โรคหัวใจและหลอดเลือด Cardiovascular disease ความผิดปรกติของอวัยวะหัวใจ และ หลอดเลือด โรคอันตรายเสียชีวิตกระทันหันได้ สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันอย่างไร
โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ | โรคหัวใจขาดเลือด |
เยื่อบุหัวใจอักเสบ | โรคลิ้นหัวใจรั่ว |
โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด | โรคหัวใจรูมาติก |
โรคความดันโลหิตสูง | โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ |
- โรคหัวใจวาย
- โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคโลหิตจาง
หัวใจ ( Heart ) คือ อวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยหน้าที่ของหัวใจ คือ สูบฉีดเลือด เพื่อนำออกซิเจนและธาตุอาหารไปเลืี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ อยู่บริเวณใต้กระดูกหน้าอก ค่อนไปทางซ้าย หัวใจมี 4 ห้อง หัวใจซีกขวาจะทำหน้าที่รับเลือด ที่ใช้แล้ว และ สูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ออกทางด้านซ้าย
หลอดเลือดหัวใจ คือ เส้นเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปส่วนต่างๆของร่างกาย หลอดเลือดหัวใจ อยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ และแยกเส้นเลือดตามกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคหัวใจ ( Heart disease ) คือ ภาวะความผิดปรกติของการทำงานของหัวใจ โรคหัวใจเกิดจากหลายสาเหตุ เป็นความผิดปรกติของหัวใจเอง หรือ ความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary artery disease ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ กล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานผิดปกติ และเกิดอาการต่างๆมาอีกมากมาย ซึ่งหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดหัวใจแตก มักเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับสิ่งที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ มีดังนี้
- ภาวะไขมันในเลือดสูง
- การเกิดโรคเบาหวาน
- ภาวะความดันโลหิตสูง
- การสูบบุหรี่
- โรคอ้วน
- ร่างกายที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พฟติกรรมการกินที่ชอบกินอาหารไขมันสูง และ อาหารหวานจัด
- ภาวะความเครียด
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น นอกจาก การเกิดโรคหัวใจ นั้นเกิดที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ การสะสมของไขมัน พฤติกรรมส่วนตัวทั้งการบริโภคและความเครียด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมากที่สุด
อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจ นั้นจะมีอาการแสดงออกหลักๆ คือ อาการเขียวคล้ำ อาการบวม อาการความดันเลือด ซึ่งรายละเอียดของอาการต่างๆมีดังนี้
- อาการเขียวคล้ำ คือ อาการนี้เกิดจากระดับของเฮโมโกลบินในเลือดมากเกินไป ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อเป็นสีเขียวคล้ำ ซึ่งอาการเขียวคล้ำ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ อาการเขียวค้ำส่วนกลาง และ อาการเขียวคล้ำส่วนปลาย
- อาการบวม คือ อาการนี้เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ มักพบในบริเวณ เท้า ก้นกบ เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนี้อ่อน
- อาการความดันเลือด คือ อาการสูบฉีดเลือดของหัวใจผิดปรกติ ส่งผลให้เกิดความดันเลือดสูง หรือ ความดันเลือดต่ำ
- เหนื่อยง่าย
- เจ็บแน่นหน้าอก
การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
สำหรับแนวทางการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และ การผ่อนคลายความเครียด และ รักษาอาการเพื่อลดความเสี่ของการเกิดโรค เช่น การให้กินยาขยายหลอดเลือดหัวใจ การให้กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด การให้กินยาลดไขมันในเลือด ในกรณีที่หนักๆต้องเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
- ปรับพฤติกรรมการกิน โดยให้จำกัดการกินอาหารไขมันสูง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้สูงเกินเกินปรกติ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
- ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียด
การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จำกัดการกินอาหารที่มีไขมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด
โรคหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular disease ) คือ ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ความดันโลหิต และ หลอดเลือด สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด อาการของโรค การรักษาโรค และการป้องกันโรค
Last Updated on October 22, 2024