ไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว โรคยอดฮิต ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค

โรคไมเกรน อาการปวดหัวข้างเดียว โรคยอดฮิตในกลุ่มคนทำงาน ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน สามารถรักษาได้ด้วยการรัยประทานยา การป้องกันโรคไมเกรนทำอย่างไรโรคไมเกรน ปวดหัวข้างเดียว โรคสมอง โรคไม่ติดต่อ

โรคไมเกรน ( Migraines ) คือ โรคที่แสดอาการปวดหัวอย่างรุนแรง ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกปวดหัวตุบๆ และมักจะปวดหัวแค่ข้างใดข้างหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในขณะที่ปวดหัวอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โรคไมเกรนส่วนมากพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ลักษณะของโรคไมเกรนสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ปวดหัวแบบเห็นแสงวูบวาบ กับ ปวดหัวแบบไม่เห็นแสงวูบวาบ

สาเหตุของโรคไมเกรน

ปัจจุบัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไมเกรน ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนของสมองโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทไตรเจอมินอล trigeminal nerve โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้ระบบประสาทไตรเจอมินอลเปลี่ยนแปลง มีดังนี้

  1. การถูกกระตุ้นเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด และ ความวิตกกังวลมากจนเกินไป มีอาการตกใจ หรือ ช็อก เมื่อเจอสถานการณ์ที่รู้สึกโอเค
  2. การถูกกระตุ้นทางกายภาพ เช่น การนอนหลับไม่เพียงพอ การทำงานไม่เป็นเวลา เมื่อมีอาการเหนื่อยล้า หรือ อ่อนเพลีย ภาวะที่มีเลือดในน้ำตาลน้อย ออกกำลังที่ใช้พลังมากจนเกินไป
  3. การถูกกระตุ้นทางสิ่งแวดล้อม เช่น การรับแสงสว่างจอจอโทรศัพท์หรือจอโทรทัศน์ มากเกินไป การอยู่ในที่ที่มีแสงแดดที่จ้าเกินไป การได้รับเสียงดังรบกวน สภาพอากาศร้อนอบอ้าว เป็นต้น

ระยะของการเกิดโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรน มี 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะก่อนมีอาการ ระยะอาการนำ ระยะปวดศรีษะ และ ระยะหลังมีอาการ รายละเดียดของระยะการเกิดโรค มีดังนี้

  1. ระยะก่อนมีอาการ ( Prodrome ) มีการส่งสัญญาณเตือนการเป็นไมเกรน เช่น กระหายน้ำ ปัสสาวะบ่อย หาวบ่อยกว่าปกติ รู้สึกอยากกินอาหารอยู่ตลอดเวลา มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านของอารมณ์ เข้าสู้ภาวะซึมเศร้า รู้สึกปวดไหล่ มีอาการตึงที่คอ
  2. ระยะอาการนำ ( Aura  ) ระยะนี้จะเกิดอาการเตือนหลายรูปแบบ เช่น การเห็นแสงไปวูบวาบ สายตาพล่ามัว มองเห็นภาพเป็นเส้นคลื่น หรืออาจจะมี การพูดลำบากขึ้น พูดติดๆขัดๆ
  3. ระยะปวดศีรษะ ( Headache ) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวแบบตุบๆ มองเห็นภาพไม่ชัด สายตาพล่ามัว มีอาการอาเจียน เป็นระยะๆ ปวดศีรษะข้างเดียว หน้ามืด หรือ คล้ายๆว่าจะเป็นลม
  4. ระยะหลังมีอาการ ( Postdrome ) ระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิดง่าย มีความรู้สึกที่ไวต่อเสียงและแสง เวียนหัวบ่อย อ่อนแรง มีอาการมึนๆงงๆ

อาการของโรคไมเกรน

สำหรับการแสดงอาการของโรคไมเกรนมี 4 ระยะตามที่กล่าวมาในข้างต้น ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการทั้งหมดของโรคไมเกรนได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหัวตุบๆ เป็นระยะๆและบางครั้งมีอาการปวดแบบตื้อๆ
  • อาการปวดหัวจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น และ อาการจะค่อยๆลดลงเอง
  • อาจมีอาการคลื้นไส้อาเจียนรวมกับอาการปวดหัว
  • การปวดหัวในแต่ละครั้งจะไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งในบางรายจะแสดงอาการอื่นเตือนก่อน เช่น สายตาพล่ามัว มองเห็นแสงแวบวับ เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคไมเกรน

สำหรับโรคไมเกรนมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะใช้วิธีการตรวจเลือด การตรวจบริเวณน้ำไขสันหลัง การใช้เครื่อง CT scan (Computerized Tomography) ที่ให้ความละเอียดมากขึ้นกว่า การเอกซเรย์แบบธรรมดา และ การใช้เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging)เป็นเครื่องตรวจร่างกายโดย การสร้างภาพเหมือนจริงของร่างกาย และ อวัยวะต่างๆ โดยจะอาศัยหลักการคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

การรักษาโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการรักษาโรคไมเกรน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแพทย์จะรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ ซึ่งการรักษาใช้การให้รับประทานยา เพื่อบรรเทาอาการปวดหัว ซึ่งยาสำหรับรับรักษาอาการปวดหัวนั้น ยาบางชนิดอาจจะไม่เหมาะสมกับสตรีมีครรภ์และสตรีที่อยู่ระหว่างให้นมบุตร รวมถึงเด็กด้วย

การป้องกันโรคไมเกรน

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคไมเกรนนั้น เนื่องจากโรคนี้ไม่ทรายสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การทำให้ร่างกายและจิตใจมีความแข็งแรงและผ่อนคลายจากปัจจัยต่างๆ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการเกิดโรค แนวทางการป้องกันโรคไมเกรน มีดังนี้

  • หมั่นทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์และความรู้สึก
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน
  • นอนพักให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หากมีอาการปวดหัวให้ประคบเย็นบริเวณศีรษะเพื่ออาการปวดหัว
  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม

Last Updated on March 18, 2021