อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาแต่งสีอาหาร ต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา โทษของอัญชัน ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

อัญชัน สมุนไพร

อัญชัน มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย

ลักษณะของต้นอัญชัน

อัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ขมิ้นชัน พืชล้มลุก ต้นขมิ้นชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล สร้างภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเส้นเลือด ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้าง

ขมิ้นชัน สมุนไพร

ขมิ้นชัน เอกลักษณ์ของขมิ้นชั้น คือ สีเหลืองส้ม กลิ่นฉุนหอม พืชพื้นบ้าน พืชตระกูลขิง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีถิ่นกำเนิดตามประเทศเขตร้อนแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สีเหลืองเข้มออกส้ม นำมาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น นำมาแต่งสี ทำอาหาร ทำยารักษาโรค และ ส่วนผสมต่างๆของเครื่องสำอางค์

ขมิ้นชัน ชื่อสามัญ เรียก Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่อเรียกอื่นๆของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น

ลักษณะของต้นขมิ้น

ขมิ้นชัน ลักษณะเป็นพืชหัว ลักษณะเดียวกับ ข่า ขิง มีเหง้าอยู่ใต้ดิน พืชล้มลุก อายุหลายปี ลักษณะของต้นขมิ้นชัน มีดังนี้

  • ลำต้นของขมิ้นชัน มีความสูงประมาณ  30 ถึง 95 เซ็นติเมตร
  • เหง้าของขมิ้นชัน เป็นลักษณะทรงรี รูปไข่ อยู่ใต้ดิน อ้วนและสั้น ในเนื้อของเหง้ามีสีเหลืองส้ม กลิ่นฉุน
  • ใบของขมิ้นชัน ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ตรงกลางใบมีสีแดงคล้ำ ออกมาจากเหง้า เรียงซ้อนทับกันเป็นวง ลักษณะใบเป็นรูปหอก  ดอกของขมิ้นชัน ดอกออกมาจากเหง้าขมิ้นชั้น แทรกขึ้นตามก้านใบ ดอกขมิ้นรูปทรงกระบอก สีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้นชัน 

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของขมิ้นชัน ผงขมิ้นชัน ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 312 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 9.7 กรัม คาร์โบไฮเดรต 67.1 กรัม ไขมัน 3.3 กรัม เกลือโซเดียม คอเลสเตอรอล วิตามินเค วิตามินซี วิตามินบี6 วิตามินอี ไขมันอิ่มตัว ไนอาซิน ไทอานิน ฟอสฟอรัส แคลเซียม ไรโบพลาวิน เหล็ก ซิงค์ ไขมันไม่อิ่มตัว น้ำตาล และ กากไยอาหาร

สรรพคุณของขมิ้นชัน

การใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น จะใช้ประโยชน์เหง้าขมิ้น หรือ หัวขมิ้น สีเหลือง กลิ่นฉุน เป็นเอกลักษณ์สำคัญของขมิ้นชัน ประโยชน์และสรรพคุณของขมิ้นชัน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มีรายละเอียด ดังนี้

  1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ชะลอวัย ลดริ้วรอยตามผิว ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึงช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
  2. สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผื่นคัน ช่วยสมานแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาแผลพุพอง รักษาแผลแมลงสัตว์กัดต่อย
  3. สรรพคุณต้านแบคทีเรีย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา ใช้รักษาโรคกลาก เกลื้อน โรคผิวหนัง
  4. สรรพคุณบำรุงเลือด ลดคอเลสเตอรอล รักษาโรคความดันโลหิตสูง รักษาโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยแก้อาการตกเลือด
  5. สรรพคุณบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
  6. สรรพคุณบำรุงข้อและกระดูก ช่วยรักษาอาการปวดอักเสบไขข้อ
  7. สรรพคุณลดอาการอักเสบ แก้ปวด ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
  8. สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับเหงื่อ
  9. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร แก้อาการจุดเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาโรคลำไส้อักเสบ ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม รักษาโรคกระเพาะอาหาร ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
  10. สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงปอด บรรเทาอาการไอ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาไข้หวัด
  11. สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขับน้ำนม ช่วยแก้อาการตกขาว
  12. สรรพคุณบำรุงรักษาช่องปาก ช่วยรักษาแผลในปาก ลดกลิ่นปาก
  13. สรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง ท้องเสีย
  14. ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช
  15. สรรพคุณช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี ป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
  16. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร

โทษของขมิ้นชัน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากขมิ้นชั้น มีข้อควรระวัง ดังต่อไปนี้

  • ขมิ้นันเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ แต่หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
  • ขมิ้นชัน อาจเป็นอันตรายสำรับคนที่มีอาการแพ้ขมิ้น อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ
  • ขมิ้นชั้นเป็นอันตรายสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับท่อน้ำดี อาจทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำดีได้

ขมิ้นชัน คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง เหง้าของขมิ้นขั้นิยมมาใช้ประโยชน์ต่างๆ ต้นขมิ้นชัน เป็นอย่างไร สรรพคุณของขมิ้นชัน เช่น บำรุงผิว รักษาแผล สร้างภูมิต้านทานโรค ลดไขมันในเส้นเลือด ประโยชน์และโทษของขมิ้นชัน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • ขมิ้นชัน ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย