ทุเรียนเทศ ผลไม้รสหวาน สรรพคุณหลากหลาย รักษาโรคได้

ทุเรียนเทศ ( Soursop ) สมุนไพร ต้นทุเรียนเทศเป็นอย่างไร สรรพคุณของทุเรียนเทศ เช่น บำรุงประสาท ลดการติดเชื้อ ลดความเครียด ช่วยให้หลับสบาย โทษเป็นอย่างไร

ทุเรียนเทศ สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Soursop ชื่อวิทยาศาสตร์ของทุเรียนเทศ คือ Annona muricata L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทุเรียนเทศ เช่น มะทุเรียน หมากเขียบหลด ทุเรียนแขก ทุเรียนน้ำ เป็นต้น ทุเรียนเทศแตกต่างจากทุเรียนทั่วไป ผลของทุเรียนเทศคล้ายผลทุเรียน คือ มีหนามแหลม เปลือกมีสีเขียวอ่อน แต่เนื้อในของทุเรียนเทศจะเป็นสีขาว ภายในผลค่อนข้างฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว พบปลูกทุเรียนเทศมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอเมริกากลาง มีการนำทุเรียนเทศมาแปรรูปจำหหน่าย เป็นน้ำทุเรียนเทศบรรจุกล่อง และ ส่งออกไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร

ประโยชน์ของทุเรียนเทศ

ทุเรียนเทศสามารถนำมารับประทานผลเป็นผลไม้สดได้ รวมถึึงผลทุเรียนเทศสามารถนำมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆ เช่น ผลไม้กวน เยลลี่ ไอศกรีมและซอส ผลทุเรียนเทศมีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโทส วิตามินซี และวิตามินบี ส่วนเมล็ดของทุเรียนเทศ สามารถใช้ทำยาเบื่อปลาหรือยาฆ่าแมลงได้  สมัยโบราณนิยมนำผลอ่อนของทุเรียนเทศไปแกงส้ม หรือ นำไปเชื่อมเป็นผลไม้เชื่อม

ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ

ต้นทุเรียนเทศ เป็นในตระกูลเดียวกันกับน้อยหน่า จัดเป็นไม้ยืนต้น สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • ลำต้นทุเรียนเทศ ความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนจะมีขน
  • ใบทุเรียนเทศ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ใบค่อนข้างหนา รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบสีเขียว ลักษณะเป็นมัน ใบมีกลุ่นฉุน
  • ดอกทุเรียนเทศ ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตาทซอกใบ ดอกสีเหลืองแกมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม กลีบดอกอวบหนา
  • ผลทุเรียนเทศ ลักษณะผลเป็นรูปไข่ เปลือกหนาและเหนียว มีหนามสั้นๆอยู่ทั่วผล ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง ภายในผลมีเนื้อฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาลดำ

คุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนเทศ

สำหรับการรับประทานทุเรียนเทศเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลทุรียนเทศเป็นอาหาร ซึ่งนัดโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลทุเรียนเทศดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 66 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 16.84 กรัม น้ำตาล 13.54 กรัม กากใยอาหาร 3.3 กรัม ไขมัน 0.30 กรัม โปรตีน 1 กรัม วิตามินบี1 0.070 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.050 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.900 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.059 มิลลิกรัม วิตามินบี9 14 ไมโครกรัม วิตามินซี 20.6 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 278 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของทุเรียนเทศ 

สำหรับทุเรียนเทศ นอกจากจะนิยมบริโภคเป็นน้ำผลไม้บำรุงร่างกายแล้ว ยังสามารถนำมาทำสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้ โดยสรรพคุณของทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • สรรพคุณต่อต้านไวรัสและเซลล์มะเร็ง ลดการติดเชื้อ
  • น้ำทุเรียนเทศช่วยเพิ่มน้ำนมสำหรับหญิงที่กำลังให้นมบุตร
  • ออกฤทธิ์คล้ายยาระงับประสาท ช่วยลดความวิตกกังวล ช่วยผ่อนคลายการทำงานของสมอง ทำให้นอนหลับสบาย
  • ช่วยลดอาการเจ็บปวดและลดการเกร็ง
  • ช่วยแก้อาการเมา
  • รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เมื่อป่วยเป็นโรคบิด ถ่ายไม่หยุด การรับประทานผลสุก จะช่วยลดอาการเหล่านี้ให้หายไป
  • ใช้เพื่อสมานแผลและห้ามเลือด
  • ลดไข้ โดยใช้ส่วนใบ มารองที่นอน เมื่อตื่นมาจะพบว่า อาการไข้ลดลง
  • แก้อาการท้องอืด ใช้ส่วนใบขยี้ผสมกับปูนแล้วนำมาทาบริเวณท้อง
  • รักษาโรคผิวหนัง โดยใช้ส่วนใบ มาขยี้ทาตามผิวหนัง
  • แก้อาการไอ
  • อาการปวดตามข้อ ใช้ส่วนของ เปลือก ราก และดอก
  • ขับพยาธิ โดยใช้น้ำที่สกัดได้จากส่วนเนื้อ

โทษของทุเรียนเทศ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศด้านการรักษาโรค ต้องใช้งานอย่างถูกต้องและได้รับการชี้แนะจากผู้เชี่ยวชาญมีความรู้ ซึ่งข้อควรระวังการใช้ประโยชน์จากทุเรียนเทศ มีดังนี้

  • เมล็ดและเปลือกของทุเรียนเทศ มีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษต่อร่างกาย ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจจะเป็นพิษต่อร่างกาย
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทานทุเรียนเทศ
  • ใบทุเรียนเทศมีสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่รับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดไม่ควรรับประทานใบทุเรีบนเทศ
  • เมล็ดทุเรียนเทศมีพิษ ใช้ทำยาเบื่อปลาและเป็นยาฆ่าแมลง ไม่ควรรับประทานเมล็ดทุเรียนเทศ

Last Updated on March 18, 2021