กระท้อน ผลไม้ สมุนไพรไทย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม

กระท้อน นิยมทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อนเป็นอย่างไรกระท้อน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Santol ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน เช่น สะตู สตียา สะโต เตียนล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง เป็นต้น ต้นกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย จากนั้นมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในเขตร้อน เช่น อินเดีย เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์

กระท้อนในสังคมไทย

สำหรับกระท้อนกับสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์มาช้านาน นิยมนำผลกระท้อนมาทำอาหารรับประทาน เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน เป็นต้น นอกจากนั้นไม้จากต้นกระท้อน สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น

สายพันธุ์กระท้อน

สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนมีหลายสายพันธ์ แต่กระท้อนที่ได้รับความนิยมสูงสูด ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง รายละเอียด ดังนี้

  • กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือที่นิยมบริโภคมากที่สุด ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย คือ ผลมีรสหวาน เปลือกนิ่ม ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่
  • กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี  ลักกษณะของกระท้อนอีล่า คือ มีผลขนาดใหญ่ เมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กระท้อนพันธุ์อีล่ามักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์
  • กระท้อนพันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมของ ตำบลตะลุง จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ทับทิม คือ ผลกลม ขนาดไม่ใหญ่มาก มีรสหวาน สีเหลืองนวล ผิวเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม กระท้อนพันธุ์ทับทิม ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก
  • กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธ์นิ่มนวล คือ รสหวานจัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์กระท้อนที่นิยมบริโภคมากที่สุด เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ผลกลมแป้น ขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระท้อน มีดังนี้

  • ลำต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
  • ใบกระท้อน ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบรี ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
  • ดอกกระท้อน ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล
  • ผลกระท้อน ลักษณะกลมแป้น ผิวของผลมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนมีสีเขียว และผลมีน้ำยางสีขาว ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งผลแก่จะมีน้ำยางน้อยลง ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

สำหรับการบริโภคกระท้อนจะนิยมบริโภคผลสุก นักโภชนาการไดคศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระท้อนขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ธาตุแคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระท้อน ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชนืจาก รากกระท้อน ใบกระท้อน ผลกระท้อน เปลือกผลกระท้อน และ เมล็ดของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน มีดังนี้

  • รากกระท้อน สรรพคุณใช้ทำเป็นยาธาตุ ช่วยแก้ปวดท้อง ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกระท้อน สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสีียออกจากร่างกาย
  • ผลกระท้อน สรรพคุณช่วยสมานแผล แก้อาการอักเสบ
  • เปลือกของผลกระท้อน สรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • เมล็ดกระท้อน สรรพคุณมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง

โทษของกระท้อน

ผลกระท้อน มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตไม่คสรรับประทานกระท้อนเป็นอาหาร นอกจากนั้น ในผลกระท้อนที่มีการนำมาทำอาหาร ตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ สารฟอกขาว ปนเปื้อน หากรับประทานมากเกิดไปอาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

กระท้อน สมุนไพรไทย นิยมรับประทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน เช่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อน เป็นอย่างไร

Last Updated on April 19, 2023