ผักกระเฉด นิยมนำยอดอ่อนมาทำอาหารรับประทาน ลักษณะของผักกระเฉดเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักกระเฉด เช่น บำรุงสายตาย ขับเสมหะ ขับลม เป็นต้น โทษของผักกระเฉด มีอะไรบ้าง
ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักกระเฉด คือ Neptunia oleracea Lour. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักกระเฉด เช่น ผักกระเฉดน้ำ ผักรู้นอน ผักหนอง ผักหละหนอง ผักฉีด เป็นต้น กระเฉด เป็นพืชน้ำ อายุยืน นิยมนำยอดอ่อนมาทำอาหาร หรือ กินเป็น ผักสด หลากหลายเมนู เช่น ผัดผักกระเฉด ยำผักกระเฉด แกงส้ม ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด เป็นต้น
ผักกระเฉดในประเทศไทย
ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่ และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่
ลักษณะของผักกระเฉด
ผักกระเฉด เป็นพืชล้มลุก พืชน้ำ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำขัง ผักกระเฉดไม่สามารถปลูกในดินที่ไม่มีน้ำขังได้ ผักกระเฉด ไวต่อแสง จะแทงยอดมากในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ลักษณะของผักกระเฉด มีดังนี้
- ลำต้นของผักกระเฉด ลักษณะลำต้นเลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นกลม เป็นปล้อง สีเขียว ภายในลำตันไม่เป็นรูกลวง มีนวมสีขาวหุ้มลำต้นให้ลอยน้ำ นวมสีขาว เรียก นม
- รากของผักกระเฉด เป็นรากฝอยออกรากตามปล้องของลำต้น
- ใบผักกระเฉด ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามปลายยอดของผักกระเฉด ใบจะรีเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวใบอ่อนมีสีเขียว
- ดอกผักกระเฉด ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง คล้ายดอกกระถิน ดอกออกตามปลายยอดของผักกระเฉด
- ผลของผักกระเฉด ลักษณะเป็นฝัก ขนาดเล็ก ฝักแบนยาว ภายในฝักมีเมล็ด
คุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด
สำหรับการนำผักกระเฉดมาใช้ประโยชน์นั้น จะนำมารับประทานยอดอ่อน ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 29 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.4 กรัม ไขมัน 0.4 กรัม แคลเซียม 387 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7.0 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5.3 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 3,710 ไมโครกรัม ไทอะมีน 0.12 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.12 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซีน 3.2 มิลลิกรัม วิตามินซี 22 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม
สรรพคุณของผักกระเฉด
สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักกระเฉดด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมการรับประทานทั้งต้น และ ยอดอ่อน โดยสรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้
- ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ ช่วยดับพิษ ช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา ลดอาการปวดร้อน ลดไข้ ช่วยขับเสมหะ
- บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
- บำรุงาสายตา ผักกระเฉดมีวิตามินเอสูง
- ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ช่วยบำรุงเลือด ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
โทษของผักกระเฉด
สำหรับการรับประทานผักกระเฉด มีคำแนะนำ ในการรับประทานผักกระเฉด ดังนี้
- การนำผักกระเฉดมาทำอาหาร ควรทำให้สุกก่อน เพื่อ ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิ
- ผักกระเฉดก่อนนำมาทำอาหาร ให้ล้างให้สะอาด เพื่อป้องกันพยาธิ และ ยาฆ่าแมลง
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้
Last Updated on November 7, 2024