ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสตรี ผลดีปลีนิยมนำมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย แหล่งปลูกดีปลีในประเทศไทยดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี

ต้นดีปลี ภาษาอังกฤษ เรียก Long pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของดีปลี เช่น ดีปลีเชือก ปานนุ ประดงข้อ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ต้นดีปลีมีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย นิยมใช้แทนพริกไทย ให้รสชาติคล้ายกัน ซึ่งปลูกมากในประเทศอินโดนีเซีย ไทย และ มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยแหล่งปลูกดีปลี คือ พื้นที่ภาคใต้ กาญจนบุรี นครปฐม และ จันทบุรี

ประโยชน์ของดีปลี ใช้รับประทานเป็นผักสด เพิ่มรสชาติ ความเผ็ดร้อน แทนพริกไทยในการปรุงอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หรือ เนื้อสัตว์ได้ดี ใช้ในการหมักเนื้อสัดว์ เพราะ ดีปลีมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยถนอมอาหาร พวกของหมัก ของดอง แต่งรสการหมักได้ดี รวมถึงปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ไม้เลื้อยตามต้นไม้ใหญ่ เพิ่มความเย็น ชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น มีผลสีแดง สวยงาม และสกัดจากดีปลีสามารถกำจัดแมลง เพราะ ดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ที่สามารถฆ่าแมลงด้วงงวง และ ด้วงถั่ว ได้ดี

ดีปลีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นิยมใช้ผลดีปลีเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ซึ่งให้กลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อน รวมถึงยังเป็นส่วนประกอบของตำรับยาแผนโบราณหลายตำรับ เช่น พิกัดเบญจกูล พิกัดตรีสันนิบาตผล พิกัดตรีกฎุก ยาอาภิสะ ยาหอมนวโกฐ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ เป็นต้น ดีปลีจึงมีการปลูกเพื่อการพาณิชย์ ป้อนสู่ตลาดอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณ แหล่งผลิตดีปลีในประเทศไทย คือ จังหวัดกาญจนบุรี(ตำบลบ้านใหม่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอเมือง) จังหวัดนครปฐม จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะของต้นดีปลี

ดีปลี เป็นไม้เลื้อย ชอบพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินร่วนซุย สามารถเติิบโตได้ดีในทุกสภาพดิน สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นดีปลี มีดังนี้

  • ลำต้นดีปลี เป็นเถาพันกับต้นไม้ใหญ่ ค่อนข้างเหนียว มีรากฝอย งอกออกบริเวณข้อปล่อง เพื่อใช้ยึดเกาะ และ เลื้อยพัน กับต้นไม้ใหญ่ คล้ายต้นพริกไท ลำต้นเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เนื้อไม้อ่อน และเปราะหักง่าย
  • ใบดีปลี เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ยาวรี โคนใบมนค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันวาว
  • ดอกดีปลี ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ โดยมีดอกย่อยอัดกันแน่น
  • ผลดีปลี ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง และผลแก่สีเขียวเข้ม สุกผลจะเป็นสีแดง ผลมีกลิ่นฉุนแรง

สรรพคุณของดีปลี 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดีปลี ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ลำต้น ใบ และ ดอก สรรพคุณของดีปลีมีดังนี้

  • ผลดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ไอ รักษาพิษงู แก้ปวด แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดู ช่วยขับพยาธิ
  • รากดีปลี สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม
  • ลำต้นดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ใบดีปลี สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย
  • ดอกดีปลี สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ

ตำรับยาที่มีดีปลีเป็นส่วนประกอบ

  • พิกัดเบญจกูล ประกอบไปด้วย ดอกดีปลี รากช้าพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง  แก้ในกองฤดู กองสมุฎฐานต่าง ๆ ช่วยกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ ช่วยระงับโรคอันบังเกิดแต่ทวัตติงสาหาร
  • พิกัดตรีสันนิบาตผล ประกอบไปด้วย ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกะเพราแดง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ในกองลม
  • พิกัดตรีกฎุก ประกอบไปด้วย ดีปลี ขิงแห้ง และพริกไทย แก้โรคที่เกี่ยวกับลม ดี ฤดู
  • ยาอาภิสะ แก้อาการไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ และช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ยาหอมนวโกฐ แก้ลมวิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
  • ยาประสะกานพลู แก้อาการในช่องท้อง บรรเทาอาการปวดท้อง อาการจุกเสียด แน่นท้องน้อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยปกติ สาเหตุเนื่องจากธาตุไม่ปกติ
  • ยาประสะไพล เกี่ยวกับสตรี แก้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือ มาน้อยของสตรี ฤทธิ์กระตุ้นมดลูก
  • ยาเหลืองปิดสมุทร แก้อาการอุจจาระแปลกไม่เป็นมูก หรือ มีเลือดปะปน หรือ อาการท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ ไม่มีการติดเชื้อ
  • ยาธาตุบรรจบ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ท้องโต ลงพุง

โทษของดีปลี

สำหรับการนำดีปลีมาใช้ประโยชน์แต่จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสตรีมีครรถ์ ไม่ควรรับประทานผลดีปลีเนื่องมีสรรพคุณร้อนกระตุ้นการขบเลือดอาจทำให้แท้งบุตรได้ การรับประทานดีปลีในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ และแสบทวารเวลาขับถ่าย

พริก นิยมนำมาทำอาหาร ให้รสเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้นพริก สมุนไพร สรรพคุณของพริก สมุนไพรไทย

พริก คือ พืชที่ให้ความเผ็ดของอาหาร ซึ่งสารให้ความเผ็ดในพริก เรียกว่า แคปไซซิน ( Capsaicin ) ส่วนที่เกิดรสเผ็ดมาจาก ใยที่อยู่บริเวณเยื่อแกนกลางที่มีสีขาวภายในพริก ไม่ใช่เมล็ดหรือเปลือกตามที่เข้าใจกัน โดยสารนี้จะทนความร้อน แม้นำไปต้มก็ยังคงรูปความเผ็ดอยู่ได้ พริกที่มีความเผ็ดมากที่สุดในโลก คือ พริกฮาบาเนโร

ต้นพริก ชื่อสามัญ สำหรับพริกเม็ดใหญ่ รสเผ็ด คือ Chili, Chilli Pepper และชื่อสามัญสำหรับพริกรสอ่อน คือ Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum ชื่อสามัญเรียกตามสายพันธุ์ของพริก ได้แก่ พริกขี้หนู พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหยวก พริกหวาน และ ชื่อวิทยาศาสตร์ของพริก คือ Capsicum frutescens L.

ลักษณะของต้นพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู เป็นไม้ล้มลุก อายุประมาณ 1-3 ปี เจริญเติบโตได้ดี กับดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ทนทานต่อสภาพน้ำขัง สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นพริกขี้หนู มีดังนี้

  • ลำต้นพริกขี้หนู เป็นลักษณะไม้พุ่ม ขนาดเล็กความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากทาย โดยกิ่งอ่อนมีสีเขียว และกิ่งแก่จะมีสีน้ำตาล
  • ใบพริกขี้หนู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ทรงรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว ใบมันวาว
  • ดอกพริกขี้หนู ลักษณะเป็นช่อ ออกตามซอกใบ เป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นสีขาว
  • ผลพริกขี้หนู เจริญเติบโตจากดอกพริกขี้หนู ผลมีลักษณะยาว ปลายผลแหลม ผลสดสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

คุณค่าทางโภชนาการของพริก

สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของพริก พริกมีแร่ธาตุและวิตามินต่างๆมากมาย ได้แก่ วิตามินA วิตามินB 6 วิตามินC ธาตุแมกนีเซียม ( Mg ) ธาตุโพแทสเซียม ( K ) ธาตุเหล็ก ( Fe ) กากใยอาหาร ( Fiber ) เมื่อรับประทานพริกแล้วต้องการลดความเผ็ดแสบร้อนภายในปากได้โดย การรับประทานอาหารที่มีไขมัน เช่น ไอศครีม ขนมหวาน เนื้อติดมัน เพราะ จะช่วยละลายสารความเผ็ดให้ออกไปจากเยื่อบุผนังภายในปากได้

ประโยชน์ของพริก

สำหรับพริก นอกจากการนำมาทำอาหารรับประทานแล้ว พริกสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก ด้านอุตสาหกรรมอาหาร และ นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภันฑ์ต่างๆหลากหลาย ดังนี้

  • นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร เช่น ซอสพริก เครื่องแกง พริกป่น พริกดอง พริกแห้ง น้ำพริก และยังนำมาทำเป็นยาสำเร็จรูปต่างๆ
  • นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสเปรย์พริกไทย เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่เบื่อบุอ่อนที่ตา จมูก
  • ทำเป็นยาบำรุงธาตุไฟ ตามตำรับยาจีนโบราณ
  • ทำเป็นครีมหรือเจล เพื่อลดอาการปวด จากแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

สรรพคุณของพริก

การใช้พริกเพื่อการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ดังนี้

  • เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ให้กับร่างกาย ให้รู้สึกสดชื่อกระปรี่กระเปร่า
  • สร้างความสุขให้กับร่างกาย โดยการเร่งการหลั่งสารความสุขให้กับร่างกาย ( Endorphin )
  • บำรุงระบบภูมิต้านทาน ให้กับร่างกาย ให้แข็งแรงมากขึ้น
  • สร้างคอลลาเจนให้กับร่างกายทำให้หน้าดูเด็กอ่อนกว่าวัย
  • เสริมสร้างการมองเห็นบำรุงระบบสายตา
  • สร้างความเจริญอาหาร ให้รับประทานได้มากขึ้น
  • สร้างความตื่นตัวของร่างกาย บำรุงระบบประสาท
  • ขับพิษออกจากร่างกาย
  • ลดไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ ในผู้ป่วยที่เป็นหวัด
  • ลดอาการไอ อาการระคายเคืองคอ คันคอ
  • ลดอาการหายใจติดขัด ไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
  • บำรุงระบบเลือด โรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีผลวิจัยยืนยันว่าลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  • ลดไขมันในเลือดได้ดี โดยเฉพาะ ไขมันเลว และไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงการเกิดการอุดตันของเส้นเลือด และเส้นเือดในสมอง
  • ช่วยสลายลิ่มเลือดในเส้นเลือดได้ดี
  • ลดความเสี่ยงโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจวายเฉียบพลัน
  • เพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดในเส้นเลือด
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูง มีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง
  • เพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือดลดความเสี่ยงการฉีกขาดของเส้นเลือด
  • เพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น ช่วยย่อยลดอาการจุดเสียดแน่นท้อง
  • ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร จากสารให้ความเผ็ดในพริก
  • ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ
  • ขับแก๊ซในระบบทางเดินอาหารได้ดี
  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ โดยเฉพาะในระบบหายใจ ในลำคอ ปอด
  • สลายเมือกเสียที่จับตัวกัยในร่างกาย
  • ลดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆของร่างกายได้ดี เช่น ปวดข้อ ปวดหัว ปวดฟัน

โทษของพริกขี้หนู

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพริกขี้หนู ต้องมีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ โดยโทษของพริกขี้หนู มีดังนี้

  • พริกขี้หนูมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการแสบ ระคายเคืองที่ผิวหนัง สำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น มีโรคที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้อักเสบ ไม่ควรรับประทานพริกขี้หนู
  • การรับประทานพริกขี้หนูมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการแสบท้อง ทำให้เป็นสิว ทำให้ผิวหนังเกิดอาการแสบร้อนได้
  • การสัมผัสผลพริกที่แตกหรือน้ำจากผลพริก จะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวอย่างรุนแรง หากเข้าตาจะแสบมาก

พริก สมุนไพร พืชสวนครัวนิยมนำมาทำอาหารให้ความเผ็ดของอาหาร สรรพคุณของพริก เช่น บำรุงระบบไหลเวียนโลหิต ช่วยขับถ่าย กระตุ้นระบบย่อยอาหาร รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย