ผักไชยา คะน้าเม็กซิโก ผักผงชูรส พืชที่น่าสนใจ สมุนไพรน่ารู้

ผักไชยา หรือ คะน้าเม็กกซิโก พืชสารพัดประโยชน์ ฉายา ต้นผงชูรส สรรพคุณบำรุงร่างกาย ธาตุเหล็กสูง ลดโอกาสการเกิดโรคโลหิตจาง ประโยชน์และโทษของผักไชยา มีอะไรบ้างผักชายา ผักไชยา ต้นผงูรส คะน้าเม็กซิโก

ต้นชายา ภาษาอังกฤษ เรียก Chaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของผักไชยา คือ Cnidoscolus chayamansa เป็นพืชในตระกูลยางพารา ( Euphorbiaceae ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของผักไชยา เช่น คะน้าเม็กซิกัน ผักชายา ต้นมะละกอกินใบ ต้นผงชูรส เป็นต้น ต้นไชยา ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเขตร้อน ประเทศเม็กซิโก พบต้นคะน้าเม็กซิกัน การกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และ ทวีปอเมริกากลาง  ผักไชยา เมื่อนำมาตากแห้งป่นเป็นผง สามารถใช้ปรุงรสอาหาร เหมือน ผงชูรส เป็นสมุนไพรไม้พุ่มโตง่าย สามารถแตกยอดได้สูงสุดถึง 6 เมตร มีน้ำยางสีขาว

ลักษณะของต้นผักไชยา

ต้นผักไชยา หรือ คะน้าเม็กซิกัน เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดด ระยะเวลาปลูก 60 วัน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ดพันธ์ ต้นคะน้าเม็กซิโก ใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ เมื่อเด็ดออกมาจะมียางสีขาว ต้นโตง่าย สามารถสูงได้ถึง 6 เมตร รสชาติไม่ขม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียว ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา และประเทศแถบอเมริกากลาง ลักษณะของต้นไชยา มีดังนี้

  • ลำต้นไชยา ลักษณะอวบน้ำ ความสูงประมาณ 2 ถึง 6 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบไชยา ลักษณะใบสีเขียวคล้ายใบมะละกอ ขอบเป็นแฉกๆ ใบหนึ่งมี 3 ถึง 4 แฉก
  • ดอกผักไชยา ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกบริเวณปลายกิ่ง

คะน้าเม็กซิโก หรือ ผักไชยา ไม่ใช้พืชท้องถิ่นของไทย แต่ปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ

คุณค่าทางโภชนาการของผักไชยา   

การรับประทานผักไชยาจะมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะ มีโปรตีนสำคัญ มีวิตามินต่างๆ ธาตุอาหารหลัก ได้แก่ แคลเซียม โพแทสเซียม ธาตุอาหารรอง มี ธาตุเหล็ก มีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ทำให้ผู้รับประทานดูอ่อนกว่าวัย และมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผักโขมถึง 2 เท่า โดยมีธาตุแคลเซียมสูงถึง 421 มิลลิกรัม มากกว่าผักทั่วไปอื่นๆ หลายเท่า จึงนิยมรับประทานมากในคนที่กินมังสวิรัติ เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง และรสชาติอร่อย

สารสำคัญที่พบในผักไชยา เป็นสารในกลุ่ม flavonoids และ phenolic acids นอกจากนี้ยังพบสารในกลุ่ม saponins และ alkaloids ด้วย ซึ่งการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่าผักไยามีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด

สรรพคุณผักไชยา

สำหรับการมช้ประโยชน์จากผักไชยา นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว สามารถใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคได้ สรรพคุณของผักไชยา มีดังนี้

  • บำรุงร่างกายทำให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่าดูอ่อนกว่าวัย เพราะ มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • บำรุงโลหิต โดยช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตให้เป็นปกติ โดยลดไขมันเลือด เพิ่มเม็ดเลือดแดง ลดความเสี่ยงการเกิดโรคโลหิตจาง
  • บำรุงระบบขับถ่ายโดย ช่วยทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ลดการเกิดโรคท้องอืดท้องเฝ้อ บำรุงการทำงานของไต ให้ขับของเหลวออกจากร่างกายได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก
  • ลดน้ำหนัก โดยลดน้ำตาลในเลือดเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดการกินโซเดียมมากเกินไปจากผงชูรส ปรับสมดุลการเผาพลาญพลังงานของร่างกาย
  • บำรุงระบบประสาท ลดอาการปวดศีรษะ อาการชาที่ปลายประสาท บำรุงสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น
  • รักษาอาการติดเชื้อที่อวัยวะต่างๆของร่างกาย และลดอาการอักเสบ เช่น อาการติดเชื้อในปอด ปวดตามข้อต่างๆ เส้นเลือดอักเสบ
  • ช่วยทำให้ระบบหายใจดีขึ้น โดยลดอาการไอ บำรุงปอด
  • ผักไชยามีธาตุแคลเซียมสูงมาก จึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ เพราะ ทำให้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะ และยังมีวิตามินต่างๆอีกด้วย
  • ทำให้การมองเห็นดีขึ้น เพราะ มีวิตามินสำคัญที่บำรุงสายตา ลดการเสื่อมของประสาทรับภาพ

โทษของผักไชยา

เนื่องจากต้นไชยามีสารกลูโคไซด์ ซึ่งจะปล่อยสารพิษจำพวกไซยาไนด์ ทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ การรับประทานผักไชยาเป็นอาหาร ต้องปรุงให้สุก เพื่อลดความเป็นพิษของไซยาไนด์ และ ไม่ควรรับประทานในปริมาณมาก และ รับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการสะสมของสารพิษไซยาไนด์ จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

Last Updated on March 18, 2021