ว่านชักมดลูก สมุนไพรสำหรับสตรี สรรพคุณและโทษเป็นอย่างไร

ว่านชักมดลูก สมุนไพรมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง เรียกว่า ไฟโตเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนมาปกติ กระชับมดลูก บำรุงผิวพรรณ ดูสดใส อ่อนกว่าวัย

ว่านชักมดลูก สมุนไพร

ว่านชักมดลูกชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย สำหรับการปลูกว่านชักมดลูกในประเทศไทยมีการปลูกมากในจังหวัดเลย และ เพชรบูรณ์ เพื่อนำมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุงสตรี ตำรับยาสมุนไพรไทย พบว่าใช้ว่านชักมดลูกมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย และ ว่านชักมดลูกตัวผู้

ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก

ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้

  • ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
  • ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
  • ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง

สรรพคุณว่านชักมดลูก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูกด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ใช้ประโยชน์จากเหง้าของว่านชักมดลูก ซึ่งสรรพคุณของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
  • ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
  • ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
  • ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
  • ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
  • ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
  • ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
  • ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
  • กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
  • รักษาโรคริดสีดวงทวาร

โทษของว่านชักมดลูก

ถึงแม้ว่าว่านชักมดลูกจะมีประโยชน์มากมายแต่ต้องระมัดระวังถึงผลข้างเคียง ซึ่งโทษของว่านชักมดลูกมีดังนี้

  • ในระยะแรกของการกินว่านชักมดลูก จะมีตกขาวมากกว่าปกติ ไม่ต้องตกใจสามารถกินต่อได้เลย อาการจะดีขึ้นในที่สุด
  • สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยกินมาก่อน เมื่อกินครั้งแรกอาจจะมีอาการไข้ อาการปวดศีรษะ อาการไอ ให้ลดปริมาณการกินลงครึ่งหนึ่ง จนอาการหายดี แล้วค่อยเพิ่มปริมาณเท่าเดิม
  • ในบางรายพบอาการแพ้ โดยจะมีมีผื่นขึ้น บริเวณผิวหนัง และ ตามลำตัว ให้ลองลดปริมาณการกิน จนอาการดีขึ้น จึงกินในปริมาณปกติ หรือ หากไม่หายดีให้เลิกกิน
  • บางรายพบว่ามี อาการปวดหน้าบริเวณอก ตึงแน่นหน้าอก หรือ ปวดบริเวณท้องน้อย มดลูก ภายในช่องคลอด หากพบว่ามีอาการดัง ควรลดปริมาณยาลงครึ่งหนึ่ง หากอาการดีขึ้น ค่อยรับประทานในปริมาณมากขึ้น จนถึงที่กำหนดปกติ
  • พบในบางรายว่าสตรีวัยทอง หรือ สตรีวัยหมดประจำเดือน หลังจากรับประทานว่านชักมดลูก อาจจะมีประจำเดือนใหม่เกิดขึ้น ซึ่งคุณสามารถรับประทานต่อไปได้ ไม่ต้องกังวล ประจำเดือนที่เกิดขึ้นก็จะค่อย ๆหมดไปเอง ตามธรรมชาติ

Last Updated on February 28, 2024