ผักโขม Amaranth ผักพื้นบ้าน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ต้นผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม ช่วยบำรุงสายตา ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิว โทษของผักโขมมีอะไรบ้าง

ผักโขม สมุนไพร

ผักโขม ( Amaranth ) เป็นผักสวนครัว นิยมนำผักโขมมารับประทานเป็นผักสด หรือ ลวกกินกับน้ำพริก ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักโขม คือ Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea ชื่อเรียกอื่นๆของผักโขม เช่น ผักโหม ผักหม ผักโหมเกลี้ยง กระเหม่อลอเตอ เป็นต้น

สายพันธุ์ของผักโขม ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารมีผักโขม 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย ผักโขมบ้าน ผักโขมสวน ผักโขมหัด ผักโขมหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักโขมบ้าน ลักษณะใบกลมเล็ก มีลำต้นเล็ก ก้านของใบเป็นสีแดง ใบสีเขียวเหลือบแดง มีสรรพคุณในการแก้คันได้เป็นอย่างดี นำมาต้มเอาน้ำมาอาบ สามารถนำมาใช้ ลดไข้ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ
  • ผักโขมจีน ลักษณะต้นใหญ่ ใบสีเขียว หยัก มีกลิ่นฉุน
  • ผักโขมสวน ลักษณะใบสีเขียว แกนกลางของใบเป็นสีแดง
  • ผักโขมหนาม ลักษณะลำต้นสูง ใบใหญ่ มีหนาม ตามช่อของดอก หากจะนำผักโขมมาทำอาหารให้ใช้ยอดอ่อน ผักโขมสามารถ นำมาใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ตกเลือด แก้หนองใน แก้แน่นท้อง แก้กลากเกลื้อน ขับน้ำนม ลดไข้ แก้อาการลิ้นเป็นฝ้าของเด็ก

คุณค่าทางอาหารของผักโขม

สำหรับการศึกษาประโยชน์และคุณค่าทางอาหารของผักโขม นั้น นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางอาหารของผักโขม โดยศึกษาผักโขมขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 23 กิโลแคลลอรี่

สารอาหารสำคัญในผักโขม ขนาด 100 กรัม ประกอบด้วย ไขมัน ร้อยละ 4 โซเดียม ร้อยละ 3 โพแทสเซียม 558 มิลลิกรัม คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 3.6 กรัม กากใยอาหาร 2.2 กรัม น้ำตาล 0.4 กรัม โปรตีน 2.9 กรัม วิตามินเอ1 ร้อยละ 88 วิตามินซี ร้อยละ 47 แคลเซียม ร้อยละ 10 ธาตุเหล็ก ร้อยละ 15 วิตามินบี 6 ร้อยละ 10 ธาตุแมกนีเซียม ร้อยละ 20 สารไทอามิน ร้อยละ 5 สารไรโบพลาวิน ร้อยละ 11 สารไนอาซิน ร้อยละ 4 วิตามินอี ร้อยละ 7  วิตามินเค ร้อยละ 4 ซิงค์ ร้อยละ 4 และ ธาตุฟอสฟอรัส ร้อยละ 5

ลักษณะของต้นผักโขม

ผักโขม พื้ชล้มลุก ขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มเตี้ย อานุของผักโขมเพียงหนึ่งปี ผักโขม จัดเป็นพืชสวนครัว เป็นผักที่ขึ้นตามแหล่งธรรมชาติ เช่น ริมทาง ป่าละเมาะ ป่ารกร้าง เทือกสวนไร่ชาวนา เป็นต้น เป็นพืชที่ขึ้นและเติบโตได้ง่าย

  • ลำต้นของผักโขม สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้นอวบน้ำ สีเขียว ตั้งตรง โคนต้นมีสีแดงน้ำตาล
  • ใบของผักโขม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยม ผิวใบเรียบ ใบมีขนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ
  • ดอกของผักโขม ผักโขมออกดอกเป็นช่อ สีม่วงปนเขียว ดอกผักโขมออกตามซอกใบ และ ดอกออกปลายกิ่ง
  • เมล็ดผักโขม มีลักษณะกลม สีน้ำตาลดำ ขนาดเล็ก

สรรพคุณของผักโขม

ผักโขม มีคุณค่าทางอาหารสูง มีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สรรพคุณของผักโขม เช่น ช่วยขับปัสสาวะ ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิว ลดไขมันในเลือด ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด เบต้าแคโรทีน สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ลักษณะของผักโขมที่มีประโยชน์ คือ

  1. ผักโขมมีสารซาโปนิน ( Saponin ) สรรพคุณช่วยลดคอเรสเตอรอล ลดไขมันในเลือด บำรุงเลือด ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย ชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆ เป็นยาอายุวัฒนะ
  2. ผักโขมมีเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ป้องกันมะเร็งปอดและมะเร็งเต้านมได้
  3. ผักขมมีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตา
  4. ผักโขมมีวิตามินซีสูง ช่วยบำรุงผิว และ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  5. ผักโขมมีกากใยอาหารสูง บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี ลดการเกิดมะเร็งในกระเพาะอาหาร

โทษของผักโขม

การบริโภคผักโขม ข้อควรระวังในการบริโภคผักโขม อยู่บ้าง การกินผักโขมในปริมาณที่เหมาะสม จะดที่สุดจากการวิจัยผักโขม พบว่าผักโขมทำให้ร่างกายมีปริมาณของสารออกซาเลท หรือ กรดออกซาลิค อาจเป็นสาเหตุของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ได้

ผักโขม ( Amaranth ) คือ พืชล้มลุก ผักพื้นบ้าน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ลักษณะของผักโขมเป็นอย่างไร สรรพคุณของผักโขม ช่วยบำรุงสายตา ลดไขมันในเส้นเลือด บำรุงผิว โทษของผักโขม มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-10. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • รักษ์ พฤษชาติ,ผักพื้นบ้าน ครบเครื่องเรื่องผักพื้นบ้าน ทั้งการปลูกและการตลาด,สำนักพิมพ์ นีออน บุ๊ค มีเดีย,พิมพ์ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553
  • “ผักโขม”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-07. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
  • “ป๊อปอายไม่ได้กินผักโขมนะจะบอกให้! – OpenRice TH Editor”. OpenRice ไทย.
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ,ผักพื้นบ้านภาคกลาง,บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด,พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2547
  • หมอชาวบ้าน ผักโขม
  • อมรทิพย์ วงศ์สารสิน และ อัญชลี จาละ. 2554. สารอัลลีโลเคมิคอลจากผักโขมที่มีผลต่อการงอกของเมล็ดพริก. การประชุมวิชาการทางพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยครั้งที่ 5 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2554 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาแต่งสีอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา โทษของอัญชัน ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

อัญชัน สมุนไพร

อัญชัน มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย