ถุงลมโป่งพอง ภาวะเสี่ยงของคนสูบบุหรี่ อาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่มีแรง ไอเรื้อรัง หายใจเป็นเสียงหวีด แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร การป้องกันโรคมีอะไรบ้าง
โรคถุงลมโป่งพอง ( Emphysema ) คือ โรคระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการอุดกั้นที่ปอดแบบเรื้อรัง โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ เป็นโรคยอดฮิด ติดอันดับโรคที่ทำทีคนเสียชีวิตมากที่สุดสิบอันดับแรก และ เกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
สาเหตุของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง
โรคถุงลมโป่งพอง ส่วนมากเกิดในกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ แต่ในทางการแพทย์ก็ยังไม่ทราบสรุปสาเหตุของการเกิดโรคที่แท้จริงว่ามาจากการสูบบุหรี่ แต่จากการศึกษาสถิติของผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยที่สูบบุหรึ่มากกว่าผู้ไม่สูบถึง 6 เท่า ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังนี้
- การสูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานาน และ สูบในปริมาณที่มาก
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งพบว่ามาเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin ที่ทำหน้าป้องการถูกทำลายเนื้อเยื่อ มีไม่เพียงพอในร่างกาย
- การได้รับสารพิษทางอากาศ ซึ่งเกิดจากสภาพแวดล้อม เช่น เหมืองถ่านหิน โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
กลไกการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง
เมื่อควันบุหรี่หรือมลภาวะต่างๆเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการอักเสบ ทำให้การทำงานของเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin ลดลงหรือไม่ทำงาน เมื่อเอนไซม์ป้องการทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันไม่ทำงานผนังกั้นถุงลมเล็กๆจึงถูกทำลายถุงลมจึงมีลักษณะรวมกันเป็นถุงลมใหญ่เดียว การแลกเปลี่ยนก๊าซทำได้น้อยลงเนื่องจากจำนวนถุงลมลดลง เกิดการคลั่งของก๊าซ ปริมาณออกซิเจนในปอดลดลง จึงทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจเร็วขึ้นมากขึ้นเพื่อให้ได้ออกซิเจนตามที่ร่างกายต้องการ เมื่อร่างกายมีออกซิเจนต่ำจะเหนื่อยง่าย หลอดเลือดบริเวณผนังถุงลมถูกทำลายด้วยทำให้หายใจลำบากมากยิ่งขึ้น
อาการโรคถุงลมโป่งพอง
สำหรับอาการจของโรคถุงลมโป่งพอง จะแสดงอาการอย่างชัดเจนที่ระบบทางเดินหายใจ แต่ก็มีทีี่ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการ ซึ่งสำหรับการสังเกตุอาการของโรคถุงลมโป่งพอง สามารถสังเกตุอาการต่างๆ ได้ดังนี้
- มีอาการไอ และ มีเสมหะ
- อาการเหนื่อล้า และ ไม่มีแรง มีอาการเหนื่อยแบบเฉียบพลัน กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- เจ็บบริเวณหน้าอก เสียงหายใจดังวี๊ด บางรายอาจพบว่ามีริมฝีปากหรือเล็บเป็นสีคล้ำออกม่วงเทาหรือฟ้าเข้มเนื่องจากขาดออกซิเจน
- การหายใจเร็วผิดปกติ
- ความดันโลหิตสูง
- ตับโต มีอาการท้องมาน แขนขาบวม
- น้ำหนักตัวลดลง
การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง
แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติทางการแพทย์ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ รวมถึงสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย จากนั้นจะมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น X-ray ปอด ตรวจสมรรถภาพปอด ( Spirometry ) และ ตรวจหาเอนไซม์ Alpha-one antitrypsin
การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง
แนวทางการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แนวทางการรักษาจะเน้นเรื่องการรักษาตามอาการ และ ชะลออาการโรค ปรับพฤติกรรมของผู้ป่วย แนวทางการรักษาโรค มีดังนี้
- ให้รหยุดการบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดมลพิษ
- การรับประทานยารักษาอาการต่างๆ เช่น ยาลดการอักเสบ ยาลดความดันโลหิต ยาปฏิชีวนะตามเชื้อที่ได้รับ
- ผ่าตัดถุงลมที่โป่งพองออก เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น รวมถึงฟื้นฟูสมรรถภาพการหายใจ
- รับประทานอาหารให้เพียงพอ
- ในกรณีที่มีอาการรุนแรงต้องผ่าตัดเปลี่ยนปอด
การป้องกันโรคถุงลมโป่งพอง
สำหรับแนวทางการป้องกันโรค ต้องหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สูดดมมลพิษต่างๆเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้
- เลิกสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มลพิษต่างๆ หากจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยป้องกันมลพิษเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
โรคถุงลมโป่งพอง คนสูบบุหรี่มีโอกาสเกิดโรคนี้ ลักษณะอาการโรคนี้ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่มีแรง ไอเรื้อรัง หายใจเป็นเสียงหวีด แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ การป้องกันโรคมีอะไรบ้าง
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้
Last Updated on November 7, 2024