ลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ มักเกิดกับเด็ก อาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง เสี่ยงหัวใจล้มเหลว อันตรายถึงเสียชีวิตได้ สาเหตุ การรักษาและป้องกันอย่างไร
โรคลิ้นหัวใจรั่ว คือ ภาวะความผิดปรกติในของการทำงานของลิ้นหัวใจ การเกิดจากกล้ามเนื้อที่ลิ้นหัวใจเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้หัวใจล้มเหลว เสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีการใช้ชีวิตที่ไม่ปรกติ ต้องระมัดระวังการใช้ชีวิตอย่างสูง
สาเหตุของการเกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว
สำหรับโรคนี้สาเหตุของการเกิดโรคมาจากความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด เช่น ความผิดปรกติของลิ้นหัวใจเอง หรือ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดหัวใจตัน เป็นต้น ซึงสามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้ ดังนี้
- ภาวะความผิดปกติของตัวอ่อนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
- ลิ้นหัวใจมีคราบหินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเสื่อม
- ภาวะแทรกซ็อนจากโรคหัวใจรูมาติด
- การติดเชื้อโรคต่างๆเข้าสู่กระแสเลือดจนเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
อาการผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
สำหรับการแสดงอาการของโรค อาการจะค่อยๆแสดงอาการ ซึ่งในระยะแรกไม่แสดงอาการให้รู้ แต่เมื่ออายุมากจะพบว่ามีอาการเหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อ่อนเพลีย และ ไม่มีแรง ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว ได้ดังนี้
- เจ็บหน้าอก
- วิงเวียนศีรษะ เป็นลม
- เหนื่อยง่าย หายใจลำบากเมื่อออกแรง
- เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
- ไอ มีเสมหะปนเลือด
- เท้าบวม ขาบวมกดบุ๋ม ท้องมาน
การตรวจวินิจฉัยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคแพทย์จะซักประวัติ สอบถามลักษณะอาการที่แสดงออก และ ทำการการตรวจคลื่นเสียงสะท้อน ตรวจอัลตราซาวด์ เพื่อวินิจฉัยโรค
การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว
สำหรับแนวทางการรักษาหากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง สามารถใช้การรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะ เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่หากมีอาการรุนแรง ต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการรักษาด้วยการผ่าตัดมีดังนี้
- การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ ( Vale Repair ) ทำเพื่อซ่อมแซมลิ้นหัวใจที่มีความผิดปกติให้กลับมาทำงานได้ ซึ่งสามารถทำได้บางรายเท่านั้น
- การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ( Valve Replacement ) หากลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมา ทำงานตามเดิมได้อีก ก็จะต้องผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมี 2 ชนิด คือ ลิ้นหัวใจโลหะ และ ลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ ซึ่งลิ้นหัวใจโลหะมีความคงทน แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย ผู้ป้วยใช้ลิ้นหัวใจโลหะต้องกินยาตลอดชีวิต แต่สำหรับลิ้นหัวใจเนื้อเยื่อ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 70 ปี
แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว
เนื่องจากสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจร่วม มีทั้งสาเหตุจากอาการโดยกำเนิด และ ภาวะความผิดปรกติของลิ้นหัวใจจากภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อในกระแสเลือด แนวทางการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว จึงมีแนวทางดังนี้
- สำหรับสตรีมีครรถ์ ควรดูแลทารกในครรภ์ให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์
- หลีกเลี่ยง ภาวะความเสี่ยงการติดเชื้อโรคต่างๆ
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารมัน เพื่อป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
- รับประทานอาการที่มีประโยชน์
แนวทางการดูแลตนแองสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว
ผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วต้องรู้ตนเอง และ ขีดความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงจำเป็นต้องให้คนรอบข้างรับรู้ถึงเรามีปัญหาโรคลิ้นหัวใจรั่ว แนวทางการปฏิบัติตนสำหรับผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่ว มีดังนี้
- ไม่ควรออกกำลังกายหนัก หรือ หักโหม เกินไป
- เลิกดื่มสุรา
- เลิกสูบบุหรี่
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และ ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น หวาน มัน เค็ม เกินไป
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หากจำเป็นต้องทำฟัน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรค
โรคลิ้นหัวใจรั่ว การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปรกติ เกิดมากในเด็ก ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว สาเหตุของโรคเกิดจากอะไร แนวทางการรักษาโรค และ การป้องกันโรคทำอย่างไร
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้