มะเร็งปอด Lung cancer ภาวะเกิดเนื้อร้ายที่ปอด มักเกิดกับคนสุบบุหรี่ อาการน้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุและแนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร
โรคมะเร็งปอด ( Lung cancer ) การสูบบุหรี่ หรือ สูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เป็นสาเหตุของการทำลายปอด และ ระบบทางเดินหายใจ โรคนี้นังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน โรคมะเร็งปอดพบมากในผู้ชายแต่ สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบมะเร็งในระยะต้นๆ สำหรับการเกิดมะเร็งปอดสามารถแบ่งชนิดของเซลล์มะเร็งที่ปอดได้ 2 ชนิด คือ
- มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small Cell Lung Cancer) พบอัตราการเกิดได้บ่อยถึง 80-85%
- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer) พบได้ประมาณ 10%-15% อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปอด
สำหรับโรคมะเร็งปอด ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างชัดเจน แต่เราพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่กระตุ้นให้เกิดการทำลายปอดและ อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด มีดังนี้
- การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม จากสถิติพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติพี่น้องที่มีประวัติการรักษาโรคมะเร็งปอด มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งปอดเช่นกัน
- อายุ โรคนี้พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
- สภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมักอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
- การสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ที่สูดเข้าปอดส่งผลโดยตรงต่อเซลล์ปอดโดยไม่ต้องสงสัย
อาการของโรคมะเร็งปอด
สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด จะแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจนที่ระบบการหายใจ และ สภาพร่างกายที่อ่อนแอ ซึ่งเราสามารถระบุอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคด้วยตนเอง ดังนี้
- น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างปกติ
- มีอาการเหนื่อยง่ายๆ
- มีภาวะโรคปอด เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ
- เสียงพูดผิดปรกติ พูดได้ไม่เต็มเสียง เสียงแหบ
- ไอเป็นเลือด รวมถึงไอไม่หยุด และ มีเสมหะจากการไอจำนวนมาก
- มีอาการแน่นหน้าอก ปวดหน้าอก
- เสียงหายใจเป็นเสียงนกหวัด หายใจได้ไม่เต็มปอด
ระยะของโรคมะเร็งปอด
สำหรับโรคมะเร็งปอด สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งปอดได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งความรุนแรงของโรคจะมากขึ้นเรื่อยๆ รายละเอียดของระยะโรคมะเร็งปอดต่างๆ มีดังนี้
- มะเร็งปอดระยะแรก ในระยะนี้ยังไม่พบอาการผิดปกติของเซลล์มะเร็ง ไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง แต่พบเพียงเซลล์มะเร็งขนาดเล็กที่ปอด เท่านั้น ระยะนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่ทราบว่าเกิดโรคมะเร็งปอด
- มะเร็งปอดระยะสอง เซลล์มะเร็งเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น และ เริ่มจะแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลือง ขั้วปอด รวมถึงผนังทรวงอก
- มะเร็งปอดระยะที่สาม เซลล์มะเร็งสามารถแพร่กระจายไปทั่วทรวงอก และ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย
- มะเร็งปอดระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งจากปอดกระจายเข้าสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย และ เสียชีวิตในที่สุด
การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด
สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด แพทย์จะมีแนวทางการวินิจฉัยโรค โดยใช้การตรวจต่างๆ รายละเอียดดังนี้
- การส่องกล้องตรวจทรวงอก ( thorocoscopy ) ใช้กล้องส่องเข้าที่ผนังทรวงอกเพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
- การตรวจช่องกลางทรวงอก ( mediastinoscopy ) โดยการผ่าเปิดกระดูกทรวงอกส่วนบน สอดกล้องเพื่อเก็บชิ้นเนื้อ และ น้ำเหลือง เพื่อตรวจทางเซลล์วิทยา
- การเจาะช่องทรวงอกถึงชั้นเยื่อหุ้มปอด ( thoracentesis ) การเก็บของเหลวบริเวณเยื่อหุ้มปอด เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- การส่องกล้องผ่านทางหลอดลม ( bronchoscopy ) ใช้กล้องขนาดเล็กสอดเข้าหลอดลมเพื่อเข้าสู่ปอด โดยดูดของเหลว และ ตัดชิ้นเนื้อ นำมาตรวจหาเซลล์มะเร็ง
- ตรวจชิ้นเนื้อ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ ใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านทางช่องอกไปยังปอด เพื่อ ดูดของเหลว และ เนื้อเยื่อมาวิเคราะห์หาเซลล์มะเร็ง
- การทำซีทีแสกน ( CT scan ) หรือ ทำเอ็มอาร์ไอ ( MRI ) เพื่อดูตำแหน่งก้อนเนื้อมะเร็ง และ ดูความผิดปกติของปอด
- การฉีดสารกัมมันตรังสีเข้าสู่เส้นเลือด ทำให้ทราบตำแหน่ง และ ขนาดของเซลล์มะเร็งที่เกิดได้อย่างชัดเจน
การรักษาโรคมะเร็งปอด
สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งปอด มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ และ ต้องใช้หลายวิธีในการรักษาร่วมกับ แต่มะเร็งปอดหากพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งวิธีการรักษาแพทย์จะพิจารณาการรักษาตามความเหมาะสม ดังนี้
- การผ่าตัด เป็นการผ่าตันนำเซลล์มะเร็งออก สามารถรักษาได้ผลดีในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะต้นๆ ที่พบเซลล์มะเร็งขนาดเล็ดและยังไม่แพร่กรจาย
- การทำเคมีบำบัด เป็นการฉีดยาเข้าเส้นเลือด เพื่อยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง
- การฉายรังสี ใช้แสงรังสีเพื่อการทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้ต้องทราบตำแหน่งมะเร็งที่ชัดเจน การรักษาวิธีนี้มีผลข้างเคียงทำให้ระคายเคืองตามผิวหนัง อ่อนเพลีย และ เบื่ออาหาร
- การใช้ยาเจาะจงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง
การป้องกันโรคมะเร็งปอด
โรคมะเร็งปอด ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน สามารถป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เป็นภัยต่อระบบการหายใจ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปอด มีดังนี้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลิกสูบบุหรี่
- หลีกเลี่ยงสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศ
- หมั่นตรวจร่างกายประจำปี และ หากพบอาการผิดปกติต่างๆของร่างกาย ควรปรึกษาแพทย์ทันที
โรคมะเร็งปอด ( Lung cancer ) ภาวะเกิดเนื้องอกที่ปอด โรคจากการสุบบุหรี่ หากมีอาการ น้ำหนักตัวลดลง เหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก สาเหตุของมะเร็งปอด และ แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้
Last Updated on November 7, 2024