โรคมะเร็งเต้านม โรคของผู้หญิง เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

มะเร็งเต้านม โรคอันตรายของสตรี การเข้ารับการตรวจคัดกรองต้องทำอย่างไร ลักษณะอาการของโรคมะเร็งเต้านมเป็นอย่างไร แนวทางการรักษา และ การป้องกันโรคมะเร็งเต้านมมะเร็งเต้านม โรคมะเร็ง โรคสตรี การรักษามะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ( Breast cancer ) คือ การเกิดจากเนื้อเยื่อผิดปกติที่อวัยวะเต้านม เมื่อเซลล์มะเร็งขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย และ ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อข้างเคียง จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย มะเร็งชนิดนี้สามารถพบได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย

โรคมะเร็งเต้านมในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดสำหรับสตรี รองลงมา คือ โรคมะเร็งปากมดลูก จากรายงามอัตราการเกิดมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ในปี 2557 มีผู้ป่วยโรคมะเร็ง 14,966 คน เป็นเพศชาย 162 คน และ เพศหญิง 14,804 คน อัตราการเกิดโรค 44.42 คน ต่อ 100,000 คน ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคสูงขึ้นเรื่อยๆ

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ในปัจจุบันไม่สามารถหาสาเหตุการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลายประการ ทั้งสภาพแวดล้อมภาย พฤติกรรมการใช้ชีวิต อายุ ซึ่งสามารถสรุปปัจจัยการเกิดโรคได้ ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ที่มีญาติใกล้ชิดที่เคยป่วยเป็นโรคนี้มักมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การสูบบุหรี่ พบว่าผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำมีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าบุคคลทั่วไป
  • น้ำหนักตัวมาก หรือโรคอ้วน
  • การรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงอย่างต่อเนื่อง
  • อายุผู้ป่วย พบว่าเมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงต่อเนื่อง ของทอด ของมัน

ระยะของอาการโรคมะเร็งเต้านม

สำหรับโรคมะเร็งเต้านม ก็มีระยะความรุนแรงของโรค 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งทั่วไป โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคมะเร็งเต้านม ระยะแรก เกิดความผิดปกติของเนื้อเยื่อเต้านม ซึ่งก้อนเนื้อมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร สำหรับระยะนี้หากตรวจพบจะมีอัตราการรอดชีวิต 100%
  • โรคมะเร็งเต้านม ระยะ 2 ขนาดของก้อนมะเร็งโตขึ้น และอาจกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ หากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้อัตราการรอดชีวิต 93%
  • โรคมะเร็งเต้านม ระยะ 3 ขนาดของเซลล์มะเร็งกว้างขึ้น เซลล์มะเร็งมีใหญ่ขึ้นมากกว่า 5 เซนติเมตร  มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองอื่นใกล้เคียง อัตราการรอดชีวิตในระยะนี้ 72%
  • โรคมะเร็งเต้านม ระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด และ แพร่สู่อวัยวะอื่นๆ ระยะนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 22%

อาการของโรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ในระยะแรกนั้นแทบจะไม่แสดงอาการผิดปรกติ หากพบว่ามีก้อนเนื้อในเต้านมหรือบริเวณรักแร้ อาจมีความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ต้องเข้ารับการตรวจอย่างจริงจัง ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตุได้ มีดังนี้

  • พบก้อนเนื้อในเต้านม คลำเจอก้อนเนื้อผิดปกติ โดยพบเพียงข้างเดียว ข้างใดข้างหนึ่ง
  • พบแผลที่หัวนม เป็นแผลเรื้อรัง
  • น้ำนมมีเลือดปน

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม

การวินิจฉัยโรคในปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายช่วยในการวินิจฉัยโรค โดยเริ่มจากการตรวจประวัติการรักษา ประวัติทางพันธุกรรม การตรวจร่างกาย การตรวจเต้านม คลำหาก้อนเนื้อ การตรวจภาพรังสีเต้านม อัลตราซาวด์ และ การตัดก้อนเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม ในปัจจุบันมีหลายวิธี แต่นิยมใช้การผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยฮอร์โมน หรือ การรักษาด้วยเคมีบำบัด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแพทย์ต้องภายใต้ดุลยพินิจของทีมแพทย์ เพื่อการวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับประโยชน์สูงสุด หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง จะทำให้การผ่าตัดและการรักษายากยิ่งขึ้น

การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม 

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรค มีแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งเต้านม ดังนี้

  • เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม การตรวจด้วยตนเอง โดยคลำบริเวณเต้านม ในหญิงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป การทำแมมโมแกรม
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

Last Updated on March 18, 2021