อ้อย พืชรสหวาน สมุนไพร สรรพคุณและโทษ มีอะไรบ้าง

อ้อย พืชเศรษฐกิจ ให้ความหวาน สมุนไพร ต้นอ้อยเป็นอย่างไร สรรพคุณของอ้อย เช่น บำรุงกำลัง รักษาแผล ช่วยเจริญอาหาร ทำให้มีบุตร โทษของอ้อย มีอะไรบ้างอ้อย สมุนไพร สรรพคุณของอ้อย

ต้นอ้อย ภาษาอังกฤษ เรียก Sugar cane พืชตระกูลหญ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ของอ้อย คือ Saccharum officinarum L. ชื่อเรียกอื่นๆของอ้อย เช่น อ้อยขม อ้อยดำ อ้อยแดง อ้อยตาแดง กะที เก่อที อำโป โก้นจั่ว กำเซี่ย กำเจี่ย และ ชุ่งเจี่ย เป็นต้น

ต้นอ้อย พืชที่ปลูกง่าย ทนต่อความแห้งแล้ง อ้อยชอบอากาศร้อนและชุ่มชื้น ต้นอ้อยมีแหล่งปลูกมากถึง 70 ประเทศทั่วโลก โดยประเทศผู้ปลูกอ้อยที่สำคัญ ได้แก่ บราซิล คิวบา อินเดีย เป็นต้น

สายพันธุ์อ้อย

สำหรับสายพันธ์อ้อยมีหลายพันธุ์ และ แตกต่างกันออกไปในแต่ละสายพันธ์ แต่สายพันธุ์อ้อยที่นิยมในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ  อ้อยเคี้ยว และ อ้อยทำน้ำตาล โดยรายละเอียด ดังนี้

  • อ้อยเคี้ยว ลักษณะเปลือกและชานอ้อยจะนิ่ม มีรสหวานปานกลาง สามารถเคี้ยวได้ เป็นสายพันธ์ที่นำมารับประทานแบบสดๆ ซึ่ง อ้อยเคี้ยว มีหลายพันธุ์ เช่น อ้อยพันธ์สิงคโปร์ อ้อยพันธุ์มอริเชียส อ้อนพันธุ์บาดิลาสีม่วงดำ เป็นต้น
  • อ้อยทำน้ำตาล เป็นสายพันธ์ลูกผสม ปลูกเพื่อการผลิตน้ำตาล สำหรับประเทศไทย มี 20 สายพันธุ์ ที่ปลูกเพื่อการค้า เช่น อ้อยพันธ์บี 4098 อ้อยพันธ์ซีบี 38-22 อ้อยพันธ์ซีโอ 419 อ้อยพันธ์ซีโอ 421 อ้อยพันธืเอฟ108 อ้อยพันธ์เอฟ 134 อ้อยพันธ์เอฟ 137 อ้อยพันธ์เอฟ 138 เป็นต้น

อ้อยในประเทศไทย

แหล่งปลูกในประเทศไทย มีทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ เนื่องจากภาคใต้ภูมิอากาศไม่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ประเทศไทยส่งเสริมการปลูกอ้อยเป็นพืชทางเศรษฐกิจ มีสำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปริมาณการผลิตอ้อยมากที่สุดอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และ ภาคอีสาน

ลักษณะของต้นอ้อย

ต้นอ้อย เป็นพืชล้มลุก ความสูงไม่เกิน 3 เมตร ลำต้นมีความหวาน สามารถขยายพันธ์โดยกานแตกหน่อ และ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นอ้อย มีดังนี้

  • ลำต้นอ้อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นข้อปล้องจำนวนมาก ลำต้นมีน้ำมาก รสหวาน ลำต้นผิวแข็ง เรียบ
  • ใบอ้อย ลักษณะแผ่นใบยาว เหมือนใบข้าว ปลายใบแหลม สีเขียว กาบใบ โอบรอบลำต้น แผ่นใบ มีแกนตรงกลาง ลักษณะแข็ง
  • ดอกอ้อย ดอกเป็นช่อ สีขาว ดอกเล็กๆที่ติดกันเป็นคู่ แต่ละดอกจะมีขนสีขาว
  • ผลของอ้อย คล้ายผลเมล็ดข้าว ขนาดเล็ก เมล็ดอ้อยสามารถนำมาเพาะพันธ์ได้

สรรพคุณของอ้อย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากอ้อย ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น ลำต้น แก่น ราก น้ำอ้อย เปลือกลำต้น สรรพคุณของอ้อย มีดังนี้

  • ทั้งต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยให้มีบุตร
  • รากอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงเลือด ลดไข้ แก้ไอ แก้ท้องอืด ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยให้มีบุตร
  • แก่นอ่อย สรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ
  • น้ำอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเมาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน แก้ปวดประจำเดือน
  • ลำต้นอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการเพ้อ ลดไข้ ช่วยขับเสมหะ รักษาไซนัสอักเสบ แก้กระหายน้ำ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้อาการเทาค้าง รักษากระเพาะอาหารอักเสบ แก้ท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหนองใน รักษาแผลพุพอง
  • ตาอ้อย สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ
  • เปลือกต้นอ้อย สรรพคุณรักษาตานขโมย รักษาแผลในปาก รักษาแผลเน่าเปื่อย รักษาแผลกดทับ
  • ชานอ้อย สรรพคุณรักษาแผลเรื้อรัง  รักษาแผลฝี รักษาแผลหนอง

การปลูกอ้อย

สำหรับการปลูกอ้อย นั้นอ้อยชอบ ดินร่วนปนทราย มีความชื้น สำหรับการเจริญเติบโตของอ้อย แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะงอก ระยะแตกกอ ระยะย่างปล้อง และ ระยะแก่สุก รายละเอียด ดังนี้

  • ระยะงอก (germination phase) คือ ระยะเริ่มต้นการปลูกจนกระทั่งหน่อโผล่พ้นดิน ใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • ระยะแตกกอ (tillering phase) คือ ระยะหลังจากการปลูกประมาณ 60 วัน โดยการแตกกออ้อย ให้มีจำนวนข้อที่เหมาะสม
  • ระยะย่างปล้อง (stalk elongation phase) คือ ระยะต่อเนื่องกับการแตกกอ เริ่มตั้งแต่อายุประมาณ 3 – 4 เดือน
  • ระยะแก่และสุก (maturity and ripening phase) คือ การสะสมน้ำตาลจะเริ่มจากส่วนโคนไปหาปลาย

โทษของอ้อย

สำหรับการบริโภคอ้อย น้ำอ้อยมีความหวาน หากรับประทานน้ำอ้อย ในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้เกิดการสะสมน้ำตาลในเส้นเลือด ซึ่งหากน้ำตาลในเส้นเลือดมากเกินไป จะทำให้เป็นเบาหวาน และ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ตามมาได้

Last Updated on April 19, 2023