สมองฝ่อ เนื้อสมองลดลง ความจำลดลง หลงๆลืมๆ รักษาอย่างไร

สมองฝ่อ Brain atrophy เนื้อสมองเสื่อม ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย หลงลืมบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม พฤติกรรมเปลี่ยนไปโรคสมองฝ่อ โรคสมอง การรักษาสมองฝ่อ ความจำเสื่อม

สมอง เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นศูนย์กลางการควบคุมอวัยวะ ความรู้สึก การทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย หากเกิดความเสียหายจะทำให้เกิดความผิดปกติต่างๆในร่างกายที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน พัฒนาการของสมอง เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 25 ปี วัยเด็กจึงเป็นวัยที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้เร็วที่สุด สมองจะค่อยๆเติบโตไปเรื่อยๆจนอายุ 25 ปี จึงจะหยุดการเจริญเติบโต จากนั้นเซลล์สมองจะค่อยๆฝ่อและลีบไปตามอายุ ซึ่งอายุ 75 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่เซลล์สมองเริ่มเสื่อมมากที่สุด

โรคสมองฝ่อ ทางการแพทย์ เรียก Brain atrophy เป็นภาวะความเสื่อมจองเนื้อสมอง จากหลายสาเหตุ เช่น ความเสื่อมตามอายุ อุบัตติเหตุที่สมอง หรือ ภาวะการเกิดโรคต่างๆที่ส่งผลต่อสมอง

สาเหตุของการเกิดโรคสมองฝ่อ

สำหรับ สาเหตุหลักของการเสื่อมของเซลล์สมอง คือ เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน เช่น การนอน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ความเครียด แต่สาเหตุรองลงมา คือ ภาวะความเสื่อมของเนื้อสมองตามวัย การเกิดอุบัตติเหตุที่สมอง และ ภาวะการเกิดโรคอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อสมอง ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อภาวะสมองฝ่อ มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกินอาหาร ซึ่งการไม่กินอาหารเช้า ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลต่อภาวะสมองขาดสารอาหาร ทำให้สมองเสื่อมได้
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ สมองมีน้ำมากถึงร้อยละ 85 ภาวะร่างกายขาดน้ำ ส่งผลต่อเซลล์สมองง่ายขึ้น
  • การสะสมแป้งและน้ำตาลในร่างกายมากเกินไป แป้งและน้ำตาลทำให้ความสามารถการดูดซึมโปรตีนที่เป็นสารอาหารสำคัญสำหรับบำรุงสมองลดลง การขาดโปรตีนส่งผลต่อสมอง
  • การเสพสารเสพติต รวมถึงการสูบบุหรี่ และ การดื่่มสุรา
  • ภาวะความเครียด เมื่อร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ส่งผลร้ายต่อร่างกายและสมองโดยตรง

อาการป่วยโรคสมองฝ่อ 

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคสมองฝ่อ จะไม่แสดงอาการผิดปรกติให้พบเห็น ไม่มีอาการเจ็บป่วย การสังเกตุอาการและการวินิจฉัยโรคด้วยตาเปล่าทำได้ยาก ซึ่งอาการต่างๆสามารถสังเกตุได้ ดังนี้

  • มีอาการหลงลืมบ่อย
  • ความจำลดลง ความจำไม่ค่อยดี
  • ความสามารถในการคิดซับซ้อนลดลง
  • มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  • มักทำอะไรซ้ำๆ ย่างไม่มีเหตุผล

การตรวจโรคสมองฝ่อ 

แนวทางการวินิจฉัยโรคสมองฝ่อ แพทย์จะสังเกตุและตรวจประวัติต่างๆ เช่น ประวัติการเกิดอุบัติเหตุ ความเครียดจาการทำงานต่างๆ จากนั้นทำการตรวจวินิฉัยด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอ็มอาร์ไอ

การรักษาโรคสมองฝ่อ

สำหรับการรักษาภาวะสมองฝ่อ ไม่มียารักษาให้เนื้อสมองเพิ่มขึ้นได้ การรักษาใช้การรักษาประคับประครองตามอาการ และ รักษาสาเหตุของการเกิดสมองฝ่อ เพื่อชะลอความเสื่อมของเนื้อสมอง สำหรับวิธีการชะลอความเสื่อมที่เป็นที่ยอมรับ คือ การดูแลสุขภาพ ด้วยอาหารที่ดี อากาศที่ดี การขับถ่ายที่ดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และ ปรับสภาพจิตใจให้ปลอดจากความเครียด

การป้องกันโรคสมองฝ่อ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะสมองฝ่อ สามารถป้องกันได้ในส่วนของปัจจัยการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคสมองฝ่อ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ทำกิจกรรมพัฒนาสมอง ฝึกคิดบ่อยๆ เช่น ฝึกคิด การเล่นหมากรุก ฝึกคิดเลข เป็นต้น
  • งดการเสพสารเสพติด งดดื่มสุรา และ งดการสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆในชีวิตประจำวัน

โรคสมองฝ่อ ( Brain atrophy ) ความเสื่อมของเนื้อสมอง ส่งผลต่อความจำ ภาวะเสี่ยงของผู้สูงวัย พบมากในกลุ่มคนอายุ 75 ปีขึ้นลืมสิ่งต่างๆบ่อย ช่วยเหลือตัวเองได้ลดลง ความจำเสื่อม หลงลืม พฤติกรรมเปลี่ยนไป

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Last Updated on November 7, 2024