้อมาก เนื้อสีขาว แห้วจีนเป็นแห้วชนิดที่นิยมรับประทานมากที่สุด เนื่องหัวมีรสหวาน หัวขนาดใหญ่ เนื้อสีขาว

แห้วในประเทศไทย

สำหรับแห้วในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ นิยมนำหัวแห้วมาแปรรูปบรรจุกระป๋องและทำแป้ง โดยมีการนำแห้วจีนมาปลูกในประเทษไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2493 ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการทดลองปลูกแห้วในนาข้าว โดยกำนันวงษ์ ต่อมามีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งแหล่งปลูกแห้วในประเทศไทยมีการปลูกในแถบแม่น้ำท่าจีน ภาคกลางของประเทศไทย และ ปลูกที่จังหวัดสุพรรณบุรีมาที่สุด

ลักษณะของต้นแห้ว

ต้นแห้ว เป็นพืชล้มลุก อายุเพียงหนึ่งปี มีหัวอย่ใต้ดิน ชอบพื้นที่น้ำขัง ที่มีดินเป็นสภาพโคลนตมดี สามารถขยายพันธ์โดยการ แยกหน่อ แตกไหล ลักษณะของต้นแห้ว มีดังนี้

  • รากและหัวของห้ว แห้วมีรากเป็นแบบไรโซม มีการแตกไหล หัวแห้วมีลักษณะทรงกลม เปลือกของหัวแห้วในช่วงแรกจะมีสีขาว จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมดำ ต้นแห้ว 1 ต้นจะมีหัวแห้ว 7 ถึง 10 หัว
  • ลำต้นแห้ว ลักษณะเป็นกก ลำต้นคั้งตรง ทรงกลม ลำตันแข็ง อวบน้ำ ความสูงของลำต้นประมาณ 1 เมตร
  • ใบแห้ว เป็นใบเดี่ยว ใบลักษณะยาวเหมือนใบหญ้า มีสีเขียว
  • ดอกแห้ว ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกแห้วออกบริเวณยอดของลำต้น ดอกแห้วจะแทงออกเมื่อลำต้นสูงประมาณ 15 เซนติเมตร
  • ผลแห้ว แห้วมีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาลอมดำ

คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว นิยมรับประทานเนื้อของหัวแห้ว ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแห้วขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 730 กิโลจูล มีสารอาหารสำคุณประกอบด้วย น้ำ 48.2 กรัม โปรตีน 3.4 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 32.1 กรัม กากใยอาหาร 14.9 กรัม น้ำตาล 3.3 กรัม แคลเซียม 17.6 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.7 มิลลิกรัม โซเดียม 0.8 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 468 มิลลิกรัม

สรรพคุณของแห้ว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากแห้ว ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย ด้านสมุนไพร ใช้ประโยชน์จาก หัวแห้ว และ ใบแห้ว สรรพคุณของแห้ว มีดังนี้

  • หัวแห้ว สรรพคุณลดอาการอักเสบ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน ช่วยขับน้ำนม รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ท้องผูก แก้เมาสุรา รักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยให้หูดอ่อนนิ่มลง
  • ใบแห้ว สรรพคุณแก้ปวดเหงือก แก้ปวดฟัน แก้ฟันผุ รักษาแผลในช่องปาก รักษาแผล รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการปวดบวม

โทษของแห้ว

สำหรับการรับประทานแห้ว หรือ ใช้แห้วด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค นั้นเนื่องจากเนื้อแห้วมีความแข็ง การรับประทานแห้วที่เนื้อแข็งมาก จะส่งผลการระบบย่อยอาหาร ของผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการย่อยอาหาร หรือ ผู้ป่วยที่พึ่งผ่าการผ่าตัดลำไส้หรือกระเพาะอาหาร

แห้ว ( Water Chestnut ) แห้วจีน สมุนไพร พืชน้ำ พืชเศรษฐกิจ นิยมรับประทานหัว ทนแทนแป้งได้ คุณค่าทางโภชนาการของแห้ว สรรพคุณของแห้ว ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงร่างกาย โทษของแห้ว

Last Updated on March 17, 2024