กะเพรา สมุนไพร พืชสวนครัวคู่ครัวไทย รู้จักกับต้นกระเพรา

กะเพรา นิยมรับประทานใบกระเพราเป็นอาหาร สรรพคุณช่วยขับถ่าย ปรับสมดุลธาตุ เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย รักษาโรคผิวหนังที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ขับลมในกระเพาะอาหารกระเพรา สมุนไพร สรรพคุณของกระเพรา สมุนไพรไทย

ต้นกระเพรา ชื่อสามัญ คือ Holy basil และ  Sacred basil ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์ของกะเพราะ คือ Ocimum tenuiflorum L .และชื่ออื่นๆของกระเพราในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ กอมก้อ กอมก้อดง ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ) ห่อกวอซู ห่อตูปลู อิ่มคิมหลำ ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ) กะเพราขน กะเพราขาว กะเพราแดง ( ภาษาท้องถิ่นภาคกลาง ) อีตู่ไทย ( ภาษาอีสาน ) มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย นำเข้ามาปลูกเป็นพืชผักสวนครัวในประเทศไทย พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ทุกส่วนของต้นกะเพรา สามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้

ลักษณะของต้นกระเพรา

กะเพรา เป็นพืชล้มลุก อายุปานกลาง มีความสูงไม่เกิน 50 เซนติเมตร ลำต้นสีแดงอมเขียว และ ยอดอ่อนมีขนเล็กๆ ใบเป็นแบบเดี่ยว ปลายแหลมและมน ออกดอกขนาดเล็กกลีบดอกมีสีขาวปนม่วงอ่อน ผลขนาดเล็กเมื่อแห้งจะแตกออก มีเมล็ดขนาดเล็กรูปไข่ ปลูกง่าย ไม่ต้องการแสงมาก ไม่ต้องการการดูแลมาก มีกลิ่นหอม สามารถใช้ไล่แมลงได้ดี

ประโยชน์ของกะเพรา 

  • ใช้ประกอบอาหาร ให้กลิ่นหอมเฉพาะตัว เพิ่มรสชาติให้กับอาหาร
  • น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ การสกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้การต้มกลั่นจนได้น้ำมันหอมระเหย ใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย มีราคาสูง ได้จากทุกส่วนของต้นกะเพราะ
  • ไล่ยุงหรือฆ่ายุง ไล่แมลงต่างๆ

สรรพคุณของกะเพราะ

การใช้ประโยชน์จากกระเพราด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์ได้จาก นอกจากกะเพราะ จะเป็นที่รู้จักดีในการใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร โดยเฉพาะ ผัดกะเพราแล้ว ยังมีสรรพคุณอื่นๆอีกมากมาย ได้แก่

  • ใบสดของกระเพรา จะมีน้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วย ไลนาลูออล ( linalool ) และ เมทิลคาวิคอล ( methylchavicol ) สามารถนำมาใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ
  • ใบแห้งของกระเพรา นำมาบดใช้ชงดื่มเป็นชา สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติมโตของเชื้อโรคบางชนิด ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด
  • เมล็ดของกระเพรา นำเมล็ดไปแช่น้ำ เมล็ดจะพองเป็นเมือกสีขาว นำไปพอกในบริเวณตา จะไม่ทำให้ตาเราช้ำ
  • รากของกระเพรา ใช้รากแห้ง นำมาชงหรือต้มดื่ม แก้โรคธาตุพิการ

โทษของกระเพรา

การปลูกกระเพรามีการปลูกในลักษณะของเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งอาจมีการใช้สารเคมี ทำให้เกิดสารตกค้างได้ การนำใบประเพรามาบริโภค ควรทำความสะอาด ให้ไม่มีสารตกค้าง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการสะสมสารพิษในร่างกายได้ และ สรรพคุณของใบกระเพราทำให้ร่างกายอบอุ่น เป็นพืชที่มีฤทธิ์ร้อน การกินกระเพรามากเกินไปก็อาจทำให้เกิดอาการร้อนในได้

กะเพรา สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมรับประทานใบกระเพราเป็นอาหาร สรรพคุณของกระเพรา ช่วยขับถ่าย ปรับสมดุลธาตุ เพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย รักษาโรคผิวหนังที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ขับลมในกระเพาะอาหาร

Last Updated on March 18, 2021