โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพบมากในเด็ก เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

โรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก การติดเชื้อคออักเสบ ทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบรวมถึงลิ้นหัวใจ อาการมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดงโรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก ลิ้นหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ

โรคหัวใจรูมาติก เป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรไทย โดยเฉพาะเกิดกับเด็ก ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ รูมาติก โรคนี้ต้องใช้เวลานานกว่าจะทราบว่าตนเองป่วย โดยมากแล้วเด็กที่ป่วยโรคนี้มักมีที่อยู่อาศัยในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การโภชนาการไม่ดี กลุ่มประเทศยากจนและประเทศกำลังพัฒนา จึงพบปัญหาโรคนี้บ่อย

โรคหัวใจรูมาติก คือ อาการผิดปรกติของหัวใจจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว เป็นโรคที่เกิดบ่อยในกลุ่มเด็ก แต่ไม่ใช่โรคหัวใจโดนกำเนิด  ซึ่งอาการของผู้ป่วย เริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง อัตราการเกิดโรคนี้พบว่าประชากรใน 1000 คน มีผู้ป่วย 0.35-1.4 คน

สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจรูมาติก

โรคหัวใจรูมาติก เริ่มจากการติดเชื้อคออักเสบ เบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ ( Beta- hemolytic Streptococcus Group A ) ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองต่อการติดเชื้อผิดปกติ และสร้างภูมิต้านทานเพื่อทำลายเชื้อแต่กลับมาทำลายตัวเอง ส่งผลให้อวัยวะต่างๆอักเสบ เช่น ผิวหนังอักเสบ ระบบประสาทผิดปกติ ปวดตามข้อ และ หัวใจอักเสบ

อาการอักเสบที่หัวใจ ทำให้เกิดผังผืดเกาะยึดบริเวณลิ้นหัวใจ ( fibrosis ) เมื่อลิ้นหัวใจแข็งตัวไม่สามารถโปกสะบัดเหมือนเคย จึงทำให้ระบบต่างๆในร่างกายผิดปรกติตามมา

อาการของผู้ป่วยโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับอาการเบื้นต้นของผู้ป่วยในระยะติดเชื้อโรค คือ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดบวมตามข้อ มีปุ่มใต้ผิวหนัง ผิวหนังเป็นผื่นแดง กล้ามเนื้อกระตุกไม่มีแรง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หอบ เป็นต้น เมื่อหัวใจอักเสบ จะกลายเป็นโรคหัวใจเรื้อรัง อาจทำให้หัวใจวายและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สามารถสรุปลักษณะอาการของโรคหัวใจรูมาติกได้ ดังนี้

  • มีอาการไข้
  • อาการอ่อนเพลีย เหนื่อล้า
  • เจ็บหน้าอก
  • หายใจหอบ
  • กล้มเนื้อกระตุก
  • ผิวหนังมีผื่นแดง
  • ปุ่มใต้ผิวหนัง
  • ลิ้นหัวใจอักเสบเรื้อรัง

การรักษาโรคหัวใจรูมาติก

แนวทางการรักษาโรคหัวใจรูมาติก สามารถทำได้โดยการประคับประคองอาการตามอาการที่พบ การผ่าตัดรักษาหัวใจ และ ป้องกันการกลับมาเป็นโรคอีกครั้ง เราสามารถแบ่งการรักษาโรคหัวใจรูมาติก ได้ดังนี้

  • รักษาอาการติดเชื้อเบต้าสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม เอ โดยใช้ยาฆ่าเชื้อ
  • รักษาอาการอักเสบต่างๆ โดยให้ยาแอสไพริน ( aspirin ) ในขนาดสูง
  • รักษาอาการของโรคหัวใจโดยขยายลิ้นหัวใจที่ตีบ หรือ ผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

แนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติก สามารถป้องกันจากสาเหตุหลัก คือ การป้องกันการติดเชื้อโรค จนทำให้ร่างกายเกิดอาการอักเสบ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคหัวใจรูมาติด มีดังนี้

  • หลีกเลี่ยงการติดเชื้อต่างๆ โดยไม่เข้าใกล้ชิดผู้ป่วยโรคคออักเสบ หรือ โรคหวัด
  • หากเกิดอาการติดเชื้อคออักเสบ หรือ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต้องรักษาให้หายขาดอย่าให้เกิดอาการเรื้อรัง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ถูกสุขอนามัย
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ปรับสภาพแวดล้อมให้สะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโรค

โรคหัวใจรูมาติก หรือ ไข้รูมาติก เกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ จนทำให้อวัยวะต่างๆอักเสบ รวมถึงลิ้นหัวใจ อาการเริ่มจากมีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หายใจหอบ กล้ามเนื้อกระตุก ผิวหนังมีผื่นแดง แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Last Updated on November 7, 2024