ดอกคำฝอย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย นิยมนำคำฝอยมารับประทานและใช้ทำสีผสมอาหาร สรรพคุณบำรุงโลหิต น้ำมันจากเมล็ดคำฝอยนำมาทำยาได้ ลดการปวดประจำเดือน ขับน้ำคาวปลา ทำความรู้จักกับต้นคำฝอย

ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย

ต้นคำฝอย ภาษาอังกฤษ เรียก Safflower ชื่อวิทยาศาสตร์ของดอกคำฝอย คือ Carthamus tinctorius L. จัดเป็นพืชในวงศ์เดียวกันกับทานตะวัน สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของคำฝอย ได้แก่ คำยอง คำหยอง คำหยุม คำยุ่ง ดอกคำ หงฮัว คำทอง เป็นต้น คำฝอยมีถิ่นกำเนิดใน ตะวันออกกลาง ในประเทศไทยปลูกมากทางภาคเหนือ  จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย

ดอกคำฝอยในประเทศไทย สำหรับดอกคำฝอยในประเทศไทย มีการใช้ประโยชน์จากดอกคำฝอยหลากหลาย โดยนำมาแปรรูป เช่น ทำชา ทำสีผสมอาหาร ทำแคปซูน หรือ สะกัดเอาน้ำมันดอกคำฝอย แหล่งผลิตดอกคำฝอยที่สำคัญของประเทศไย อยู่ทางภาคเหนือ อำเภอพร้าว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ลักษณะของต้นคำฝอย

ต้นคำฝอย เจริญได้ดีในที่สูง แต่ไม่เกิน 1,000 เมตร ชอบดินร่วนปนทราย หรือ ดินที่มีการระบายน้ำได้ค่อนข้างดี  ไม่ชอบอาการร้อน ประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส อายุสั้น ใช้เวลา 4 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ลักษณะของต้นคำฝอย มีดังนี้

  • ลำต้นคำฝอย ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร ลักษณะลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านสาขามากมาย
  • ใบคำฝอย เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามกิ่งก้าน ลักษณะของใบคล้ายรูปหอก ขอบใบหยัก ปลายใบเป็นหนามแหลม ใบสีเขียว
  • ดอกคำฝอย ลักษณะดอกเป็นช่อ ดอกออกที่ปลายยอดของลำต้น ลักษณะดอกกลม กลีบดอกเป็นสีเหลือง กลีบดอกแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
  • ผลคำฝอย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลคล้ายรูปไข่ ผลเบี้ยวๆ สีขาว เป็นผลแห้งไม่แตก
  • เมล็ดคำฝอยอยู่ในผลคำฝอย เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม ลักษณะยาวรี เปลือกแข็ง สีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคำฝอย

สำหรับการใช้ประโยชน์ในการรับประทานคำฝอย นิยมรับประทานดอกคำฝอย นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอยมีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของดอกคำฝอย ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน กากใยอาหาร ธาตุแคลเซียม ธาตุแมกนีเซียม ธาตุเหล็ก สารคาร์ทามีดีน ( carthamidine ) และ สารคาร์ทามีน ( carthamine )

น้ำมันจากดอกคำฝอย มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดโอเลอิก (Oleic Acid) กรดปาลมิติก (Palmitic Acid) กรดสเตียริก (Stearic Acid)

เมล็ดของดอกคำฝอย มีสารในกลุ่มลิกแนน ไกลโคไซด์ (Lignan Glycoside) และ สารเซโรโทนิน (Serotonin)

สรรพคุณของดอกคำฝอย

มีการนำดอกคำฝอยมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ซึ่งสรรพคุณของดอกคำฝอยมีทั้งการบำรุงสตรี บำรุงเลือด ช่วยการไหลเวียนของโลหิต และรักษาอาการผิดปกติของร่างกายต่างๆได้ สรรพคุณของดอกคำฝอย มีดังนี้

  • ช่วยให้ผ่อนคลาย และ นอนหลับสบาย สามารถช่วนรักษาโรคทางจิตรเวช เช่น โรควิตกกังวล โรคนิมโพเมาเนียร์ เป็นต้น
  • ช่วยลดไข้ บรรเทาอาการป่วย
  • ช่วยขับระดูของสตรี แก้ปัญหาอาการประจำเดือนคั่งค้าง หรือ ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ
  • บรรเทาอาการปวด อาการประจำเดือน อาการปวดมดลูก และ ลดอาการอักเสบของมดลูก รักษาอาการตกเลือด ลดอาการปวดหลังคลอด ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • ลดไขมันในเลือด ป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ช่วยการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นให้มีเลือดไปล่อเลี้ยงหัวใจมากขึ้น
  • ช่วยขับเหงื่อ ทำให้เหงื่อออกมากขึ้น ขับของเสียออกทางรูขุมขน
  • รักษาอาการฟกช้ำดำเขียว รักษาอาการแผลกดทับ
  • ช่วยต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ยับยั้งการเกิดฟันผุ

วิธีทำน้ำดอกคำฝอย มีวิธีการเตรียม ดังนี้ ใช้ดอกคำฝอยแห้งหาซื้อได้ทั่วไป กะปริมาณให้ได้ประมาณ 2 หยิบมือ ( คิดเป็นน้ำหนัก 2.5 กรัม ) เติมดอกเก๊กฮวย ลงหม้อ ประมาณ 10 ดอก ผสมด้วยน้ำสะอาดที่ใช้ดื่มได้ครึ่งลิตร เคี่ยวจนงวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที นำมาดื่มเป็นน้ำชา ดื่มได้ทั้งแบบร้อน และ แบบเย็น ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 2-3 ครั้ง กรณีดื่มยาก สามารถเติมน้ำตาลทรายขาว หรือ น้ำผึ้ง ได้ 2-3 ช้อนชา ต่อน้ำดอกคำฝอย 1 แก้ว

โทษของคำฝอย

การใช้ประโยชน์จากคำฝอย มีข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรจากคำฝอย ดังนี้

  • การรับประทานดอกคำฝอย อย่างต่อเนื่องในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และ มีอาการวิงเวียนศีรษะ
  • การรับประทานดอกคำฝอย ในระหว่างมีประจำเดือน อาจทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • สำหรับสตรีระหว่างการตั้งครรภ์ ไม่รับประทานดอกคำฝอย เพราะ ดอกคำฝอยมีสรรพคุณช่วยขับประจำเดือน อาจทำให้แท้งลูกได้

Last Updated on February 28, 2024