ผักชี Coriander สมุนไพร ผักสวนครัว มีกลิ่นแรง นิยมทำมาประกอบอาหาร สามารถใช้เป็นยาได้ สรรพคุณของผักชี ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

ผักชี สมุนไพร ผักสวนครัว

ผักชี ภาษาอังกฤษ เรียก Coriander ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักชี คือ Coriandrum sativum L. ชื่อเรียกอื่นๆของผักชี เช่น ผักชีไทย ผักหอม ผักหอมน้อย ยำแย้ ผักหอมป้อม ผักหอมผอม เป็นต้น ผักชีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน สามารถปลูกได้ใน ประเทศเขตร้อนชื้น ทั่วไป ให้ผลผลิตดี ในช่วง ฤดูหนาว แต่ ไม่หนาวมาก พบว่า มีการปลูกมากในภาคกลาง จังหวัดราชบุรี จังหวัดนครปฐม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี

ประโยชน์ของผักชี ผักชีนำมาทำอาหาร เพิ่มสีสัน รสชาติ กลิ่น ให้กับอาหารเป็นส่วนประกอบในการถนอมอาหาร เช่น การทำแหนม การหมักเนื้อต่างๆ ดับกลิ่นคาวของอาการประเภทเนื้อ เช่น ปลา น้ำจืดต่างๆ นิยมใช้ราก ในการเพิ่มรสชาติ ในน้ำซุป และ การหมักเนื้อ ร่วมกับ พริกไทยดำ

ผักชีในประเทศไทย

สำหรับผักชีในประเทศไทย เป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะ เป็นผักที่นิยมกินในอาหารไทย การปลูกและขายผักชีจึงมีการทำเป็นอาชีพ ผักชีสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยแหล่งผักชีของประเทศไทย ได้แก่ ราชบุรี นครปฐม และ กรุงเทพมหานคร

สายพันธ์ุผักชี

สายพันธุ์ของผักชีที่นิยมปลูกมี 2 สายพันธ์ คือ ผักชีพื้นเมือง และ ผักชีแอฟฟริกา โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ผักชีพันธุ์อาฟริกา ลักษณะเด่น คือ ต้นมีขนาดใหญ่ ใบหนาและใหญ่ มีกลิ่นหอมเล็กน้อย และอายุยาวกว่าผักชีพันธุ์พื้นเมือง
  • ผักชีพันธุ์พื้นเมือง ลักษณะเด่น คือ ต้นขนาดเล็ก ใบบาง เมล็ดเล็ก ออกดอกเร็ว อายุสั้น มีกลิ่นฉุนมาก

ลักษณะของต้นผักชี

ต้นผักชี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ถิ่นกำเนิดของผักชีอยู่ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน ปัจจุบันนิยมปลูกในประเทศไทย ลักษณะของต้นผักชี มีดังนี้

  • รากของผักชี มีรากฝอยจำนวนมาก แต่รากเป็นรากแก้ว ที่ไม่ยาวมาก
  • ลำต้นของผักชี ลำต้นสูงประมาณ 12 นิ้ว มีสีเขียว ลำต้นอวบน้ำ ลักษณะตั้งตรง ภายในกลวง มีกิ่งก้านเล็กๆ ลำต้นผิวเรียบ
  • ใบของผักชี ใบเป็นแฉกๆ เป็นใบเดียวมีสีเขียว มีกลิ่นฉุนหอม
  • ดอกของผักชี ดอกของผักชีนั้นจะออกจากโคนลำต้น และ ตั้งตรงเหนือยอดของต้น ดอกมีขนาดเล็ก
  • เมล็ดของผักชี ลักษณะทรงกลม อยู่ตรงกลางดอกผักชี เป็นส่วนที่สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

สรรพคุณของผักชี

สำหรับการใช้ประโยชน์จากผักชีด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากทั้งต้นของผักชี ซึ่งสรรพคุณของผักชี มีดังนี้

  • สรรพคุณขับสารพิษต่างๆออกจากระบบทางเดินอาหาร
  • สรรพคุณลดอาการไอ ละลายเสมหะ แก้หวัด ลดน้ำมูก
  • สรรพคุณขับเหงื่อ ช่วยให้สารพิษออกทางเหงื่อ
  • สรรพคุณแก้อาการสะอึก แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้วิงเวียนศีรษะ
  • สรรพคุณแก้กระหายน้ำ
  • ช่วยลดโอกาศการเกิดโรคมะเร็ง
  • ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการซูบผอม ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
  • บำรุงสายตา ให้มองเห็นชัดเจนขึ้น
  • ลดอาการปวดฟัน
  • บำรุงกระเพาะอาหาร
  • รักษาอาการปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • สามารถต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย ได้ดี
  • รักษาผื่นแดงในเด็ก และ ผื่นหัด
  • ลดอาการปวด อาการบวมตามข้อ

โทษของผักชี

สำหรับการกินผักชีเป็นอาหารและใช้ประโยชน์ในการเป็นยารักษาโรค ควรมีข้อควรระวังการใช้ผักชี ดังนี้

  • สำหรับคนที่มีิิอาการแพ้คื่นช่าย ยี่หร่า เทียนข้าวเปลือก เทียนสัตตบุษย์ กระเทียม หรือ หอมใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชี เนื่องจากเป็นพืชตระกูลเดียวกัน
  • ผักชีมีโพแทสเซียมสูง ทำให้ไตทำงานหนัก ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรกินผักชีมากเกินไป
  • กินผักชีมากเกินไป อาจทำให้มึนหัว เพราะ กลิ่นของผักชีแรง

มะขาม สมุนไพร ไม้ยืนต้น นิยมรรับประทานผลมะขามเป็นผลไม้ ปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สรรพคุณของมะขาม กากใยอาหารสูง วิตามินสูง บำรุงทางเดินอาหาร ขับเสมหะ บำรุงผิวมะขาม สมุนไพร สมุนไพรไทย ผลไม้

ต้นมะขาม ภาษาอังกฤษ เรียก Tamarind ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะขาม คือ Tamarindus indica L. เป็นพืชตระกูลถั่วมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา และมีการนำเข้ามาปลูกในแถบเอเชียในเวลาต่อมา ต้นมะขามปลูกมากที่จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์

มะขามในประเทศไทย

เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อในสังคมไทย มองว่ามะขามเป็นไม้มงคล นิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าสามารถป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย ด้านของชื่อมะขาม พ้องกับคำว่าเกรงขาม ชื่อเป็นมงคลจึงนิยมปลูกเพื่อเป็นสิริมงคลกับคนภายในประเทศ มะขามจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง สำหรับจังหวัดที่ขึ้นชื่อเรื่องมะขาม คือ เพชรบูรณ์ มีฉายาว่า เมืองมะขามหวาน เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับ การปลูกมะขาม มะขามในประเทศไทย มี 2 กลุ่ม คือ มะขามเปรี้ยว ( sour tamarind ) และ มะขามหวาน ( sweet tamarind )

มะขามสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย นิยมนำมาทำอาหารทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด เนื้อมะขามแก่ หรือ มะขามเปียก มีรสเปรี้ยวใช้ปรุงรสอาหารทั้งใช้เป็นส่วนผสมของแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย น้ำปลาหวาน ยอดและใบอ่อนมะขาม นำมาต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว รวมถึงผลมะขามนำมาแปรรูปทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะขาม

ต้นมะขาม คือ ไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ลักษณะแตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่มีหนาม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะขาม มีดังนี้

  • ลำต้นมะขาม ตั้งตรง สูงประมาณ 10-15 เมตร เปลือกขรุขระ หนา สีน้ำตาลอ่อน
  • ใบมะขาม มีขนาดเล็ด จำนวนมาก ใบเป็นใบประกอบ ปลายใบและโคนใบมน
  • ดอกมะขาม ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก สีเหลือง มีจุดประสีม่วงแดง
  • ผลมะขาม ออกเป็นฝักยาว ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา หรือ สีน้ำตาลเกรียม มีเนื้อในติดกับเปลือก ส่วนฝักแก่ฝัก เปลือกแข็งกรอบ และ หักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในเป็นสีน้ำตาล เนื้อมะขามแก่มีรสเปรี้ยว มีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมะขาม 

การรับประทานมะขามนิยมรับประทานผลเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะขามดิบขนาด  100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 239 กิโลแคลอรี มีสารอาการต่างๆประกอบด้วย วิตามินบี 1 0.428 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.152 มิลลิกรัม วิตามินบี 3 1.938 มิลลิกรัม วิตามินบี 5 0.143 มิลลิกรัม วิตามินบี 6 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 14 ไมโครกรัม โคลีน 8.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 3.5 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.1 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.8 ไมโครกรัม

สรรพคุณของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของมะขามด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากใบ ผล ราก โดยสรรพคุณของมะขาม มีดังนีเ

  • ผลมะขาม สรรพคุณเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย ลดการเกิดริ้วรอย บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงเลือด ช่วยลดรอยคล้ำ ช่วยกำจัดแบคทีเรีย ช่วยขจัดคราบสกปรกบริเวณฟัน บำรุงรากผม ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ บำรุงสายตา แก้ท้องผูก แก้ท้องเดิน ช่วยถ่ายพยาธิตัวกลมในลำไส้และพยาธิไส้เดือน  ช่วยขับเสมหะ ละลายเสมหะ
  • รากมะขาม สรรพคุณช่วยในการรักษาโรคเริม รักษาโรคงูสวัด
  • เปลือกลำต้นมะขาม สรรพคุณช่วยลดไข้ ช่วยรักษาแผลสด รักษาแผลไฟลวก แผลเบาหวาน
  • แก่นไม้มะขาม สรรพคุณช่วยรักษาฝีในมดลูก ช่วยขับโลหิต ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ ใช้สำหรับสตรหลังคลอด
  • ใบมะขาม สรรพคุรเป็นยาระบาย ช่วยขับลมในลำไส้ รักษาไข้หวัด อาการไอ รักษาโรคบิด ใช้เป็นยาหยอดตา รักษาเยื่อตาอักเสบ แก้อาการตามัว
  • เนื้อหุ้มเมล็ดของมะขาม สรรพคุณเป็นยาสวนล้างท้อง
  • ผลดิบมะขาม สรรพคุณลดความอ้วน เป็นยาระบาย ลดไข้
  • เปลือกเมล็ดมะขาม สรรพคุณช่วยสมานแผลที่ช่องปาก คอ ลิ้น และตามร่างกาย
  • ดอกมะขาม สรรพคุณเป็นยาลดความดันโลหิตสูง

โทษของมะขาม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะขาม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ดังนี้

  • มะขามเปียก ที่ซื้อในตลาดอาจมีสิ่งสกปรกเจือปน หากนำมาทำอาหาร หรือ รับประทานแบบไม่สะอาด อาจทำให้ท้องเสียอย่างหนัก ซึ่งมะขามมีสรรพคุณเป็นยาระบายอยู่แล้ว อาจเป็นอันตรายได้หากเกิดภาวะติดเชื้อที่ระบบทางเดินอาหาร และ ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • มะขามเปียกใช้ขัดผิว หรือ พอกหน้า แต่หากใช้มะขามเปียกเกินอาทิตย์ละ 2 ครั้ง อาจทำให้ผิวระคายเคืองได้
  • สำหรับการขัดผิว หรือ พอกหน้า ด้วยมะขามปียก อย่าลืมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยครีมบำรุงผิว และ ครีมกันแดด
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย