โรคฝีในสมอง อุบัติเหตุที่หัวอย่างแรง ติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี

ฝีในสมอง Brain abscess การติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงสูง ปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกายโรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง

โรคฝีสมอง ( Brain abscess ) คือ ภาวะการติดเชื้อในสมองจนทำให้เกิดฝี โรคชนิดนี้เป็นโรคอันตรายมีความรุนแรงของโรคสูง การติดเชื้อภายในสมองและเนื้อเยื่อใกล้เคียง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ารุกรานร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้าสู่สมองทางช่องทางต่างๆ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยสุด คือ สเตรปโตคอคคัส เป็นเชื้อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต โรครุนแรงพบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจพิการ ส่วนผู้ใหญ่มักป่วยจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน จากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองและเกิดเป็นฝี โรคนี้ลักษณะการใกล้เคียงกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดฝี มาจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมีหลายช่องทาง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ติดเชื้อโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการติดเชื้อหลังจากที่ผ่าตัด
  • ติดเชื้อจากอวัยวะอื่นและลามเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่สมองจึงทำให้เกิดฝีที่สมอง
  • อาการป่วยจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการของโรคฝีในสมอง

สำหรับการแสดงอาการของฝีในสมอง จะแสดงอาการผิดปรกติที่หัวและการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น มีไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง มีหนองออกจากหู ชัด คลื่นไส้อาเจียน สายตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ซึ่งอาการของโรคนี้ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแสดงอาการจากการติดเชื้อที่ศรีษะ และ อาการจากการติดเชื้อจากเนื้อสมองถูกกดทับ โดยรายละเอียด ดังนี้

อาการฝีในสมองจากการติดเชื้อในศีรษะ ผู้ป่วยจะมีไข้ และเพิ่มอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

อาการฝีในสมองจากการถูกกดทับของเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง ชา และ ชัก ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร ความจำเสื่อม ความแจ่มชัดของสายตาลดลง สายตาแคบ ตามัว เดินเซ และ สมองเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจดูจากอาการ ตรวจประวัติการรักษา สังเกตุอาการ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ ทำเอ็มอาร์ไอ เจาะนํ้าไขสันหลังส่งตรวจเพาะเชื้อ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณที่เป็นฝี

การรักษาโรคฝีในสมอง

แนวทางการรักษาโรคฝีในสมอง ต้องตรวจหาตำแหน่งของฝี และ ขนาด จากนั้นจะกำจัดเอาก้อนฝี หรือ ระบายออกหนองออก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่พบในก้อนฝีนั้น การให้ยาต้านเชื้อที่ติดจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนฝีหายโดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลา แต่หากฝีไม่หาย ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเอาฝีออก และ ต้องรักษาด้วยการควบคุมเชื้อโรค เพื่อยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดโรคฝีในสมองซ้ำอีกครั้ง

การป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับโรคฝีในสมองเกิดจากการติดเชื้อที่สมอง ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันภาวะการติดเชื้อโรคทั้งหมด โดยให้รักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อศีรษะ

 

โรคฝีในสมอง ( Brain abscess ) ภาวะการติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมักปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกาย แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร 

Last Updated on April 19, 2023