มะรุม สมุนไพร พืชพื้นบ้าน ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร

มะรุม สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย ลักษณะของต้นมะรุม ประโยชน์และสรรพคุณของมะรุม เช่น บำรุงผิวพรรณ ลดไขมันและคอเรสเตอรัล คุณค่าทางโภชนาการโทษของมะรุม

มะรุม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะรุม ( Moringa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะรุม คือ Moringa oleifera Lam. ชื่อเรียกอื่นๆของมะรุม เช่น บะค้อนก้อม ผักอีฮุม บักฮุ้ม เป็นต้น มะรุม จัดเป็นผักพื้นบ้าน มีประโยชน์มากมาย ทั้งด้านอาหาร ยา และ อุตสาหกรรม มะรุมเป็นไม้ยืน โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน

มะรุม มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย และ ในทวีปแอฟริกา ต้นมะรุมปลูกได้ง่าย เจริญเติบโตดีในดินทุกๆประเภท สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะการเมล็ดพันธ์ และ วิธีการปักชำ

ลักษณะต้นมะรุม

ต้นมะรุม เป็นไม้ยืนต้น ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน โตเร็ว ทนแล้ง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การปักชำ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นมะรุม มีดังนี้

  • ลำต้นของมะรุม ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลักษณะโปร่ง เปลือกของลำต้นมีสีเทา ผิวเปลือกเรียบ บาง ความสูงประมาณ 15 เมตร
  • ใบมะรุม เป็นในเดี่ยว ลักษณะใบเป็นทรงรี ปลายใบ และ ฐานใบ มน ใบมีขน ใบแตกออกจากก้าน ออกเรียงสลับกัน
  • ดอกมะรุม ออกเป็นช่อ ดอกมะรุมมีสีขาว ดอกออกตามข้อของกิ่ง ดอกมะรุมแก่ มีสีเหลืองนวล
  • ฝักมะรุม หรือ ผลมะรุม ฝักมะรุมอ่อน มีสีเขียว ฝักแก่จะมีสีน้ำตาล เปลือกหนา ลักษณะเป็นคลื่นนูนตามเมล็ด ภายในฝักมะรุมมีเมล็ด
  • เมล็ดมะรุม ลักษณะรี มีเยื่อหุ้มคล้ายกระดาษแก้วบางๆ ขนาดของเมล็ดประมาณ 1 เซ็นติเมตร

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

สำหรับการบริโภคมะุรุม นั้นนิยมบริโภคส่วนใบและฝักของมะรุม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุมและฝักมะรุม มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 26 แคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย โปรตีน 6.7 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ไขมัน 4.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.7 กรัม วิตามินเอ 6,780 μg. วิตามินซี 220 มิลลิกรัม แคโรทีน 110 μg. แคลเซียม 400 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 110 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.18 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 28 มิลลิกรัม และ โพแทสเซียม 259 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของฝักมะรุม ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 37 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 8.53 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.20 กรัม โปรตีน 2.10 กรัม น้ำ 88.20 กรัม วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.0530 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.620 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.794 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.120 มิลลิกรัม วิตามินบี9 44 ไมโครกรัม วิตามินซี 141 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.36 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 45 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.259 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 461 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 42 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.45 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะรุม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะรุม ในด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารุใช้ประโยชน์จากมะรุม มากมาย เช่น ใบมะรุม ฝักมะรุม เมล็ดมะรุม ยางจากต้นมะรุม รากมะรุม เปลือกมะรุม ดอกมะรุม โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ใบมะรุม สรรพคุณรักษาไข้ รักษาเลือดออกตามไรฟัน ลดอาการอักเสบ รักษาแผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงผิวพรรณ แก้ปวดหัว รักษาแผลสด
  • ยอดอ่อน ใช้ถอนพิษไข้
  • ดอกมะรุม สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง บำรุงดวงตา บำรุงสายตา
  • ฝักมะรุม สรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือด ลดคอเรสเตอรัลในร่างกาย แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต
  • เมล็ดของมะรุม สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ เป็นยาลดไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง แก้ไอ
  • รากมะรุม สรรพคุณบำรุงหัวใจ ทำให้ร่างกายอบอุ่น แก้อาการบวม รักษาโรคไขข้อ
  • เปลือกลำต้น สรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็ง
  • ยางมะรุม สรรพคุณรักษาโรคหอบหืด แก้ปวดฟัน แก้ปวดหู ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ รักษาซิฟิลิส
  • น้ำมันมะรุม สรรพคุณช่วยละลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงผม รักษาผมร่วง รักษาเชื้อราบนหนังศรีษะ แก้ปวดหัว รักษาสิว รักษาจุดด่างดำบนใบหน้า ฆ่าพยาทในหู รักษาหูน้ำหนวก รักษาเยื่อบุหูอักเสบ รักษาอาการคันตามผิวหนัง รักษาแผลสด รักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของมะรุม

สำหรับมะรุม นั้นการรับประทานมะรุมให้ปลอดภัย ต้องรับประทานมะรุมหรือใช้อย่างถูกวิธีในปริมาณที่เหมาะสม โดยข้อควรระวังในการบริโภคและการใช้ประโยยชน์จากมะรุม มีดังนี้

  • สตรีกำลังตั้งครรภ์ จากงานวิจัยบางชิ้น ระบุว่าการรับประทานมะรุมในช่วงนี้ อาจทำให้คุณแม่ผลิตน้ำนมออกมามากกว่าปรกติ จึงไม่ควรรับประทานมะรุม หากกำลังตั้งครรภ์ หรือ อยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • ใบมะรุม ควรรับประทานใบสดๆ รับประทานใบที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป และ ไม่ควรให้ใบมะรุมถูกความร้อนนานเกินไป การใช้ใบมะรุม มาทำอาหารไม่ควรให้เด็กทารก หรือ เด็กวัยไม่เกิน 2 ขวบ รับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้ท้องเสียได้
  • สตรีมีครรภ์ ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะ อาจจะทำให้แท้งบุตรได้
  • ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคเลือด ไม่ควรรับประทานมะรุม เพราะ อาจทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
  • เปลือกของลำต้นมะรุม มีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด สำหรับคนที่มีบุตรยาก หรือ ต้องการมีบุตร ไม่ควรกินมะรุม

Last Updated on March 18, 2021