ผักกระเฉด พืชน้ำแสนอร่อย วิตามินสูง มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ผักกระเฉด นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร วิตามินและแร่ธาตุสูง สมุนไพร สรรพคุณของผักกระเฉด บำรุงสายตา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย แก้ปวดเมื้อย ป้องกันโรคท้องผูกผักกระเฉด ผักสวนครัว สมุนไพร สรรพคุณของผักกระเฉด

ผักกระเฉด ( Water mimosa ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักกระเฉด คือ Neptunia oleracea Lour. สำหรับชื่อเรียกตามท้องถิ่นของผักกระเฉด เช่น ผักรู้นอน ผักกระเสดน้ำ ผักหนอง ผักหละหนอง ผักฉีด เป็นต้น พืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นปล้อง ใบคล้ายใบต้นกระถิน โดยในเวลากลางคืน ใบจะสามารถหุบได้ มีลำต้นลอยน้ำสีขาว เรียกว่านมผัก ผยุงให้ลอยน้ำได้ มีรากงอกออกมา เรียกหนวด มีดอกขนาดเล็กสีเลือง มีผักภายในมีเมล็ด ประมาณ 10 เมล็ด

ประโยชน์ของผักกระเฉด นิยมใช้ในการประกอบอาหารโดยเฉพาะประเภทยำ เนื่องจากเป็นการเพิ่มสีสรร สร้างเนื้อสัมผัสกรอบ กลิ่นหอม เมนูที่นิยม ได้แก่ ผักกระเฉดทอดไข่สามรส ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด  ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย  แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง  ผัดหมี่กระเฉดผัดผักกระเฉดไฟแดง เป็นต้น

เคล็ดลับความอร่อยของผักกระเฉด การใช้ผักกระเฉดประกอบอาหาร มีเคล็ดลับ คือ เลือกซื้อผักกระเฉดที่มียอดอ่อน เนื่องจากหากแก่มากไปจะเหนียวและเหม็ยเขียวได้ ยอดอ่อนจะมีความกรอบและอร่อยมากกว่าผักกระเฉดแก่มาก นิยมนำมาต้มก่อนนำไปประกอบอาหาร โดยควรใส่เกลือลงไปในน้ำเล็กน้อย ไม่ควรลวกนานเกินไป เพราะจะทำให้ผักกระเฉดเหนียวไม่อร่อย เมื่อลวกแล้วใส่ลงไปในน้ำเย็นทันที อาจจะใช้น้ำแข็งช่วยโปะ ทำให้ผักกระเฉดกรอบ นุ่มคงรสชาติอร่อยได้ดี

ผักกระเฉดในประเทศไทย

ผักกระเฉด จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถหาซื้อได้ตามตลาดทั่วในในประเทศไทย อาหารไทยมีการนำเอาผักกระเฉดมาปรุงอาหารหลายชนิด เช่น ยำผักกระเฉด แกงส้ม ผัดผักกระเฉด ซึ่งพื้นที่สำหรับปลูกผักกระเฉดมากที่สุดของประเทศไทย คือ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ไร่  และ เนื้อที่ปลูกผักกระเฉดทั้งจังหวัดสมุทรปราการมี 2,500 ไร่

ลักษณะของผักกระเฉด

ผักกระเฉด เป็นพืชล้มลุก พืชน้ำ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งน้ำขัง ผักกระเฉดไม่สามารถปลูกในดินที่ไม่มีน้ำขังได้ ผักกระเฉด ไวต่อแสง จะแทงยอดมากในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ของทุกปี ลักษณะของผักกระเฉด มีดังนี้

  • ลำต้นของผักกระเฉด ลักษณะลำต้นเลื้อยยาวลอยบนน้ำ ลำต้นกลม เป็นปล้อง สีเขียว ภายในลำตันไม่เป็นรูกลวง มีนวมสีขาวหุ้มลำต้นให้ลอยน้ำ นวมสีขาว เรียก นม
  • รากของผักกระเฉด เป็นรากฝอยออกรากตามปล้องของลำต้น
  • ใบผักกระเฉด ลักษณะเป็นใบประกอบ สีเขียว ใบเรียงสลับกันตามปลายยอดของผักกระเฉด ใบจะรีเป็นรูปไข่ ขนาดเล็ก ยาวใบอ่อนมีสีเขียว
  • ดอกผักกระเฉด ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกมีสีเหลือง คล้ายดอกกระถิน ดอกออกตามปลายยอดของผักกระเฉด
  • ผลของผักกระเฉด ลักษณะเป็นฝัก ขนาดเล็ก ฝักแบนยาว ภายในฝักมีเมล็ด

สรรพคุณของผักกระเฉด 

ผักกระเฉดมีคุณค่าทางอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น ธาตุแคลเซียม (Ca) สูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย (Fiber) ธาตุเหล็ก (Fe) ธาตุฟอสฟอรัส (P) วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณของผักกระเฉด มีดังนี้

  • สรรพคุณบำรุงร่างกาย และช่วยขับสารพิษที่ตับได้ดี
  • รักษาอาการปวดศีรษะ วินเวียนศีรษะ
  • ผักกระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยดับพิษร้อนได้ เช่น อาการไข้สูง หรือ ตัวร้อน บรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี
  • สรรพคุณช่วยแก้พิษไข้ เมื่อรับประทานผักกระเฉดจะช่วยลดพิษได้ดี
  • บรรเทาอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ เช่น อาการปวดฟัน อาการปวดเมื้อยตามตัว อาการปวดหลัง
  • ช่วยขับเสมหะ ลดอาการได ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • ลดลมในกระเพาะ ลดอาการท้องอืด ท้องเฝ้อ
  • รักษาโรคกามโรค อาการคันในร่มผ้า
  • ลดอาการปวดแสบปวดร้อน จากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • ใช้ถอนพิษเมื่อได้รับสารพิษ หรือเมื่อเกิดอาการเมาเมื่อได้รับสารพิษ
  • ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ระบบการมองเห็นเนื่องจากผักกระเฉดมีวิตามินเอสูง
  • บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะในผักกระเฉดมีแคลเซียมสูง
  • ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงให้เป็นปกติ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้ดี เนื่องจากมีธาตุเหล็กสูง
  • สามารถช่วยป้องกันโรคท้องผูกได้ดี เนื่องจากมีไฟเบอร์หรือกากใยสูง
  • ช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ปรับสมดุลร่างกายให้ปกติ ลดธาตุไฟลดความร้อนในร่างกาย

ข้อควรระวังการรับประทานผักกระเฉด 

ผักกระเฉด พบได้ตามแหล่งน้ำต่างๆ ทำให้อาจจะมีการเข้าไปปะปนของพยาธิ สัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลิงน้ำ ซึ่งไข่สามารถทนความร้อนได้มาก แม้จะทำให้สุกก่อนรับประทาน ดังนั้น ควรล้างให้สะอาด และต้มให้สุกด้วยความร้อนก่อนรับประทาน นอกจากนั้น ในแหล่งน้ำใกล้เขตการเกษตร อาจจะมีสารเคมีการเกษตรปะปนได้ การรับประทานควรแน่ใจเรื่องความสะอาด และความร้อนที่พอเพียงในการประกอบอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทยำที่นิยมใส่ผักกระเฉด แต่การประกอบอาหารแค่ลวดพอสุกเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอต่อสุขอนามัย

ผักกระเฉด ผักสวนครัว นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุสูง พืชสมุนไพรมีประโยชน์ สรรพคุณของผักกระเฉด ้เช่น บำรุงสายตา ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย แก้ปวดเมื้อย ป้องกันโรคท้องผูก

Last Updated on March 18, 2021