หัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บหน้าอก หน้ามืด อ่อนแรง อาจเสี่ยงโรค

ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ทำให้มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิด แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไรหัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คือ ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปรกติ ซึ่งปกติหัวใจจะมีอัตราการเต้นอยู่ที่ 60 ถึง 100 ครั้งต่อนาที หากหัวใจเต้นเร็วหรือช้ากว่าอัตรานี้ จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และ เกิดอาการผิดปรกติต่างๆ เกิดขึ้นโดยที่การเต้นของหัวใจห้องบนและห้องล่างไม่สัมพันธ์กัน การหยุดเต้นในบางเวลา สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีหลายสาเหตุซึ่งมีปัจัยการเกิดโรคอยู่ 2 สาเหตุ คือ ความผิดปรกติของร่างกายจากสาเหตุต่างๆ และ พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อหัวใจ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีรายละเอียด ตามนี้

  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคจากการเกิดโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์เป็นพิษ  เป็นต้น
  • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มแอมเฟตามีน
  • การชอบดื่มที่มีสารคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ และ น้ำอัดลม เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม

อาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ลักษณะของผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะแสดงอาการ คือ มีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สามารถเกิดภาวะหัวใจวายได้ ซึ่งโรคนี้จำเป็นต้องดูแลร่างกายอย่างใกล้ชิด ซึ่งสำหรับอาการของโรคสามารถสรุปอาการได้ดังนี้

  • อาการหน้ามืด
  • อาการใจสั่น
  • อาการหายใจขัด
  • เป็นลมหมดสติ
  • อาการแน่นหน้าอก

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรค แพทยจะทำการสอบถามอาการ ประวัติผู้ป่วย และ ประวัติการรักษาโรค และ ตรวจหัวใจ โดย การตรวจการเต้นของหัวใจ ฟังเสียงการเต้นของหัวใจ ตรวจขนาดหัวใจ ตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานต่อมไทรอยด์ และ ตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เพื่อดูโครงสร้างหัวใจ

การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

แนวทางการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยารักษาโรค รวมถึงการใช้เครื่องมือรักษาต่างๆ เช่น การกระตุ้นไฟ้า การฝังเครื่องกระตุกหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ วิธีการรักษาโรคต่างๆ มีดังนี้

  • การรักษาด้วยยาจะเป็นยาคลายเครียด เพื่อ ควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือ เป็นยาช่วยกระตุ้นหัวใจ ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของดรค
  • รักษาด้วยการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ( pacemaker ) เป็นเครื่องมือขนาดเล็กโดยจะฝังไว้ใต้ผิวหนังบริเวณกระดูกไหปลาร้า  และ สอดสายนำไฟฟ้าไปยังหัวใจ เพื่อช่วยในการควบคุมและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • การรักษาด้วยการใช้ไฟฟ้าเพื่อปรับการเต้นของหัวใจ ( cardioversion ) ลักษณะเป็นแผ่นแปะที่หน้าอก เพื่อปรับจังหวะการเต้นของหัวใจใหม่ ซึ่งในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณาใช้รักษาสำหรับภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปรกติ
  • การรักษาด้วยการใช้สายสวนเพื่อจี้กล้ามเนื้อหัวใจ ( ablation therapy ) เป็นการสอดสายสวนไปยังตำแหน่งที่แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นสาเหตุของความผิดปกติของหัวใจ และ ปล่อยคลื่นวิทยุความถี่สูง เพื่อทำลายเนื้อเยื่อหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การรักษาด้วยการฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ ( implantable cardioverter defibrillator ) เป็นเครื่องมือกระตุ้นหัวใจ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเครื่องมือจะปล่อยพลังงานไฟฟ้า เพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นปกติทันที กรณีนี้ใช้สำหรับผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ ( ventricular fibrillation )

การป้องกันโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยที่สามารถความคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด และ วิตกกังวล
  • หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ และ หากพบว่ามีอาการใจสั่น เจ็บหน้าอด หม้ามืด เป็นลม ควรรีบพบแพทย์

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นลมหมดสติ สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาและการป้องกันทำอย่างไร

Last Updated on March 18, 2021