กานพลู สมุนไพร มีกลิ่นหอม ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

กานพลู สมุนไพร สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นกานพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของกานพลูมีอะไรบ้างกานพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกานพลู ( Clove ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry กานพลู คือ พืชตระกลูชมพู่ เป็นไม้ยืนต้น สรรพคุณหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แหล่งปลูกและส่งออกกานพลู คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประเทศศรีลังกา เป็นต้น

ลักษณะของต้นกานพลู

สำหรับ ต้นกานพลู จัดเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศแถบเอเชียกลาง ดอกกานพลูตากแห้ง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะบำรุงเหงือกและฟัน ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร ลักษณะของต้นกานพลูเป็นพุ่มทรงกรวยคว่ำ เปลือกลำต้นเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน เปลือกกานพลูมีต่อมน้ำมัน
  • ใบกานพลู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีความมันวาว
  • ดอกกานพลู ลักษณะเป็นช่อดอก โดยดอกกานพลูแทงออกจากปลายยอด และ ง่ามใบ ดอกกานพลูแตกแขนงเป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีต่อมน้ำมัน
  • ผลกานพลู พัฒนามาจากดอกกานพลู เป็นผลเดี่ยว ในผลกานพลูมีเมล็ด เป็นทรงไข่ ผลแก่กานพลูมีสีแดงเข้ม

กานพลูในประเทศไทย

สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทย มีน้อยมาก ความต้องการใช้กานพลูนั้นนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก ปริมาณการนำเข้ากานพลูมากกว่า 100 ตันต่อปี ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

สำหรัยการพลูด้านการรักษาโรค ตำรายาสมุนไพรของไทย เลือกใช้ดอกกานพลูแห้ง ในการนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน หรือ นำดอกกานพลูแห้งมาชงน้ำเพื่อดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม นอกจากนั้น นำกานพลูผสมน้ำใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

น้ำมันกานพลู คือ น้ำมันที่สกัดได้จากกานพลู ซึ่งมีสรรพคุณในาการยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ซึ่งในน้ำมันกานพลู มี สารeugenol มีสรรพคุณป้องการการเกิดโรคโลหิตจาง ฆ่าเชื้อรา มีฤทธิ์เร่งการขับน้ำดี นำมันกานพลู นำมาเป็นส่วนผสมของอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นำไปผสมน้ำยาบ้วนปาก นำมาใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง นำมาแต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ทำสบู่ และ ทำยาสีฟัน

สำหรับสารเคมีต่างในกานพลู พบว่ามีหลากหลาย และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่ง สามารถสรุป สารเคมีต่างๆในกานพลูส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ใบกานพลู มี Eugenol 94.4 % และ β-caryophyllene 2.9 %
  • ดอกการพลู มี Eugenol 72-90 % Eugenyl acetate 2-2.7 %  β-caryophyllene 5-12 %  และ trans-β-caryophyllene 6.3-12.7 %

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ดอกกานพลู เปลือกลำต้นกานพลู ใบกานพลู และ น้ำมันกานพลู โดย สรรคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกกานพลู สามารถใช้รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาหู บรรเทาอาการไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย รักษาโรคหืด ขับเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน และ ช่วยดับกลิ่นปาก
  • เปลือกต้นกานพลู สามารถแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกานพลู สามารถช่วยรักษาอาการปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สามารถช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ นั้นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ห้ามใช้กานพลู เพราะ กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สาร eugenol ที่พบในดอกการพลู ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันกานพลู หากนำมาใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ นำมาบ้วนปากเพื่อระงับกลิ่นปากโดยตรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

กานพลู สมุนไพรกลิ่นหอม สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลักษณะของต้นกานพลู คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู มีอะไรบ้าง โทษของกานพลู เป็นอย่างไร ต้นกานพลู

Last Updated on March 18, 2021