โรคนอนไม่หลับ ภัยเงียบส่งผลต่อร่างกายและระบบสมองในอนาคต

โรคนอนไม่หลับ Insomnia ภัยใกล้ตัวของทุกคน นอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร การรักษาทำอย่างไร

โรคนอนไม่หลับ นอนไม่หลับ การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับถือเป็นปัญหาหนึ่งของมนุษย์ สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ จิตใจกังวล ส่งผลต่อการคิดการตัดสินใจในการทำงานในช่วงกลางวัน จากการศึกษาการเกิดโรคนอนไม่หลับพบร้อยละ 30 ของผู้ใหญ่มีอาการนอนไม่หลับ

ความต้องการในการนอนของคนโดยปกติมีความแตกต่างกันในแต่ละวัย ซึ่งการต้องการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอในแต่ละวัย มีดังนี้

  • เด็กแรกเกิดต้องการนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กอายุ 1 ปี ต้องการนอน 14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 2 ปี ต้องการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 3-5 ปี ต้องการนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน
  • เด็กวัย 6-13 ปี ต้องการนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
  • คนอายุ 14-17 ปี ต้องการนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ทั่วไปต้องการนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน
  • สำหรับผู้สูงวัยจะต้องการนอนที่สั้นลง เพราะ ร่างกายสามารถผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับได้ลดน้อยลง

โรคนอนไม่หลับInsomnia ) อาการนอนไม่หลับถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งสาเหตุของการนอนไม่หลับอาจจะมาจากหลายสาเหตุ การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้ร่างกายนั้นมีความอ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลต่อสภาพร่างกายอื่นๆต่อมา เช่น ขาดสมาธิในเวลาทำงาน

ประเภทของโรคนอนไม่หลับ

สำหรับโรคนอนไม่หลับ สามารถแบ่งประเภทได้ 3 ประเภท คือ นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) และ นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) รายละเอียดของประเภทต่างๆ มีดังนี้

  • นอนไม่หลับชั่วคราว ( Transient insomnia ) เป็นอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันแบบกระทันหัน มักพบในช่วงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่ไม่คุ้นชิน การดินทางข้ามเส้นแบ่งเวลาโลก ( Time zone ) เป็นต้น
  • นอนไม่หลับระยะสั้น ( Short-term insomnia ) อาการลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพียง 2-3 วัน ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเกิดจากภาวะความเครียดบางอย่างส่งผลกระทบต่อการนอน
  • นอนไม่หลับเรื้อรัง ( Long-term or Chronic insomnia ) ลักษณะการนอนไม่หลับเป็นเวลานานต่อเนื่องเป็นปีๆ อาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด อาการเจ็บป่วยเรื้อรังบางโรคที่กระทบต่อร่างกายและจิตใจ เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนอนไม่หลับ

สำหนับปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลับ มีหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งปัจจัยทางด้านร่างกาย ปัจจัยด้านสภาพจิตใจ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม รวมถึงอุปนิสัยการนอน ( Sleep hygiene ) ของแต่ละคน ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการนอนไม่หลับได้ดังนี้

  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีอาการเจ็บป่วย มีไข้ โรคกรดไหลย้อน ภาวะระบบประสาทตื่นตัวมากกว่าปกติ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านจิตใจ เป็นภาวะที่ทำให้เกิดอาการความเครียด ความวิตกกังวล ในช่วงเวลานั้นๆ หรือ โรคที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่าร์ เป็นต้น
  • ปัจจัยการนอนไม่หลับด้านสิ่งแวดล้อม อาจเกิดเสียงรบกวน หรือแสงไฟรบกวน ทำให้นอนไม่หลับ
  • ปัจจัยจากอุปนิสัยการนอน ลักษณะการนอนที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือ การทำกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลให้นอนไม่หลับ เช่น การเล่นเกมส์ การเล่นโทรศัพท์ การดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน ส่งผลกระทบต่อการนอนทั้งสิ้น

ลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ
สำหรับอาการของโรคนอนไม่หลับนี้ มีหลายลักษณะแต่ลักษณะเด่นชัด คือ นอนไม่หลับ ในช่วงเวลาที่ต้องนอนพักผ่น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคนอนไม่หลับ ได้ดังนี้

  • ใช้เวลานานในการทำให้ตัวเองหลับ
  • ชั่วโมงนอนน้อยเกินไป
  • อาการหลับๆตื่นๆ นอนไม่ต่อเนื่อง
  • ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สามารถนอนหลับได้อีก
  • ง่วงนอนในเวลากลางวัน แต่นอนไม่หลับในเวลากลางคืน

แนวทางการรักษาโรคนอนไม่หลับ

สำหรับการรักษาโรคะนอนไม่หลับ สามารถรักษาได้ด้วย 2 หลักๆ คือ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และ การรักษาด้วยการใช้ยารักษาทำให้นอนหลับ ซึ่งในระยะสั้นการใช้ยาจะช่วยให้นอนหลับได้ แต่ การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุในเกิดอาการนอนไม่หลับ เป็นวิธีที่ดีที่สุด แนวทางการปรับพฤติกรรมให้นอนหลับ มีดังนี้

  • ควรอย่างมากที่จะต้องค้นหาสาเหตุ ที่มาที่ไปของการนอนไม่หลับ
  • ออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง เชื่อว่าการออกกำลังกายนั้น เป็นยาวิเศษที่ทำให้ร่างกายนอนหลับพักผ่อนได้
  • การจัดห้องนอนให้เหมาะต่อการนอน การปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม และที่สำคัญบรรยากาศต้องเงียบ ส่งผลให้สมองผ่อนหลาย และ นอนหลับได้ดี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มันกระตุ้นสอง อย่างเช่น กาแฟ ชา หรือแม้กระทั่ง น้ำอัดลม

Last Updated on February 11, 2022