โสม สมุนไพรบำรุงกำลัง ทำความรู้จักโสมว่าเป็นอย่างไร

โสม ( Ginseng ) สมุนไพรบำรุงกำลัง ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ลักษณะของต้นโสมเป็นอย่างไร ชนิดของโสม โสมใช้รักษาโรคอย่างไร โทษของโสมมีอะไรบ้าง
โสม สมุนไพร สมุนไพรไทย สรรพคุณโสม
โสม ( Ginseng ) สมุนไพรโบราณ มีการบันทึกในตำราแพทย์แผนจีนว่ามีการใช้โสมในรักษาโรค รากโสมจะมีรูปร่างกคล้ายคน ซึ่งโสมมีลายสายพันธ์ เช่น โสมจีน โสมเกาหลี โสมอเมริกา โสมมีสรรพคุณทางยาเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย นิยมนำรากมาใช้ในการรักษาโรค เพราะเชื่อว่ารากโสมเป็นแหล่งสะสมของตัวยามากมาย

ต้นโสม ภาษาอังกฤษ เรียก Ginseng ชื่อวิทยาศาสตร์ของโสม คือ Panax ginseng C.A.Mey.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของโสม เช่น เหยินเซิน หยิ่งเซียม โสมจีน โสมเกาหลี เป็นต้น โสมเป็นพืชล้มลุกที่ปลูกยาก ซึ่งการเพาะปลูกโสมต้องอยู่ในสภาพอากาศเย็นที่สม่ำเสมอ ห่างไกลจากทะเล ดินและน้ำต้องสะอาด โสมในทางฝั่งประเทศเอเชีย สามารถเพาะปลูกได้ที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และประเทศเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ส่วนทางอเมริการ สามารถปลูกได้ที่วิสคอนซิน หรือ แคนาดา

โสมในปัจจุบันใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆมากมาย เช่น โสมสกัด โสมเม็ด โสมผง หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและอาหารเสริมต่างๆ

ชนิดของโสม

โสมสามารถใช้ประโยชน์ทางยาและบำรุงร่างกายจากรากของโสม ซึ่งรากอยู่ใต้ดิน ซึ่งสามารถขุดรากที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปมาใช้ โดยโสมอายุ 6 ปี จะเป็นโสมที่มีตัวยาสำคัญมากที่สุด การแบ่งชนิดของโสม สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ประกอบด้วย โสมขาวและโสมแดง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โสมขาว คือ โสมแบบสดที่ขุดขึ้นมาจากดินแล้วล้างให้สะอาด ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทันทีหรือจะนำไปตากแห้ง เพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ใช้ได้นานขึ้น
  • โสมแดง คือ โสมแบบสดๆที่ผ่านวิธีการอบ ทำให้แห้งโดยทำให้รากโสมเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง ทีมีความชื้นเล็กน้อย โสมแดงถือเป็นโสมที่มีคุณค่าทางยามากที่สุดและราคาแพง

ลักษณะของต้นโสม

ต้นโสม เป็น สมุนไพรประเภทไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นอวบน้ำ พืชที่มีอายุยาวนานหลายสิบปี การผ่านฤดูหนาวในแต่ละปี ทำให้โสมต้องเก็บสะสมอาหารไว้ในรากและลำต้น ทำให้รากมีการแยกออกเป็นง่ามเห็นได้ชัดเจน มีการพองตัวสะสมอาหารทำให้รากมีการบวม นิยมใช้รากที่มีอายุ 4-6 ปี มาเป็นยาสมุนไพรโดยรากสามารถมีความยาวได้มากถึง 20 เซนติเมตร รากโสมที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายคน ที่เรียกว่าโสมคน หาได้ยากมากมีราคาสูงมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการเจริญเติบโตของโสมเป็นไปอ่างช้าๆ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดต้องใช้เวลานานและโสมมีความอ่อนไหว ต่อสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น โสมเกาหลีที่ปลูกได้เฉพาะที่ประเทศเกาหลี จึงมีราคาแพง

เภสัชวิทยาของโสม

นักเภสัชศาสตร์ ได้ศึกษา รากของโสม ซึ่งเป็น สมุนไพร ที่มีตัวยาที่มีฤทธิ์เป็นประโยชน์ต่อร่างกายต่างๆมากมาย จากการวิเคราห์ทางเคมีพบสารต่างๆ ดังนี้

  • สารGinsenoside เป็นสารสำคัญในโสม มีคุณสมบัติยาบำรุงร่างกาย
  • สารsapouins มีฤทธิ์ในการลดระดับไขมันในเลือด สามารถเพิ่มเกล็ดเลือด และป้องกันเส้นเลือดตีบได้ดี
  • สารInsamasanna-eum ใช้ในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ลดไขมันในเลือด ช่วยเรื่องการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้น
  • สารsteroidal saponin ทำหน้าที่จับกับน้ำตาลในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • สารอื่นๆ พวกไขมันและสารต่างๆที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น essential oil, trisaccharides peptidoglycan, nucleosides, Panaxatriol, Panaxadiol, Ginsenoside Rg1, Panacen, Panasenoside, Panaxynol, Trifolin เป็นต้น

สรรพคุณของโสม

การใช้ประโยชน์จากโสมใช้รากโสม ซึ่งโสมมีสรรพคุณต่างๆมากมาย ทั้งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยสรรพคุณของโสม มีดังนี้

สรรพคุณของโสมด้านการบำรุงร่างกาย

  • สารรสขมในรากโสม มีสรรพคุณบำรุงร่างกายโดยรวม บำรุงอวัยวะภายใน ได้แก่ ปอด ม้าม กระเพาะอาหาร
  • สรรพคุณการปรับสมดุลต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญของร่างกาย
  • สรรพคุณบำรุงหัวใจ โดยมีสาร digoxin ทำให้การไหลเวียนของไหลจากหัวใจได้ดี ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • สรรพคุณกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ในผู้ป่วยโรคโลหิตจาง
  • สรรพคุณบำรุงตับ ทำให้สามารถต้านสารพิษต่างๆ ที่มีผผลต่อตับได้ดี
  • บำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ลดอาการเหี่ยวย่นผิวแห้งได้ดี
  • เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ให้สู้ต่อเชื้อโรคต่างๆได้ดี
  • สรรพคุณบำรุงครรภ์ ช่วยให้แม่และเด็กสมบูรณ์แข็งแรง

สรรพคุณของโสมด้านการรักษาโรค

  • สรรพคุณรักษาอาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหารมากขึ้น ในผู้ที่ร่างกายซูบผอม
  • รักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • รักษาโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี
  • รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ลดการเกาะของไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคคววามดันโลหิตสูง
  • รักษาโรคนกเขาไม่ขัน โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • รักษาโรคเครียด โรควิตกกังวลนอนไม่หลับ
  • รักษาอาการกระหายน้ำ เหงื่อนออกมาก ช่วยป้องกันภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • รักษาอาการอ่อนเพลีย ร่างกายไม่มีแรง
  • สรรพคุณป้องกันโรคมะเร็งต่างๆ

โทษของโสม

การรับประทานโสม เพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ เช่น อาการนอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูง อารมณ์แปรปรวน เป็นต้น ซึ่งข้อควรระวังในการรับประทานโสม มีรายละเอีนงดังนี้

  • ไม่ควรให้ทารกและเด็กเล็กรับประทานโสม เพราะ ค่อนข้างไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
    ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิต้านทานตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคเอสแอลอี โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เพราะการรับประทานโสมอาจส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานร่างกาย และอาจทำให้อาการต่าง ๆ แย่ลง
  • การรับประทานโสมอาจทำให้เลือดหยุดไหลช้าลง สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติไม่ควรรับประทานโสม
  • โสมทำให้ภาวะการกระตุ้นการทำงานของหัวใจมากขึ้น สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ควรระมัดระวังการรับประทานโสม
  • การรับประทานโสมทำให้กระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ให้ร่างกายนอนไม่หลับ สำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับ ควรระมัดระวังการรับประทานโสม
  • ผู้ป่วนโรคซึมเศร้า ไม่ควรรับประทานโสมร่วมกับยารักษาอาการซึมเศร้า เพรา อาจเป็นการกระตุ้นการทำงานของร่างกายมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่ผ่อนคลาย

Last Updated on April 19, 2023