ทับทิม ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณและโทษเป็นอย่างไร

ทับทิม ผลไม้เพื่อสุขภาพ ต้นทับทิมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม สรรพคุณของทับทิม ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บรรเทาโรคหัวใจ ลดความดันโลหิต โทษของทับทิมทับทิม สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของทับทิม

ต้นทับทิม ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ชื่อวิทยาศาสตร์ของทับทิม คือ Punica granatum L.  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของทับทิม เช่น พิลา พิลาสี หมากสีลา หมากจัง พิลาขาว มะก่องแก้ว และ มะเก๊าะ เป็นต้น ทับทิม มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอิหร่าน และ ทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย

น้ำทับทิม มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดการแข็งตัวของเลือด บรรเทาอาการโรคไขมันโลหิตสูง โรคโรคหัวใจ ช่วยให้สุขภาพหัวใจแข็งแรง สายพันธุ์ของทับทิม สำหรับสายพันธุ์ทับทิมดั้งเดิม สามารถจำแนกสายพันธุ์ทับทิมได้ 3 สายพันธุ์ คือ ทับทิมแดง ( Ahmar ) , ทับทิมแดง ( Asward ) และ ทับทิมแดง ( Halwa )

ทับทิมกับความเชื่อ

สำหรับเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆกับทับทิม เชื่อกันว่า ใบทับทิม เป็นใบไม้สิริมงคลใช้ในการประกอบพิธีน้ำมนต์ เพื่อคุ้มกันภัย ความเชื่อของชาวจีน นิยมใช้ทับทิมไหว้เจ้า และ บรรพบุรุษ เชื่อว่าทับทิมมีเมล็ดมาก สื่อความหมายถึงการมีลูกชายมากๆ คอยสืบสกุล และ สร้างความเจริญก้าวหน้า

ลักษณะของต้นทับทิม

ต้นทับทิม เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก อายุยาวนาน มากถึง 100 ปี ทับทิมชอบอากาศหนาวเย็น ชอบพื้นที่สูง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นทับทิม มีดังนี้

  • รากทับทิม มีระบบรากแก้วและรากฝอย
  • ลำต้นทับทิม ลักษณะลำต้นแตกกิ่งก้านตั้งแต่ระดับล่าง ความสูงของลำต้นประมาณ 2 เมตร เปลือกลำต้นบาง สีเทา เป็นมันเงา เนื้อไม้แข็งและเหนียว กิ่งของทับทิมมีหนามยาว
  • ใบทับทิม ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ ใบเรียวยาวปลายใบแหลม ผิวใบเรียบ สีเขียวเข้ม และใบเป็นมันวาว
  • ดอกทับทิม ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ออกดอกตามปลายยอดของกิ่ง กลีบดอกมีหลายสี เช่น ขาว ส้ม แดง
  • ผลทับทิม ลักษณะกลม เปลือกของผลหนา ผิวเปลือกเป็นมันวาวและผิวเกลี้ยง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมีเนื้อหุ้ม มีรสหวาน รับประทานได้ สามารถนำเมล็ดมาคั้นเป็นน้ำทับทิมได้

คุณค่าทางโภชนาการของทับทิม

สำหรับการรับประทานทับทิม นิยมรับประทานผลของเนื้อทับทิม นักโภชนาการได้ศึกษาคุณคค่าทางโภชนาการของเนื้อทับทิม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 83 กิโลแคลอรี ซึ่งมีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม น้ำตาล 13.67 กรัม กากใยอาหาร 4 กรัม ไขมัน 1.17 กรัม โปรตีน 1.67 กรัม วิตามินบี1 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.053 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.293 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.075 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม โคลีน 7.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 10.2 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.6 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.119 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 36 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 236 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 3 มิลลิกรัม และ
ธาตุสังกะสี 0.35 มิลลิกรัม

เปลือกของทับทิม มีสารในกลุ่มแทนนินสูงถึงร้อยละ 25 คือ Gallotannin และ Ellagictannin สรรพคุณช่วยลดอาการอักเสบ และ ต่อต้านการเจริญเติบโตของมะเร็งได้

สรรพคุณของทับทิม

สำหรับ สรรพคุณของทับทิม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากหลายส่วน เช่น เนื้อผลทับทิม เปลือกผลทับทิม ดอกทับทิม รากทับทิม และ ใบทับทิม สรรพคุณของทับทิม มีดังนี้

  • เนื้อของผลทับทิม สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด ต้านการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดดี ป้องกันโรคข้อกระดูกอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • เปลือกผลทับทิม เปลือกมีรสฝาด สรรพคุณช่วยขับพยาธิ แก้อาการท้องเสีย รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการถ่ายเป็นเลือด รักษาแผลติดเชื้อ รักษาแผลหนอง รักษาโรคผิวหนัง ป้องกันฟันผุ ลดกลิ่นปาก
  • ดอกทับทิม สรรพคณูช่วยห้ามเลือด
  • ลำต้นทับทิม สรรพคุณช่วยถ่ายพยาธิ ช่วยขับปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ
  • ใบทับทิม สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษาโรคผิวหนัง รักษารังแค รักษาแผลสด

โทษของทับทิม

สำหรับโทษของทับทิม เนื่องจากทับทิม มีความเป็นพิษที่เปลือกของผล และ ลำต้น การใช้ประโยชน์จากเปลือกและลำต้นของทับทิมต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง โทษของทับทิม มีดังนี้

  • เปลือกทับทิมที่มีสาร gallotannin ที่มีความเข้มข้นสูง ซึ่งเป็นพิษต่อตับ สำหรับผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทานเปลือกทับทิม
  • รากทับทิมีความเป็นพิษ การรับประทานรากและลำต้นของทับทิมในปริมาณมากอาจไม่ปลอดภัย

Last Updated on January 28, 2022