ปลาไหลเผือก สมุนไพรบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพได้

ปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาเป็นส่วนผสมในสมุนไพรรักษาโรค ต้นปลาไหลเผือกเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรภภาพทางเพศ ทำให้มีลูก โทษปลาไหลเผือกมีอะไรบ้างปลาไหลเผือก พญารากเดี่ยว สมุนไพร สรรพคุณปลาไหลเผือก

ปลาไหลเผือก คือ พืชชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Eurocoma lingifolia jack.  มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น หยิงไม่ถึง โสมมาเลเซีย เพียก ตุงสอ แฮพันชั้น เอียนดอน เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า ลาว กัมพูชา  ต้นปลาไหลเผือก ในตำราแพทย์แผนไทยในพระคัมภีร์ปฐมจินดา นำรากปลาไหลเผือกตากแห้งมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรับยาในการรักษาโรค ซึงบางท้องถิ่นเรียก พญารากเดียว ในด้านความเชื่อโบราณนั้นรากปลาไหลเผือก เชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทำให้มีพละกำลังในการออกรบ เชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน รากปลาไหลเผือกจะนำไปปลุกเสก ทำของขลังพกติดตัวเหมือนพระเครื่อง

ลักษณะของต้นปลาไหลเผือก

ต้นปลาไหลเผือก เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ชอบความชื้นสูง มักจะพบต้นปลาไหลเผือกในป่าต่างๆกัน เช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ เป็นต้น สามรถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์และการตอนกิ่ง กลักษณะของต้นปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • รากปลาไหลเผือก มีความยาวและหยั่งลึกลงไปใต้ดิน ลักษณะกลม สีขาวนวล ความยาวมากกว่า 2 เมตร มีรสขมและเบื่อเมาเล็กน้อย
  • ลำต้นปลาไหลเปือก ตั้งตรงความสูงประมาณ 10 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล มีกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนจะมีขนสีน้ำตาล
  • ใบปลาไหลเผือก เป็นใบประกอบ ใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านเรียบเป็นมัน
  • ดอกปลาไหลเผือก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นรูปใบหอก สีม่วงปนแดง จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเดือนมกราคมของทุกปี
  • ผลปลาไหลเผือก ออกผลเป็นพวง หนึ่งพวงจะมี 5 ผลย่อย ลักษณะผลเป็นรูปทรงกลมรี เปลือกนอกบาง ผลเมื่อแก่จะเป็นสีแดงถึงสีม่วงดำ ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี

สรรพคุณของปลาไหลเผือก 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือกในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากรากของปลาไหลเผือก โดยนำรากมาตากแห้งและบดเป็นส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ สรรพคุณของรากปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ช่วยผ่อนคลายอาการปวดเมื่อย
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำลังทางเพศ ช่วยทำให้เลือดไหลเวียนดี เพิ่มการสร้างอสุจิ กระตุ้นลูกอัณฑะให้สร้างอสุจิมากขึ้น กระตุ้นให้มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น กระตุ้นต่อมสมองให้เร่งการผลิตฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น เพิ่มความแข็งแรงให้กับสเปริ์ม มีจำนวนมากขึ้น
  • บำรุงโลหิต ช่วยรักษาความดันโลหิตร่างกาย
  • ช่วยขับพิษออกจากร้างกาย เช่น ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ และพิษจากโลหิต  ช่วยขับเหงื่อ ทำให้อาเจียน ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับน้ำเหลือง แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ช่วยลดไข้ เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย แก้ปวดหัว แก้เจ็บคอ
  • แก้ปวดท้อง แก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป ปวดข้อ ปวดตามร่างกาย แก้บวม แก้บิด
  • รักษาอาการท้องเสีย
  • ช่วยขับพยาธิ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด
  • รักษาแผล แก้ฝี แผลพุพอง แผลเรื้อรัง บรรเทาอาการผื่นคัน

โทษของปลาไหลเผือก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากปลาไหลเผือก นิยมนำรากมาตากแห้งและบดเพื่อเป็นส่วนผสมของยาสมุนไพรในการรักษาโรค การนำรากสดมาใช้ อาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ เพราะ รากมีพิษเบื่อ ทำให้เมาได้ โทษของปลาไหลเผือก มีดังนี้

  • สำหรับหญิงตั้งครรภ์หรืออยุ่ในระหว่างการให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน การใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจน ทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้
  • รากปลาไหลเผือก มีพิษเบื่อเมา การนำมาใช้จึงต้องระวัง เพราะ อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย วิงเวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อนๆ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้หยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะๆ จนกว่าอาการจะหายไป

Last Updated on March 18, 2021