สับปะรด ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ สมุนไพรสารพัดประโยชน์

สับปะรด ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ลักษณะของต้นสับปะรด สรรพคุณของสับปะรด เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่ว รักษาแผลหนอง ลดการอักเสบ โทษของสับปะรดสับปะรด สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของสับปะรด

ต้นสับปะรด ภาษาอังกฤษ เรียก Pineapple ชื่อวิทยาศาสตร์ของสับปะรด คือ Ananas comosus (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของสับปะรด เรียก มะนัด มะขะนัด บ่อนัด บักนัด ย่านัด ขนุนทอง เป็นต้น สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพมีประโยชน์หลากหลาย เนื่องจากมีแร่ธาตุที่สำคัญหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี กรดโฟลิก ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี เป็นต้น

ต้นสับปะรด เป็นพืชในเขตร้อน โดยแหล่งกำเนิดของสับปะรดมาจากทวีปอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยมีการปลูกสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจ จำหน่ายผลเป็นอาหาร โดยแหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี อุตรดิตถ์ ลำปาง พิษณุโลก เป็นต้น

สับปะรดในประเทศไทย

ผลสับปะรด มีรสชาติิอร่อย นิยมรับประทานเป็นของว่าง ซึ่งสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย เป็นพืชที่นิยมบรรจุกระป๋อง แหล่งปลูกสับปะรดที่สำคัญของประเทศไทย เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ตราด ภูเก็ต พังงา ชุมพร และ จังหวัดริมแม่น้ำโขง ซึ่งสายพันธ์สับปะรดที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 5 สายพันธ์ คือ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย สับปะรดพันธุ์อินทรชิต สับปะรดพันธุ์ขาว สับปะรดพันธุ์ภูเก็ตและ สับปะรดพันธุ์น้ำผึ้ง

ลักษณะของต้นสับปะรด

ต้นสับปะรด เป็นพืชล้มลุกใบเลี้ยงเดี่ยว ทนสภาพอากาศร้อนและความแห้งแล้งได้ดี ซึ่งการขยายพันธ์สับปะรด สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของสับปะรด มีดังนี้

  • ลำต้นสับปะรด จะอยู่ใต้ดิน ไม่แตกกิ่งก้าน มีแต่กาบใบห่อหุ้มลำต้น
  • ใบของสับปะรด เป็นใบเดี่ยว ไม่มีก้านใบ โคนใบเป็นกาบหุ้มที่ลำต้น ปลายของใบแหลมและขอบใบมีหนาม
  • ผลของสับปะรด ลักษณะกลมรี ภายในมีน้ำฉ่ำ รสชาติแล้วแต่พันธุ์ เช่น รสหวานอมเปรี้ยว รสเปรี้ยว รสหวาน
  • ดอกสับปะรด ลักษณะดอกสับปะรดเป็นช่อ จะแทงออกมาจากกลางลำต้น และมีดอกย่อยจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด

สำหรับการบริโภคสับปะรดเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลสุกของสับปะรด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของสับปะรด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 50 กิโลแคลอรี และมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 13.12 กรัม น้ำตาล 9.85 กรัม กากใยอาหาร 1.4 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 0.54 กรัม วิตามินบี1 0.079 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.032 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.5 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.213 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.112 มิลลิกรัม วิตามินบี9 18 ไมโครกรัม โคลีน 5.5 มิลลิกรัม วิตามินซี 47.8 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.29 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.927 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 109 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และธาตุสังกะสี 0.12 มิลลิกรัม

สรรพคุณของสับปะรด

การใช้สับประรดในด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จากทุกส่วนของสับปะรด ตั้งแต่ ราก ใบ และ ผล สรรพคุณของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลสับปะรด(สุก) สรรพคุณช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย แก้กระหาย แก้ท้องผูก ช่วยย่อยอาหา ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับนิ่ว บำรุงไต ช่วยรักษาแผลเป็นหนอง แก้ส้นเท้าแตก ช่วยลดการอักเสบ ช่วยรักษาไตอักเสบ รักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยรักษาหวัด ช่วยบำรุงเลือด ช่วยให้การไหลเวียนเลือดได้ดี บำรุงเหงือก ช่วยให้สุขภาพช่องปากแข็งแรง รักษาโรคหลอดลมอักเสบ แก้ปวดท้อง รักษาโรคบิด ช่วยลดอาการบวมน้ำ  ช่วยโรคผิวหนัง
  • ผลสับปะรด(ดิบ) สรรพคุณช่วยห้ามเลือด ช่วยขับประจำเดือน
  • ใบสับปะรด สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ
  • รากสับปะรด สรรพคุณบำรุงไต แก้กระษัย
  • หนามของสับปะรด สรรพคุณช่วยแก้พิษฝี

โทษของสับประรด

การรับประทานสับปะรเ มีทั้งประโยชน์และโทษ ต้องรับประทานอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสมจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด โทษของสับปะรด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การรับประทานผลสับปะรดดิบ ทำให้ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีมีครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลสับปะรดดิบ
  • ผลสับปะรด มีความเป็นกรดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร แต่อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปาก ริมฝีปาก และ ลิ้นได้
  • สับปะรดมีความเป็นกรด และ มีเอนไซม์บรอมมีเลน ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารได้ จึงไม่ควรรับประทานสับปะรดในเวลาท้องว่าง

Last Updated on March 18, 2021