มะเร็งปากมดลูก ตกขาวมีเลือดปน ปวดท้องน้อย สัญญาณเสี่ยงโรค

มะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 45 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อโรค ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็ง โรคของสตรี

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของสตรี โดยลักษณะของอาการ ตกขาวคล้ายหนอง มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ มีเลือดหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีอาการป่วย มะเร็งชนิดนี้มักเกิดกับสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป สตรีอายุ 25 – 49 ปี ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี สำหรับสตรีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma virus ) จากการมีเพศสัมพันธ์  แต่นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์
  • การมีลูกหลายคน
  • การขาดสารอาหาร
  • การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • การสูบบุหรี่
  • โรคเอดส์
  • พฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน และ การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่เด็ก

อาการโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะแสดงอาการที่ท้องน้อย และ อวัยวะเพศ ลักษณะการตกขาวผิดปรกติ อาการเจ็บปวดต่างๆที่บริเวณท้องน้อยและอวัยวะเพศ ซึ่งสัญญาณเตือนของอาการต่างๆมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว สามารถสรุปลักษณะอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • มีประจำเดือนนานผิดปกติ
  • ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์
  • ปวดหลัง และ ปวดก้นกก
  • ปัสสาวะผิดปกติ

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับระยะของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มี 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรายละเอียดดังนี้

  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก ซึ่งระยะนี้ไม่พบคามผิดปกติอย่างชัดเจน พบเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูก และ ยังไม่ลุกลาม
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่2 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามจากปากมดลูกไปยังช่องคลอด
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่3 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังอุ้งเชิงกราน ไททับท่อไตส่งผลต่อการทำงานของไต
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งลุกลามไปอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตับ ปอด สมอง เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และ เลือด เป็นระยะอันตราย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองโรคได้ โดยการตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ปีละ 1 ครั้ง โดยการป้ายเซลล์จากปากมดลุกแล้วนำมาป้ายลงกระจก สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ 50-60% หากต้องสงสัยจะมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคสามารถใช้การผ่าตัด การรักษาด้วยการฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการป่วย ผู้ป่วยมะเร็งระยะแรกจะใช้วิธีการรักษาเป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งที่มากขึ้นมักใช้วิธีการฉายแสงรังสีรักษาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูก ผ่าตัดแบบ Cone Biopsy และ Laser Therapy
  • การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy)
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ เข้ารับวัคซีนเอชพีวี
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่
  • ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร

โรคมะเร็งปากมดลูก โรคของสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ สัญญานเตือนการเกิดโรค การรักษาและแนวทางป้องกันทำอย่างไร

Last Updated on March 18, 2021