ดีปลี สมุนไพร รสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทำเครื่องเทศ

ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสตรี ผลดีปลีนิยมนำมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย แหล่งปลูกดีปลีในประเทศไทยดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี

ต้นดีปลี ภาษาอังกฤษ เรียก Long pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของดีปลี เช่น ดีปลีเชือก ปานนุ ประดงข้อ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ต้นดีปลีมีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย นิยมใช้แทนพริกไทย ให้รสชาติคล้ายกัน ซึ่งปลูกมากในประเทศอินโดนีเซีย ไทย และ มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยแหล่งปลูกดีปลี คือ พื้นที่ภาคใต้ กาญจนบุรี นครปฐม และ จันทบุรี

ประโยชน์ของดีปลี ใช้รับประทานเป็นผักสด เพิ่มรสชาติ ความเผ็ดร้อน แทนพริกไทยในการปรุงอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หรือ เนื้อสัตว์ได้ดี ใช้ในการหมักเนื้อสัดว์ เพราะ ดีปลีมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยถนอมอาหาร พวกของหมัก ของดอง แต่งรสการหมักได้ดี รวมถึงปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ไม้เลื้อยตามต้นไม้ใหญ่ เพิ่มความเย็น ชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น มีผลสีแดง สวยงาม และสกัดจากดีปลีสามารถกำจัดแมลง เพราะ ดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ที่สามารถฆ่าแมลงด้วงงวง และ ด้วงถั่ว ได้ดี

ดีปลีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นิยมใช้ผลดีปลีเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ซึ่งให้กลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อน รวมถึงยังเป็นส่วนประกอบของตำรับยาแผนโบราณหลายตำรับ เช่น พิกัดเบญจกูล พิกัดตรีสันนิบาตผล พิกัดตรีกฎุก ยาอาภิสะ ยาหอมนวโกฐ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ เป็นต้น ดีปลีจึงมีการปลูกเพื่อการพาณิชย์ ป้อนสู่ตลาดอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณ แหล่งผลิตดีปลีในประเทศไทย คือ จังหวัดกาญจนบุรี(ตำบลบ้านใหม่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอเมือง) จังหวัดนครปฐม จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะของต้นดีปลี

ดีปลี เป็นไม้เลื้อย ชอบพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินร่วนซุย สามารถเติิบโตได้ดีในทุกสภาพดิน สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นดีปลี มีดังนี้

  • ลำต้นดีปลี เป็นเถาพันกับต้นไม้ใหญ่ ค่อนข้างเหนียว มีรากฝอย งอกออกบริเวณข้อปล่อง เพื่อใช้ยึดเกาะ และ เลื้อยพัน กับต้นไม้ใหญ่ คล้ายต้นพริกไท ลำต้นเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เนื้อไม้อ่อน และเปราะหักง่าย
  • ใบดีปลี เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ยาวรี โคนใบมนค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันวาว
  • ดอกดีปลี ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ โดยมีดอกย่อยอัดกันแน่น
  • ผลดีปลี ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง และผลแก่สีเขียวเข้ม สุกผลจะเป็นสีแดง ผลมีกลิ่นฉุนแรง

สรรพคุณของดีปลี 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดีปลี ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ลำต้น ใบ และ ดอก สรรพคุณของดีปลีมีดังนี้

  • ผลดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ไอ รักษาพิษงู แก้ปวด แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดู ช่วยขับพยาธิ
  • รากดีปลี สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม
  • ลำต้นดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ใบดีปลี สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย
  • ดอกดีปลี สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ

ตำรับยาที่มีดีปลีเป็นส่วนประกอบ

  • พิกัดเบญจกูล ประกอบไปด้วย ดอกดีปลี รากช้าพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง  แก้ในกองฤดู กองสมุฎฐานต่าง ๆ ช่วยกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ ช่วยระงับโรคอันบังเกิดแต่ทวัตติงสาหาร
  • พิกัดตรีสันนิบาตผล ประกอบไปด้วย ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกะเพราแดง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ในกองลม
  • พิกัดตรีกฎุก ประกอบไปด้วย ดีปลี ขิงแห้ง และพริกไทย แก้โรคที่เกี่ยวกับลม ดี ฤดู
  • ยาอาภิสะ แก้อาการไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ และช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ยาหอมนวโกฐ แก้ลมวิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
  • ยาประสะกานพลู แก้อาการในช่องท้อง บรรเทาอาการปวดท้อง อาการจุกเสียด แน่นท้องน้อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยปกติ สาเหตุเนื่องจากธาตุไม่ปกติ
  • ยาประสะไพล เกี่ยวกับสตรี แก้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือ มาน้อยของสตรี ฤทธิ์กระตุ้นมดลูก
  • ยาเหลืองปิดสมุทร แก้อาการอุจจาระแปลกไม่เป็นมูก หรือ มีเลือดปะปน หรือ อาการท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ ไม่มีการติดเชื้อ
  • ยาธาตุบรรจบ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ท้องโต ลงพุง

โทษของดีปลี

สำหรับการนำดีปลีมาใช้ประโยชน์แต่จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสตรีมีครรถ์ ไม่ควรรับประทานผลดีปลีเนื่องมีสรรพคุณร้อนกระตุ้นการขบเลือดอาจทำให้แท้งบุตรได้ การรับประทานดีปลีในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ และแสบทวารเวลาขับถ่าย

Last Updated on March 18, 2021