ตังกุย โกฐเชียง สมุนไพรเมืองหนาว สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

ตังกุย โกฐเชียง รากของต้นตังกุย นำมาทำสมุนไพรรักษาโรคได้ สรรพคุณบำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ พืชเมืองหนาว ต้นตังกุยเป็นอย่างไร โทษมีอะไรบ้างตังกุย โกฐเชียง สมุนไพร สรรพคุณของตังกุย

ตังกุย เป็นพืชตระกูลผักชี รากตังกุยมีประโยชน์ในการรักษาโรค เป็นพืชที่มีอายุหลายปี ชอบอากาศหนาวเย็น เป็นพืชท้องถิ่นของญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม และ จีน ชื่อวิทยาศาสตร์ของตังกุย คือ Angelica sinensis (Oliv.) Diels  ภาษาไทยเรียกสมุนไพรนี้ว่า โกฐเชียง

การใช้ตังกุยเพื่อเป็นยา สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต เพิ่มความร้อนให้กระเพาะอาหาร ขับความเย็นออก แก้อาการปวด รักษาภาวะอ่อนเพลียเหนื่อนล้า อาการปวดท้องของสตรีหลังจากคลอด การใช้ตังกุยในการทำยาสมุนไพร นำรากตังกุย น้ำหนัก ประมาร 6-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำสะอาดใช้ดื่มเป็นยา หรือ ใช้เป็นเครื่องประกอบอาหาร เช่น ต้มกับข้าวทำเป็นโจ๊กก็ได้

ลักษณะของต้นตังกุย 

ต้นตังกุย พืชล้มลุก ความสูงไม่เกิน 1 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่อยู่ในระหว่างเขตหนาว ชอบอากาศที่เย็นชื้น พบมากในภาคกลางของประเทศจีน มักขึ้นตามป่าดิบเขาที่มีน้ำไหลผ่าน เช่น ในมณฑลเสฉวน กุ้ยโจว ไต้หวัน  เหอเป่ย ส่านซี และ ยูนนาน นิยมนำรากมาทำเป็นยา สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ลักษณะของต้นต้งกุย มีดังนี้

  • รางตังกุย ลักษณะอวบทรงกระบอก แยกเป็นรากแขนงหลายราก ความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอมเหลือง รากมีรอยย่นเป็นแนวตามยาว
  • ลำต้นตังกุย ลักษณะตั้งตรง มีร่องเล็กน้อย เปลือกสีน้ำตาลอมม่วง
  • ใบตังกุย เป็นใบเดี่ยว ทรงไข่ แฉกใบมีก้านเห็นได้ชัดเจน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย โคนแผ่เป็นครีบแคบๆ สีเขียวอมม่วง
  • ดอกตังกุย ออกดอกเป็นช่อ ออกดอกบริวณยอดของลำต้นและง่ามใบ ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดงอมม่วง ดอกจะออกในช่วงประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคมของทุกปี
  • ผลตังกุย เป็นผลแห้ง สันด้านล่างหนาแคบ ด้านข้างมีปีกบางๆ และมีท่อน้ำมันตามร่อง จะออกผลในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี

สรรพคุณของตังกุย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตังกุย ในการทำยาสมุนไพร เพื่อการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคจะใช้ประโยชน์จากรากตังกุยตากแห้ง ซึ่งสรรพคุณของตังกุย มีดังนี้

  • บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บรรเทาอาการปวดเมื่อย อ่อนล้า
  • บำรุงสมอง
  • บำรุงตับ บำรุงต่อมน้ำเหลือง รักษาโรคตับอักเสบเรื้อรัง
  • บำรุงหัวใจ ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  • บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ ใจสั่น
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย
  • บำรุงเลือด ช่วยฟอกเลือด รักษาโรคโลหิตจาง ทำให้เลือดไหลเวียนดั รักษาอาการมือเท้าชา
  • บำรุงผิวพรรณ เพิ่มความเปล่งปลั่งของผิว
  • รักษาแผล รักษาอาการฟกช้ำ
  • สำหรับสตรีหลังคลอด ช่วยขัยน้ำคาวปลา ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเพศหญิง
  • ช่วยลดไข้ แก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ รักษาโรคท้องผูก ทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น
  • สรรพคุณกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ
  • แก้ประจำเดือนเป็นพิษ ลดอาการปวดท้องประจำเดือน

โทษของตังกุย

สำหรับสตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้ตังกุยมีฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ และมดลูก อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้

Last Updated on March 18, 2021