ดีปลี สมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น บำรุงร่างกาย ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร บำรุงสตรี ผลดีปลีนิยมนำมาเป็นเครื่องเทศแทนพริกและพริกไทย แหล่งปลูกดีปลีในประเทศไทยดีปลี สมุนไพร สรรพคุณของดีปลี

ต้นดีปลี ภาษาอังกฤษ เรียก Long pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของดีปลี เช่น ดีปลีเชือก ปานนุ ประดงข้อ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ ต้นดีปลีมีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส (Moluccas) ในมหาสมุทรอินเดีย นิยมใช้แทนพริกไทย ให้รสชาติคล้ายกัน ซึ่งปลูกมากในประเทศอินโดนีเซีย ไทย และ มาเลเซีย สำหรับประเทศไทยแหล่งปลูกดีปลี คือ พื้นที่ภาคใต้ กาญจนบุรี นครปฐม และ จันทบุรี

ประโยชน์ของดีปลี ใช้รับประทานเป็นผักสด เพิ่มรสชาติ ความเผ็ดร้อน แทนพริกไทยในการปรุงอาหาร ใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หรือ เนื้อสัตว์ได้ดี ใช้ในการหมักเนื้อสัดว์ เพราะ ดีปลีมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยถนอมอาหาร พวกของหมัก ของดอง แต่งรสการหมักได้ดี รวมถึงปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ไม้เลื้อยตามต้นไม้ใหญ่ เพิ่มความเย็น ชมใบสีเขียวสดดูชุ่มชื่น มีผลสีแดง สวยงาม และสกัดจากดีปลีสามารถกำจัดแมลง เพราะ ดีปลีมีน้ำมันหอมระเหย ที่สามารถฆ่าแมลงด้วงงวง และ ด้วงถั่ว ได้ดี

ดีปลีในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย นิยมใช้ผลดีปลีเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ซึ่งให้กลิ่นหอมและรสเผ็ดร้อน รวมถึงยังเป็นส่วนประกอบของตำรับยาแผนโบราณหลายตำรับ เช่น พิกัดเบญจกูล พิกัดตรีสันนิบาตผล พิกัดตรีกฎุก ยาอาภิสะ ยาหอมนวโกฐ ยาประสะกานพลู ยาประสะไพล ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ เป็นต้น ดีปลีจึงมีการปลูกเพื่อการพาณิชย์ ป้อนสู่ตลาดอุตสาหกรรมการผลิตยาแผนโบราณ แหล่งผลิตดีปลีในประเทศไทย คือ จังหวัดกาญจนบุรี(ตำบลบ้านใหม่ ตำบลพังตรุ อำเภอท่าม่วง อำเภอท่ามะกา อำเภอเมือง) จังหวัดนครปฐม จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะของต้นดีปลี

ดีปลี เป็นไม้เลื้อย ชอบพื้นที่ชุ่มน้ำ ดินร่วนซุย สามารถเติิบโตได้ดีในทุกสภาพดิน สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และการปักชำ ลักษณะของต้นดีปลี มีดังนี้

  • ลำต้นดีปลี เป็นเถาพันกับต้นไม้ใหญ่ ค่อนข้างเหนียว มีรากฝอย งอกออกบริเวณข้อปล่อง เพื่อใช้ยึดเกาะ และ เลื้อยพัน กับต้นไม้ใหญ่ คล้ายต้นพริกไท ลำต้นเป็นทรงกระบอก ผิวเรียบ สีเขียวเข้ม เนื้อไม้อ่อน และเปราะหักง่าย
  • ใบดีปลี เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ยาวรี โคนใบมนค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม ก้านใบสั้น ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันวาว
  • ดอกดีปลี ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ โดยมีดอกย่อยอัดกันแน่น
  • ผลดีปลี ยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง และผลแก่สีเขียวเข้ม สุกผลจะเป็นสีแดง ผลมีกลิ่นฉุนแรง

สรรพคุณของดีปลี 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากดีปลี ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผล ราก ลำต้น ใบ และ ดอก สรรพคุณของดีปลีมีดังนี้

  • ผลดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ไอ รักษาพิษงู แก้ปวด แก้ปวดเมื่อย แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม แก้ท้องอืด แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดู ช่วยขับพยาธิ
  • รากดีปลี สรรพคุณช่วยลดไข้ แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม
  • ลำต้นดีปลี สรรพคุณช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม แก้ท้องเสีย บรรเทาอาการปวดเมื่อย
  • ใบดีปลี สรรพคุณแก้อาการปวดเมื่อย
  • ดอกดีปลี สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้หืดหอบ ช่วยขับเสมหะ แก้ไอ แก้โรคริดสีดวงทวาร ยาอายุวัฒนะ

ตำรับยาที่มีดีปลีเป็นส่วนประกอบ

  • พิกัดเบญจกูล ประกอบไปด้วย ดอกดีปลี รากช้าพลู เหง้าขิงแห้ง เถาสะค้าน รากเจตมูลเพลิง  แก้ในกองฤดู กองสมุฎฐานต่าง ๆ ช่วยกระจายกองลมและโลหิต แก้คูถเสมหะ แก้ลมพานไส้ ช่วยระงับโรคอันบังเกิดแต่ทวัตติงสาหาร
  • พิกัดตรีสันนิบาตผล ประกอบไปด้วย ผลดีปลี รากพริกไทย และรากกะเพราแดง ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ในกองลม
  • พิกัดตรีกฎุก ประกอบไปด้วย ดีปลี ขิงแห้ง และพริกไทย แก้โรคที่เกี่ยวกับลม ดี ฤดู
  • ยาอาภิสะ แก้อาการไอ ผอมแห้ง แก้เสมหะในทรวงอกและลำคอ และช่วยแก้ริดสีดวงทวาร
  • ยาหอมนวโกฐ แก้ลมวิงเวียน อาการหน้ามืดตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง
  • ยาประสะกานพลู แก้อาการในช่องท้อง บรรเทาอาการปวดท้อง อาการจุกเสียด แน่นท้องน้อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อยปกติ สาเหตุเนื่องจากธาตุไม่ปกติ
  • ยาประสะไพล เกี่ยวกับสตรี แก้ระดูมาไม่สม่ำเสมอ หรือ มาน้อยของสตรี ฤทธิ์กระตุ้นมดลูก
  • ยาเหลืองปิดสมุทร แก้อาการอุจจาระแปลกไม่เป็นมูก หรือ มีเลือดปะปน หรือ อาการท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้ ไม่มีการติดเชื้อ
  • ยาธาตุบรรจบ บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ท้องโต ลงพุง

โทษของดีปลี

สำหรับการนำดีปลีมาใช้ประโยชน์แต่จำเป็นต้องใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งสตรีมีครรถ์ ไม่ควรรับประทานผลดีปลีเนื่องมีสรรพคุณร้อนกระตุ้นการขบเลือดอาจทำให้แท้งบุตรได้ การรับประทานดีปลีในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้กระเพาะอักเสบ และแสบทวารเวลาขับถ่าย

ยี่หร่า สมุนไพร นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณบำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม เรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่ายี่หร่า เครื่องเทศ สมุนไพร สรรพคุณของยี่หร่า

ต้นยี่หร่า ภาษาอังกฤษ เรียก Shrubby basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของยี่หร่า คือ Ocimum gratissimum L. นอกจากนั้นมีชื่อท้องถิ่นภาษาไทยอื่นๆ ได้แก่ หอมป้อม ( ภาษาถิ่นของภาคเหนือ ), กะเพราญวณ ( ภาษาถิ่นกรุงเทพมหานคร ), จันทร์หอม เนียม ( ภาษาถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ), จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น ( ภาษาถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน ), สะหลีดี ( ภาษาถิ่นของกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน ), โหระพาช้าง กะเพราควาย ( ภาษาถิ่นของภาคกลาง ), หร่า ( ภาษาถิ่นของภาคใต้ )

ยี่หร่ามีถิ่นกำเนิดในบริเวณแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าเรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศ หรือทำยาหอม คนละประเภทกับที่เราใช้รับประทานใบที่ใช้รับประทาน ยี่หร่ามีชื่อหลากหลายชื่อ เช่น ยี่หร่าจันทร์หอม ยี่หร่าเนียมต้น เนียม กะเพราญวน และ โหระพาช้าง เป็นต้น เรานิยมคุ้นเคยนำมาผัดรับประทานกัน

ชนิดของยี่หร่า

สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ยี่หร่าเทียนขาว และ ยี่หร่าจันทรหอม รายละเอียด ดังนี้

  • เทียนขาว มีถิ่นกำเนิดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศอินเดีย และประเทศจีน ยี่หร่าชนิดนี้ก็คือผลแห้งที่เรานำมาใช้เป็นเครื่องเทศและยาหอม
  • จันทร์หอม เป็นยี่หร่าแบบกินใบที่เรานิยมนำมาผัดรับประทานกัน ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงยี่หร่าชนิดนี้กันครับ

ลักษณะของต้นยี่หร่า 

ต้นยี่หร่า เป็นพืชล้มลุก ชอบความชื้นปานกลาง ในสภาพกลางแจ้งและแสงเข้าถึง ลักษณะของต้นยี่หร่า มีดังนี้

  • ลำต้น เป็นไม้พุ่มมีทรงเตี้ย โดยมีความสูงไม่มากแค่ 50-80 เซนติเมตร ลำต้นสีน้ำตาลเข้ม
  • ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของเป็นรูปกลมรี โคนใบสอบ ปลายใบแหลม
  • ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กประมาณ 50-100 ดอกใน 1 ช่อ
  • ผล เป็นรูปทรงกลมยาวรี มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร สีดำหรือน้ำตาลเข้ม ภายในมีเมล็ดมากมาย อบให้แห้ง ใช้ดับกลิ่นคาว เป็นเครื่องเทศชั้นดี

คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 26.8 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม

เนื่องจากเป็นพืชที่สะสมแร่ธาตุและวิตามิน การรับประทานยี่หร่า จึงแทบจะไม่ให้พลังงาน แต่จะมีกากใยและวิตามินแร่ธาตุจำนวนมาก ได้แก่ วิตามินบี1-3 วิตามินซีสูง มีธาตุอาหารหลัก คือ แคลเซียมสูง และธาตุอาหารรอง คือ เหล็กและฟอสฟอรัส โดยมีโปรตีนและไขมันอยู่น้อย

สรรพคุณของยี่หร่า

สรรพคุณทางการรักษาโรคของยีหร่า นอกจากจะใช้ยี่หร่าเป็นอาหาร ดับกลิ่น ให้กลิ่นหอม ในอาหารไทยต่างๆแล้ว การรับประทานยี่หร่ายังมีระโยชน์ต่างๆมากมาย ดังนี้

  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ให้ย่อยอาหารได้เป็นปกติ ลดก๊าซในไส้
  • ลดอาการท้องอืดท้องเฝ้อ อาหารไม่ย่อย จุกเสียดแน่นท้อง ลดอาการปวดท้องจากอาหารไม่ย่อย
  • ช่วยให้เจริญอาหาร ในผู้ที่มีอาการเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้มากขึ้น ใช้เป็นยาบำรุงในผู้ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • ขับก๊าซในกระเพาะ และลำไส้ได้ดี ลดการจุกเสียดเมื่อรับประทานอาหาร
  • เมื่อเกิดอาการลำไส้หด การบีบตัวของลำไส้ ยี่หร่าสามารถลดอาหารต่างๆเหล่านี้ได้ดี
  • ในใบยี่หร่ามีธาตุอาหารรองต่างๆมากมาย ช่วยบำรุงแร่ธาตุในร่างกาย ให้สมดุล
  • เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน จากการหดเกร็งของมดลูก ยี่หร่าสามารถบรรเทาอาการนี้ได้ดี
  • เมื่อเกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงจากการติดเชื้อ สามารถใช้ผลยี่หร่าตากแห้งประมาณ 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือด ประมาณ 1 ลิตร ใช้ดื่มแก้อาการ
  • ผลการวิจัย พบว่า ยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้ง หรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็งในระยะต้นๆ ได้ดี
  • มีวิตามินซีสูง บำรุงระบบภูมิคุ้มกัน และลดการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงระบบกระดูกและฟันได้ดี เมื่อรับประทานเป็นประจำ

ประโยชน์ของยี่หร่า

คนไทยรับประทานยี่หร่ามาช้านาน เป็นส่วนประกอบในอาหารไทยหลากหลายชนิด ทั้งยังเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณบำรุงร่างกายมากมาย มีการนำยี่หร่ามาใช้ประโยชน์ ได้แก่

  • ยี่หร่าถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันยี่หร่า ( Caraway oil ) ใช้แต่งกลิ่นอาหาร สามารถนำมาใช้แต่งกลิ่นสบู่ แชมพู ครีมบำรุงผิว สร้างกลิ่นหอมเฉพาะตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศเป็นอย่างมาก
  • เมล็ดยี่หร่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อโรคต่างๆ จึงมีการประยุกต์ใช้เป็นเครื่องหอมสำหรับถนอนอาหาร ใช้หมักอาหารประเภทเนื้อต่างๆ ให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน โดยเฉพาะการทำเนื้อตากแห้ง ใช้ผสมเครื่องหมักเนื้อก่อนนำไปตาก พบว่านอกจากจะถนอมอาหารได้ดีแล้วยังดับกลิ่นคาวได้เป็นอย่างดี ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง
  • เมล็ดยี่หร่าแห้งนิยมนำมาทำเครื่องแกง โดยโขลกรวมกับเครื่องแกงต่างๆ เช่น พริกแกงเผ็ด แกงเขียวหวาน เพิ่มความหอม
  • ใบยี่หร่าใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมรับประทนกับไส้อั่ว เพิ่มรสชาติและความหอม

ยี่หร่าเป็นเครื่องเทศสำคัญในอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะแกงกะหรี่และมัสมั่น ส่วนอาหารไทยนิยมใช้ใบยี่หร่าในการแต่งกลิ่นอาหาร และ ยังมีน้ำมันระเหย เรียก น้ำมันยี่หร่า ( cumin oil ) ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอม น้ำหอม เครื่องดื่มและยาขับลม

ยี่หร่า สมุนไพร พืชสวนครัว นิยมนำมาทำอาหารและเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงร่างกาย เสริมร้างเซลล์ในร่างกาย แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม นำเสนอเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับยี่หร่า

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย