พิมเสน borneol สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุน พิมเสนพบในพืช ประโยชน์ สรรรพคุณและโทษของพิมเสน

พิมเสน สมุนไพร

พิมเสน ชื่อสามัญ คือ borneol ชื่อวิทยาศาสตร์ของพิมเสน คือ Borneol camphor ชื่อเรียกอื่นๆของพิมเสน คือ พิมเสนเกล็ด ปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน เป็นต้น พิมเสนสรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด แต่พิมเสนทำให้ระคายเคืองดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร ได้ พิมเสน สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชัน ระหว่างการบูร กับ โซเดียมบอโรไฮไดรด์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน พบว่าในพิมเสรมีสารเคมี ที่มีคุณสมบัติคล้ายการบูร มีสารเคมี ประกอบด้วย d-Borneol , Humulene , Caryophyllene , Asiatic acid , Dryobalanon Erythrodiol , Dipterocarpol , Hydroxydammarenone2 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อโรคในลำไส้ใหญ่ เชื้อราบนผิวหนัง เป็นต้น

ชนิดของพิมเสน

สำหรับพิมเสน เป็นสารเคมีที่มีลักษณะพิเศษ พิมเสนมี 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ และ พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ เรียก พิมเสนแท้ เกิดจากการระเหิดของยางของพืชตระกูลยางนา พิมเสน จะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร และระเหิดได้ช้ากว่าการบูร คุณสมบัติติดไฟและให้แสงสว่างจ้า มีควัน ไม่มีขี้เถ้า
  • พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ เรียก พิมเสนเทียม ได้จากการสกัดจากต้นการบูรและน้ำมันสน โดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา จนเกิดเกร็ดสีขาว ให้คุณสมับติเหมือนพิมเสนแท้

ประโยชน์ของพิมเสน

พิมเสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน สมุนไพร และ การรักษาโรค เป็นหลัก นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ผสมในลูกประคบ  ยาหม่อง น้ำอบไทย ยาหอม เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองตื่นตัว ได้

สรรพคุณของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์ของพิมเสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มี รายละเอียด ดังนี้

  • เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด บำรุงหัวใจ
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นสมอง
  • ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  • แก้วิงเวียนหน้ามืด
  • ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
  • แก้ไอ
  • รักษาแผลในปาก เหงือกบวม
  • ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมทำให้เรอ ลดการจุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการปวดท้อง
  • รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  • ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง รักษาแผลอักเสบ ฟกช้ำ และ กลากเกลื้อน แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ปวดบวม แก้อักเสบ

โทษของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพิมเสนมีข้อควรระวังอยู้บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินพิมเสน
  • การใช้พิมเสนมากเกินไป เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

พิมเสน ( borneol ) คือ สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร พิมเสนพบในพืช ประโยชน์และสรรรพคุณของพิมเสน โทษของพิมเสน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 3.56. ISBN 0-8493-0486-5.
  • คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 499, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  • Wong, K. C.; Ong, K. S.; Lim, C. L. (2006). “Composition of the essential oil of rhizomes of Kaempferia Galanga L.”. Flavour and Fragrance Journal. 7 (5): 263–266. doi:10.1002/ffj.2730070506.
  • พิมเสน – ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • Plants containing borneol เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Dr. Duke’s Phytochemical and Ethnobotanical Databases)]
    “Chemical Information”. sun.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • Material Safety Data Sheet, Fisher Scientific

ถั่วลิสง อุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี กากใยอาหาร สรรพคุณบำรุงหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยลดน้ำหนัก ต้นถั่วลิสงเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชาการและโทษมีอะไรบ้าง

ถั่วลิสง สมุนไพร สรรพคุณของถั่วลิสง

ถั่วลิสง ภาษาอังกฤษ เรียก Peanut ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วลิสง คือ  Arachis hypogaea L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วลิสง เช่น  ถั่วคุด  ถั่วดิน ถั่วยิสง ถั่วยี่สง ถั่วลิง ถั่วใต้ดิน เหลาะฮวยแซ ถั่วยาสง เป็นต้น ถั่วลิสงอุดมไปด้วยโปรตีน ไขมันดี และ กากใยอาหาร มีสรรพคุณ เช่น บำรุงหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวาน ต้านมะเร็ง ราคาถูกเป็นอาหารที่หากินง่ายและได้ประโยชน์ไปในตัว

ถั่วลิสง มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกาใต้ สำหรับการปลูกถั่วลิสงในประเทศไทย มีการปลูกทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่มีมากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยผลผลิตถั่วลิสงในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ จึงได้มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยแหล่งส่งออกถั่วลิสงที่สำคัญ เช่น ประเทศจีน แอฟริกา อินเดีย อเมริกา

งานวิจัยเกี่ยวกับถั่วลิสง โดยทีมวิจัยของ ศาตราจารย์วอร์เตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา เปรียบเทียบระหว่างผู้ที่รับประทานถั่วลิสงทุกวันกับผู้ที่ไม่ได้รับประทาน พบว่าผู้ที่รับประทานถั่วลิสงทุกวันจะมีอายุที่ยืนยาวมากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานอย่างมีนัยสำคัญ  และ คนที่กินถั่วลิสงมีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคหัวใจ น้อยกว่าผู้ที่ไม่รับประทานถั่วลิสงมากถึงสองเท่า

ลักษณะของต้นถั่วลิสง

ต้นถั่วลิสง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นถั่วลิสง มีดังนี้

  • ลำต้นถั่วลิสง ลำต้นมีความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขน ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นเลื้อย และ เจริญเติบโตตามแนวนอนทอดไปตามพื้นผิวดิน ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย
  • ใบถั่วลิสง ลักษณะใบเป็นใบประกอบแบบขนนก สลับกันอยู่บนข้อลำต้น ใบเป็นรูปไข่ ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว ปลายแหลม
  • ดอกถั่วลิสง ลักษณะดดอกออกเป็นช่อ ดอกจะเกิดตามมุมใบของลำต้นหรือกิ่ง ดอกมีสีเหลืองส้ม กลีบรองดอกสีเขียว ก้านดอกสั้นมาก
  • ฝักถั่วลิสง ฝักของถั่วลิสงจะอยู่ใต้ดิน แพร่กระจายเป็นกระจุก เปลือกของฝักมีลักษณะแข็งเปราะ มีลายเส้นชัด ฝักมีสีน้ำตาลอ่อนๆ ภายในฝักมีเมล็ดอยู่ประมาณ 1-6 เมล็ด
  • เมล็ดถั่วลิสง อยู่ภายในฝักภั่วลิสง เมล็ดถั่วลิสงจะมีเยื่อหุ้มสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง

สำหรับการบริโภคถั่วลิสงเป็นอาหารนั้น นิยมรับประทานเมล็ดถั่วลิสง ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วลิสง ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 570 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21 กรัม น้ำ 4.26 กรัม น้ำตาล 0 กรัม กากใยอาหาร 9 กรัม ไขมัน 48 กรัม ไขมันอิ่มตัว 7 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 24 กรัม ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 16 กรัม โปรตีน 25 กรัม วิตามินบี1 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี3 12.9 มิลลิกรัม วิตามินบี6 1.8 มิลลิกรัม วิตามินบี9 246 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 184 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 336 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 332 มิลลิกรัมและธาตุสังกะสี 3.3 มิลลิกรัม

เมล็ดถั่วลิสงมีน้ำมันเป็นองศ์ประกอบ ประมาณ 50 เปอร์เซนต์ ซึ่งน้ำมันถั่วลิสงมีประโยชน์มาก เนื่องจากมีโอเลอีน และกรดอะมิโนมีประโยชน์ในการสร้างเม็ดเลือดขาว ช่วยสร้างภูมคุ้มกันให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี น้ำมันถั่วลิสงค์ เมล็ดถั่วลิสงสะสมของธาตุอาหารที่มีประโยชน์มากมายน้ำมันถั่วลิสงยังเป็นไบโอดีเซลได้ สามารถเติมเครื่องยนต์ดีเซลได้ ทนแทนการใช้น้ำมันได้

สรรพคุณของถั่วลิสง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสง ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก เมล็ด น้ำมันถั่วลิสง ใบ สรรพคุณของถั่วลิสง มีดังนี้

  • น้ำมันถั่วลิสง สรรพคุณทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยระบายท้อง ช่วยหล่อลื่นลำไส้ แก้อาการปวดตามข้อและอาการตามกล้ามเนื้อ ฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
  • ใบถั่วลิสง สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต รักษาแผลฟกช้ำ แผลหกล้มกระแทก และแผลมีหนองเรื้อรัง
  • เมล็ดถั่วลิสง สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมองและประสาทตา ช่วยเสริมสร้างความจำ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยบำรุงไขมันในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ช่วยบำรุงปอด รักษาอาการไอแห้งเรื้อรัง ช่วยรักษาอาการไอกรน ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาโรคบิด ช่วยรักษาพยาธิไส้เดือนที่อุดตันในลำไส้ ช่วยบำรุงม้าม ช่วยห้ามเลือด ช่วยแก้อาการปลายเท้าเป็นเหน็บชา ช่วยบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร ช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเพศ

โทษของถั่วลิสง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วลิสง ต้องใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม โดยโทษของถั่วลิสง มีดังนี้

  • ถั่วลิสงมีสารพิวรีน ( Purine ) ปานกลาง ผู้ป่วยโรคเกาต์ควรรับประทานในปริมาณที่จำกัด เพราะ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้ข้ออักเสบมากขึ้น
  • ถั่วลิสงอาจมีสารพิษที่เกิดจากเชื้อรา คือ สารอะฟลาทอกซิน ( Aflatoxin ) ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งที่ตับ หัวใจ และสมองบวม อาจทำให้เกิดอาการชัก หายใจลำบาก และตับถูกทำลายได้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย