ว่านชักมดลูก สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว ว่านชักมดลูกเป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก
ว่านชักมดลูก มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน คือ ฮอร์โมนเพศหญิง ในวงการแพทย์ต่างยอมรับว่า ว่านชักมดลูก มีสารกลุ่มไฟโตเอสโตรเจน ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง ได้เป็นอย่างดี
ว่านชักมดลูก มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย เป็นพืชตระกลูขิง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านชักมดลูก คือ Curcuma zanthorrhiza Roxb. ว่านชักมดลูกมีหลายสายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทย ว่านชักมดลูก พบได้ 2 สายพันธุ์ คือ ว่านชักมดลูกตัวเมีย ( Curcuma comosa Roxb. ) และ ว่านชักมดลูกตัวผู้ ( Curcuma latifolia Roscoe ) แหล่งปลูกว่านชักมดลูกในประทศไทย คือ จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก
ต้นว่านชักมดลูก พืชล้มลุก ตระกลูขิง สามารถขยายพันธุ์ ด้วยวิธีเหง้าใต้ดิน สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนที่มีความชื้น ว่านชักมดลูกเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ลักษณะของต้นว่านชักมดลูก มีดังนี้
- ลำต้นว่านชักมดลูก ลักษณะเป็นเหง้า แตกหน่ออยู่ใต้ดิน เหง้ามีสีเหลือง เหง้าแก่เป็นสีเทา มีกลิ่นฉุน รสขม ลำต้นตั้งตรง เป็นกาบใบลักษณะกลม ความสูงประมาณ 1 เมตร กาบของลำต้นมีสีเขียว ด้านในเยื่อสีขาว คล้ายกับต้นขมิ้น
- ใบว่านชักมดลูก เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบเรียวยาว เหมือนใบต้นขิง ใบเรียบ สีเขียว ปลายใบแหลม
- ดอกว่านชักมดลูก ออกดอกเป็นช่อ เป็นกระจุก ลักษณะรูปทรงกระบอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20 เซ็นติเมตร ดอกสีแดง ดอกที่เจริญเติบเต็มที่จะเป็นสีเหลือง
สรรพคุณของว่านชักมดลูก
สำหรับการใช้ประโยชนืจากว่านชักมดลูก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค จะใช้ประโยชน์จากส่วนของเหง้า โดยสรรพคุณของว่านชักมดลูก มีดังนี้
- ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผิวสดใส ผิวขาวนวล ผิวดูมีเลือดฝาด ช่วยลดเลือนรอยเหี่ยวย่น ลดการเกิดฝ้า และ ลดรอยดำของใบหน้า ช่วยกระชับผิวหน้าท้องของสตรีหลังคลอด
- ป้องกันมะเร็ง ช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากช่องคลอด และ มะเร็งในมดลูก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่เป็นสาเหตุของความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยทำให้ซีสต์หรือเนื้องอกภายในช่องคลอดฝ่อตัวลง
- ช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น
- ช่วยบำรุงความงาม ช่วยทำให้หน้าอกขยาย ทำให้นมใหญ่ขึ้น
- ช่วยทำให้ผ่อนคลาย ลดอาการอารมณ์แปรปรวนต่างๆ ลดอารมณ์ฉุนเฉียว
- ช่วยป้องการการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีรีย ช่วยดับกลิ่นปาก ลดกลิ่นตามตัว
- ช่วยบำรุงสายตาและดวงตา ช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม
- ช่วยบำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยซ่อมแซมระบบหลอดเลือดและหัวใจ ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวมากขึ้น ป้องกันอาการเยื่อบุผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจขาดความยืดหยุ่น ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- บำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ยป้องกันการสูญเสียแคลเซียม ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก
- สรรพคุณสำหรับสตรี ช่วยรักษาอาการมดลูกทรุดตัว รักษาอาการมดลูกต่ำ ช่วยกระชับช่องคลอด ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ช่วยดับกลิ่นภายในช่องคลอด ช่วยเพิ่มน้ำหล่อลื่นในช่องคลอด รักษาอาการหน่วงของมดลูก รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการปวดท้องประจำเดือน รักษาอาการตกขาว ช่วยขับน้ำคาวปลา
- กระตุ้นความรู้สึกทางเพศของสตรี
- รักษาโรคริดสีดวงทวาร
โทษของว่านชักมดลูก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากว่านชักมดลูก มีผลข้างเคียง และ ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์ มีดังนี้
- การรับประทานยาผสมว่าชักมดลูก อาจทำให้มีอาการ วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ตัวร้อน ไอเหมือนจะเป็นไข้ มีผืนขึ้นตามตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะพบในสตรีที่ไม่แข็งแรง หากมีอาการดังที่กล่าวมาให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณในการรับประทาน
- หากมีอาการปวดหน้าอก ปวดมดลูก ปวดช่องคลอด ให้หยุดรับประทาน หรือ ลดปริมาณ
- สำหรับสตรีวัยทอง หลังจากรับประทานว่านชักมดลูด อาจมีประจำเดือนกลับมาใหม่ สามารถรับประทานต่อไปได้ ซึ่งประจำเดือนก็จะค่อยๆหมดไปเอง
ว่านชักมดลูก คือ สมุนไพรในตำรายาไทย สรรพคุณรักษาอาการต่างๆของสตรี เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ปวดท้องประจำเดือน ตกขาว เป็นต้น ลักษณะของว่านชักมดลูก เป็นอย่างไร โทษของว่านชักมดลูก
Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น
ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้
Last Updated on November 7, 2024