ไข้ทับระดู โรคผู้หญิง มีไข้ตอนมีประจำเดือน รักษาอย่างไร

ไข้ทับระดู อาการปวดท้องและมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน เกิดขึ้นกับสตรีโดยทั่วไป บางคนปวดมาก บางคนปวดน้อย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าปวดท้องแบบไหนปรกติ แบบไหนไม่ปรกติ

ไข้ทับระดู โรคสตรี

คำว่า ระดู หมายถึง เลือดประจำเดือนของสตรี

ไข้ทับระดู ( Period Flu ) คือ อาการมีไข้ระหว่างมีประจำเดือน ผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะอ่อนแอลง เนื่องจากการขับเลือดของร่างกาย ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อน้อยลง ช่วงมีประจำเดือนทำให้มีโอกาสติดเชื้อจึงง่ายกว่าปกติ ไข้ทับระดูในอดีต อาจดูเป็นโรคน่ากลัวสำหรับผู้หญิง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีการแพทย์ทันสมัย ควมรุนแรงของโรคน้อยลงมาก

ประเภทของไข้ทับระดู

สำหรับการแบ่งประเภทของโรคไข่ทับระดู มี 2 ประเภท คือ ไข้ทับระดูที่ไม่มีภาวะอื่นแอบแฝง และ ไข่ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง โดยรายละเอียด มีดังนี้

  •  ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะอื่นแอบแฝง ลักษณะมีอาการคล้ายกับไข้หวัด อ่อนเพลีย สามารถรับประทานยาลดไข้เพื่อบรรเทาอาการได้
  •  ไข้ทับระดูที่มีภาวะโรคแอบแฝง ลักษณะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดหลัง ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีตกขาวผิดปรกติร่วมด้วย

สาเหตุของโรคไข้ทับระดู

สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการไข้ทับระดู ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นไข้หวัดธรรมดาและไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต แต่สำหรับสาเหตุอื่นๆ สามารถสรุปสาเหตุต่างๆได้ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจาก เชื้อหนองใน หรือ เชื้อคลามัยเดีย
  • ภาวะหลังคลอดของผู้ป่วยบางคน มักจะเกิดจาก ตัวของเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ เป็นปกติวิสัยในช่องคลอดกระตุ้นให้ เชื้อโรคนั้นเจริญขึ้น จนเกิดเป็นโรคได้
  • อาจเกิดจากการแปดเปื้อนเชื้อโรคจากภายนอกช่องคลอด เข้าไปสู่ช่องคลอด และ มดลูกได้
  • อาจเกิดจากการทำแท้ง ซึ่งจะทำให้เชื้อกระจายตัวเข้าไปในมดลูก และเกิดการอักเสบ ที่เรียกกันว่า การทำแท้งติดเชื้อ

อาการของไข้ทับระดู

สำหรับอาการผู้ป่วยไข่ทับระดู ผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ไข้ขึ้นสูง ปวดท้องน้อย ลักษณะบิดๆ หากไม่มีอาการผิดปรกติมาก อาการปวดท้องจะค่อยๆหายไปเอง หากมีลักษณะอาการผิดปรกติ เช่น อาการตกขาวเป็นหนองและจะมีกลิ่นที่แรงมาก เหม็นมาก อาการปวดหลังแบบรุนแรง คลื่นไส้และอาเจียน ประจำเดือนออกมามากและมีกลิ่นเหม็น จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเกิดโรค

การรักษาไข้ทับระดู

แนวทางการรักษาโรคไข้ทับระดู เราแบ่งแนวทางการรักษาตามประเภทของไข้ทับระดู โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ไข้ทับระดูที่ไม่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง ไข้ทับระดูสามารถรักษาตามอาการได้ทันที ถ้ามีอาการปวดศีรษะ ตัวร้อน และปวดท้องน้อย ก็ให้ใช้ยาแก้ปวดลดไข้ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดประจำเดือนตามปกติ สามารถดื่มน้ำอุ่นเพื่อขับพิษไข้ ระบายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ หรือใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่ท้องเพื่อให้เลือดประจำเดือนขับออกมาได้คล่องตัวขึ้น นอกจากนี้ ควรดูแลทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
  • ไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคอื่นแอบแฝง หากมีอาการของไข้ทับระดูชนิดนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสอบถามซักประวัติผู้ป่วย ประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์

ภาวะแทรกซ้อนของไข้ทับระดู

  • อาจจะก่อให้เกิดฝีในรังไข่ หรือ บริเวณท่อรังไข่ ซึ่งมันจะทำให้เป็นแผลเป็น และ เกิดการเป็นหมันได้
  • จะมีโอกาสเกิด การตั้งครรภ์นอกมดลูกถึง 50%
  • จะเกิด อาการเจ็บปวด เมื่อเวลาที่มี เพศสัมพันธ์

การป้องกันการเกิดไข้ทับระดู

  • ควรเลี่ยง การสวนล้างช่องคลอด เป็นเวลา 6 เดือน หลังจากตลอดบุตร
  • สำหรับคนที่ยังไม่พร้อมมีบุตร ควรจะเลี่ยง การทำแท้งด้วยตัวเอง หรือ ใช้อุปกรณ์ที่สกปรกใน การทำแท้ง
  • ออกกังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อ ให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย
  • ถ้าหากคิดว่าติด เชื้อหนองใน จากคนรัก ควรจะรีบปรึกษาแพทย์ ก่อนที่เชื้อจะลุกลาม และ จะทำให้ ปีกมดลูดอักเสบได้

Last Updated on September 26, 2022