เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดกล้ามเนื้อ

อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

Last Updated on March 18, 2021