ขิง สมุนไพร มีประโยชน์ต่อร่างกาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิงเป็นอย่างไร

ขิง สมุนไพร

ขิง ( Ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของขิง คือ zingiber offcinale Roscoe ขิงมีความต้องการของตลาดสูงมาก พืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญของประเทศไทย นิยมนำมาทำเป็นวัตถุดิบการทำอาหาร เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมความงาม อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป มากมาย ชื่อเรียกอื่นๆของขิง เช่น ขิงแครง ขิงเขา ขิงบ้าน ขิงป่า ขิงดอกเดียว ขิงแดง ขิงแกลง ขิงเผือก เป็นต้น

ขิง มีรสเผ็ดร้อน เป็น สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อการปรับสมดุลร่างกาย ช่วยให้เจริญอาหาร แก้นิ่ว บำรุงธาตุไฟ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ลดไข้  ขับลมในกระเพาะอาหาร ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน

ขิงยิ่งแก่จะยิ่งให้ความเผ็ดร้อน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีความร้อนภายในร่างกายอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่เหงื่อออกมาก เหงื่อออกเวลากลางคืน ตาแดง หรือ มีไฟในตัวมากกว่าปกติ แต่ถ้าจะรับประทาน ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ

ลักษณะของต้นขิง

ต้นขิง เป็น พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ในประเทศเขตร้อน อย่างประเทศไทย สามารถขยายพันธ์โดยทางการแตกหน่อ ขิงเป็นพืชชนิดเดียวกันกับ ข่า ขมิ้น มีรสเผ็ดและกลิ่นหอม แต่ผลยิ่งแก่จะมีรสเผ็ดร้อนมากขึ้น ลักษณะของต้นขิง มีดังนี้

  • หัวขิง หรือ เหง้าขิง ลักษณะคล้ายมือ อยู่ใต้ดิน เปลือกของเหง้าขิงมีสีเหลืองอ่อน
  • ลำต้นของขิง ออกเป็นกอ ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะกลม ตั้งตรง อวบน้ำ มีสีเขียว
  • ใบของขิง ใบเป็นกาบ หุ้มซ้อนกันเป็นใบเดี่ยว ออกสลับเรียงกัน เหมือนใบไผ่ ลักษณะปลายใบจะเรียวแหลม
  • ดอกของขิง ดอกขิงออกเป็นพุ่ม ดอกแหลมมีสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของขิง

ขิงมีประโยชน์ด้านสมุนไพร และ ใช้ในการบริโภคในอาหารไทย มาช้านาน นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของขิง ขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

ขิงขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบด้วย กากใยอาหาร 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม โปรตีน 0.4 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 18 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เบต้าคาโรทีน 10 ไมโครกรัม ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม และ ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม

สรรพคุณของขิง

สำหรับต้นขิงนั้น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกาย และ การรักษาโรค มากมาย สามารถใช้ส่วนของ ทั้งตน เหง้าขิง ดอกขิง รากขิง ใบขิง ผลขิง และ แก่นขิง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าขิง หรือ หัวของ ตำราสมุนไพรไทย บอกไว้ว่า ขิงมีฤทธิ์อุ่น สรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ฆ่าพยาธิ แก้บิด แก้อาเจียน รักษาไข้หวัด ช่วยลดไข้ ขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดประจำเดือน รักษาแผล แก้ปวดฟัน ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงเลือด ลดกรดในกระเพาะอาหาร ป้องกันฟันฝุ  หัวขิงนำมาใช้ประโยชน์หลายทาง เช่น นำมากินสด นำมาตากแห้งและบดเป็นผง หรือ นำมาต้นน้ำดิื่ม
  • ทั้งต้นของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
  • ใบของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณแก้ฟกช้ำ รักษานิ่ว ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยฆ่าพยาธิ
  • ดอกของขิง มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปัสสาวะขัด
  • รากของขิง มีรสหวานเผ็ดร้อนขม สรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ
  • ผลของขิง รสหวานเผ็ด สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด บำรุงน้ำนม ช่วยลดไข้ แก้เจ็บคอ ลดอาการอักเสบ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ
  • แก่นของขิง นำมาฝนเป็นผงแก้อาการคัน

โทษของขิง

เนื่องจากขิง เป็น สมุนไพร ซึ่ง สรรพคุณของขิง คือ มีฤทธ์ร้อน ทำให้ร่างกายอบอ่อน ไม่ควรกินสุรา หรือ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ร่วมกับขิง และ ในคนที่ป่วย หรือ มีอุณหภูมิร่างกายสูง การกินขิงอาจทำให้ร่างกายร้อนขึ้น

  • อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนสำหรับสตรีมีครรภ์
  • ทำให้เกิดแผลร้อนใน ทำให้เยื่อบุภายในช่องปากอักเสบได้
  • ขิงช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด สำหรับคนที่มีปัญหาโรคเลือดออกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานขิง
  • น้ำขิงที่คั้นจนเข้มค้นมาก ไม่ควรทำให้น้ำขิงเข้มข้นจนเกินไป เพราะ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ทำให้ลำไส้หยุดการบีบตัว

วิธีทำน้ำขิง

น้ำขิง มีประโยชน์ทางสมุนไพร เช่น แก้อาเจียน อาการเบื่ออาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะ รักษาไข้หวัดได้  ช่วยขับเหงื่อ ลดอาการไข้ ช่วยบรรเทาอาหารไอ อาการเจ็บคอ ช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง วิธีทำน้ำขิง มีดังนี้

  1. เตรียม ขิงแก่ 1 กิโลกรัม น้ำตาลทรายแดง 1 ถ้วยตวง และ น้ำสะอาด 3 ลิตร
  2. ล้างขิงให้สะอาด นำมาทุบให้แตก นำไปต้มในหม้อต้ม ต้มขิงในน้ำเดือด แล้วค่อยเบาไฟลง ต้มนานประมาณ 20 นาที ต้มจนหอมกลิ่นน้ำขิง
  3. เติมน้ำตาลทรายแดง นำมาดื่มแบบร้อนๆ  หรือ ดื่มแบบเย็นๆ ด้วยการใส่น้ำแข็ง

ขิง คืิอ พืชล้มลุก สมุนไพร พืชพื้นบ้าน มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ประโยชน์ของขิง สรรพคุณของขิง เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ บำรุงเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด โทษของขิง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ตะไคร้ สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน โทษของตะไคร้มีอะไรบ้าง

ตะไคร้ สมุนไพร

ตะไคร้ ( Lemongrass ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) Stapf  ชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น จะไคร หัวซิงไค ไคร คาหอม เชิดเกรย เหลอะเกรย ห่อวอตะโป่ เป็นต้น ตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น

สายพันธ์ตะไคร้

ตะไคร้ พืชตระกูลหญ้า เจริญเติบโตง่ายในทุกสภาพดิน ลำต้นมีกาบใบโดยรอบ ใบยาว ใบของตะไคร้ มีน้ำมันหอมระเหย นิยมปลูกเป็นพืชสวนครัว พืชพื้นเมือง ปลูกกันโดยทั่วไปในประเทศไทย สายพันธ์ของต้นตะไคร้ แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

  • ตะไคร้กอ
  • ตะไคร้ต้น
  • ตะไคร้หางนาค
  • ตะไคร้น้ำ
  • ตะไคร้หางสิงห์
  • ตะไคร้หอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

คุณค่าทางอาหารของตะไคร้ นักโภชนากการได้ทำการศึกษาต้นตะไคร้สด ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 143 กิโลแคลอรี่

ต้นตะไคร้ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 4.2 กรัม สารอาหาร คือ โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6 มิลลิกรัม เถ้า 1.4 กรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินสำคัญ ประกอบด้วย วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม  และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นตะไคร้

ตะไคร้ พืชล้มลุก ตระกลูหญ้า มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย คองโก และ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ เป็น สมุนไพรไทย นิยมนำมาประกอบอาหารช่วยให้กลิ่นหอมดับกลิ่นคาวของอาหาร นิยมปลูกทั่วไปตามบ้าน สามารถขยายพันธ์โดยแตกกอ และ การปักชำ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้นของตะไคร้ มีลักษณะลำต้นตั้งตรง ลำต้นทรงกระบอก สูงประมาณ 1 เมตร  มีกาบใบเรียงช้อนกันแน่น โคนต้นตะไคร้ผิวเรียบ โคนต้นอ้วน สีม่วงอ่อน เป็นส่วนที่นำมาใช้ประกอบอาหาร
  • ใบของตะไคร้ ลักษณะใบเรียวยาว ขอบใบแหลมคม ใบตะไคร้ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ  และ ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ผิวใบสากมือ และ มีขนปกคลุม ปลายใบแหลม
  • ดอกของตะไคร้ ดอกตะไคร้จะออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอม ดอกตะไคร้มีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

สรรพคุณของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์ของตะไคร้ ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่ากาย สรรพคุณของตะไคร้ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง ส่วน ทั้งต้น หัวตะไคร้ รากตะไคร้ ลำต้นตะไคร้ และ ใบตะไคร้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ
  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สะกัดได้จากต้นตะไคร้ทุกส่วน น้ำมันตะไคร้ นำมาทำเป็นยาทานวด นำมารับประทาน ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และ ขับเหงื่อ
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาขับลม ช่วยเจริญอาหาร แก้เบื่ออาหาร ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ รักษานิ่ว บำรุงธาตุ รักษาหนองใน และ ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร
  • ใบของตะไคร้ สรรพคุณเป็นยาแก้หวัด ลดอาการไอ ปรับสมดุลย์ความดันโลหิต บรรเทาอาการปวด แก้ปวดหัว
  • หัวของตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว ลดความดันโลหิต แก้กษัยเส้น และ ลดไข้
  • รากของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง และ บรรเทาอาการท้องเสีย

โทษของตะไคร้

มีการทดลองการใช้น้ำมันตะไคร้กับหนูขาว พบว่าน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 5,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หนูขาวกินเข้าไป ทำให้หนูขาวตาย น้ำมันตะไคร้ให้กระต่ายกินทำให้กระต่ายตาย หนูขาวที่ได้รับน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้มีการเติบโตเร็วกว่ากลุ่มที่ไม้ได้รับ และค่าทางเคมีของเลือดไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด การบิรโภคน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ในปริมาณที่มากเกินไป และ หากมีความเข้มค้นมากเกินไป ทำให้เป็นอันตรายได้ จากการทดลองเห็นว่า หนูขาวแข็งแรงขึ้น แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป ทำให้หนูขาวตาย

ตะไคร้ ผักสวนครัว สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ลักษณะของต้นตะไคร้ ประโยชน์ของตะไคร้ สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ลดความดัน ดับกลิ่นคาวอาหาร โทษของตะไคร้ เป็นอย่างไรบ้าง

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย